รูปแบบ และประเภทของ DPO รวมถึงตามหลักของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

จากบทความ Link ได้พูดถึง DPO พอสังเขปแล้วว่าคือใคร มีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมี ทั้งโทษทางปกครองหาก ฝ่าฝืน หากเราคิดต่อว่าแล้วถ้าองค์กรต้องตั้ง DPO ควรตั้งรูปแบบไหนดี? จ้างคนนอกทำแทนได้หรือไม่? บทความนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้หากว่ามีกฎหมายลูกออกตามมาในภายหลัง บุคคลเดียว หรือ คณะบุคคลดี? ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นบุคคลเดียวหรือเป็นคณะบุคคล ดังนั้น การที่จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงสามารถแต่งตั้งเป็นบุคคลเดียวหรือเป็นคณะบุคคลได้ตามแต่ความเหมาะสมขององค์กร ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียตามตารางข้างล่าง DPO คนเดียว DPO เป็นคณะทำงาน ข้อดี บุคคลเดี่ยวสามารถดำเนินการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างรวดเร็ว การตัดสินใจนั้นมีความแม่นยำและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเนื่องจากมีบุคลกรจากหลายแผนกที่มีความชำนาญมาช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจ เนื่องจากมีผุ้เชี่ยวชาญหลาย ๆด้านมาช่วยพิจารณาให้สอดคล้องกับธุรกิจขององค์กร ข้อด้อย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลหลากหลายด้าน การดำเนินการที่อาจจะมีความล่าช้ากว่าการมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นบุคคลเดียวเนื่องจากจำเป็นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหลาย ๆด้าน ก่อนถึงการตัดสินใจ จากข้อเปรียบเทียบเห็นได้ว่า DPO ที่เป็นบุคคลคนเดียว ค่อนข้างจะเหมาะสมกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก หรือองค์กรที่ไม่มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้าง หรือกระบวนการ ซึ่งการดำเนินการบุคคลเดียวจะดีกว่า แต่ถ้าองค์กรนั้นมีลักษณะที่มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้างหรือ องค์กรมีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลาย ๆด้านในการขับเคลื่อนองค์กร การที่ DPO เป็นคณะบุคคลย่อมมีความเหมาะสมกับธุรกิจและรูปแบบขององค์กรมากกว่า แม้จะมีข้อด้อยในการดำเนินการด้านการตอบสนองค่อนข้างล่าช้ากว่ารูปแบบคนเดียวก็ตาม คนนอกได้หรือไม่? […]