มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลและส่วนบุคคล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ

มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลและส่วนบุคคล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ

มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลและส่วนบุคคล “อาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คืออะไร?

เป็นหนึ่งหลักสูตรที่มีความพยายามในการผลักดันให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นหลักสูตรสมรรถนะที่ถูกออกแบบและสร้างสรรค์โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน)

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) คือใคร?

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization)) หรือ สคช. เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554

วัตถุประสงค์ของสถาบัน คือ การพัฒนาและผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพของไทย ด้วยการจัดทำมาตรฐานอาชีพให้ได้มาตรฐานสากล กำหนดองค์กรเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคล และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิวิชาชีพแและมาตรฐานอาชีพ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ พัฒนากำลังคนของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

หลักสูตรสำหรับผู้ตรวจประเมินและเจ้าหน้าที่สอบและผู้ผ่านการประเมิน ถูกออกแบบจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ จากอย่างน้อย 10 องค์กร อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์, สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ, กรมการปกครอง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในวงการอีกหลายท่าน ศึกษาจากแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ และมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นที่เชื่อถือในระดับสากล

เนื้อหาในหลักสูตรเลยค่อนข้างเข้มข้นและครอบคลุม และเป็นหนึ่งหลักสูตรในประเทศไทยที่มีความท้าทาย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่สนใจเข้ามาทดสอบสมรรถนะและเข้ารับการตรวจประเมินครับ

หลักสูตรนี้ มี 8 ระดับ

ระดับที่ปัจจุบันมีเปิดให้รับเทียบโอนคุณวุฒิ คือ ระดับ 5, ระดับ 6 และระดับ 7

สมรรถนะบางส่วนที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ว่าระดับ 5, ระดับ 6 หรือระดับ 7 สามารถดูภาพประกอบบางส่วนในโพสต์นี้

ในการตรวจประเมินผู้เข้ารับการประเมิน จะมีเจ้าหน้าที่คุมสอบเข้าร่วมการประเมินด้วย โดยเจ้าที่คุมสอบ ก็จะต้องผ่านเกณฑ์ในการคัดกรองคุณสมบัติ ทดสอบความรู้ เข้ารับการอบรมหลายวัน เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่กำหนดไว้ 

และ การสอบประเมินคุณวุฒิในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในขณะนี้ ปัจจุบัน มีผู้ผ่านเกณฑ์เป็นเจ้าหน้าที่คุมสอบได้ทั้งหมด 4 คน และผมเป็น 1 ในนั้นครับ 

การสอบสัมภาษณ์ จะมีเจ้าหน้าที่คุมสอบ 3 ท่าน เข้าร่วมการประเมิน และต้องได้เสียเป็นเอกฉันท์ จึงจะทำให้ผู้เข้ารับการประเมิน ระดับ 7 ผ่านเกณฑ์

ระดับ 7 คือ ระดับสูงสุดของการเข้ารับการประเมินสมรรถนะนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยในระดับผู้เชี่ยวชาญ จะต้องสามารถวางแผนการบริหารจัดการในเชิงนโยบาย แก้ปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีหลักเกณฑ์และความพร้อมในการวางระบบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบองค์รวม

มาตรฐานของนักจัดการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ DPO ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการแนะนำและให้คำปรึกษาแก่องค์กรและบุคลากรต่างๆ ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย หากองค์กรมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ จะช่วยสร้างมาตรฐานในการทำงาน และส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และป้องกันความเสี่ยงให้กับประชาชน และส่งผลให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยยิ่งขึ้น 

ความเห็นส่วนตัว

  1. เซอร์เป็นเพียงเอกสารรับรองว่าได้ผ่านการอบรม ผ่านการทดสอบในเนื้อหาหรือหลักสูตร แต่ไม่ใช่เครื่องการันตีว่าสุดยอด เพราะมันต้องประกอบไปกับประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติและลงมือทำจริง
  2. ผมเป็นคนหนึ่งที่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Data Privacy จากทั้งในและต่างประเทศหลากหลายสถาบันมาก แต่เอาจริงๆ มีเพียงไม่กี่เซอร์ ที่ผมใช้เป็นใบเบิกทางต่อยอดไปยังโอกาสใหม่ๆ และแทบทั้งหมดล้วนเป็นเซอร์ในระดับ International Certificate ครับ
  3. ไม่อยากแนะนำให้ยึดติดกับใบเซอร์ อยากให้เริ่มจากตั้งคำถามกับตัวเองก่อนตัดสินใจลงเรียนหลักสูตรไหน และต้องการความรู้อะไรจากหลักสูตรนั้น เพราะหลายๆ หลักสูตรต้องจัดสรรเวลา และมีต้นทุนในการอบรมและสอบ ถ้าเลือกแล้วสนใจ ก็ลุยเต็มที่เลย จะได้เอาความรู้มาพัฒนาองค์กร พัฒนาประเทศต่อในมิติที่เราทำได้
  4. แทบทุกหลักสูตรในตลาด ผมค่อนข้างเชื่อว่า เป็นความพยายามในการผลักดันให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ใช่ทุกหลักสูตรจะเป็นสูตรสำเร็จที่ตอบโจทย์สำหรับทุกคนและทุกองค์กร และด้วยหลักการ No One Size Fits All ไม่มีหรอก สูตรสำเร็จที่ตอบได้ครบทุกมิติ และกฎหมายก็มีการปรับปรุง พัฒนาอยู่เรื่อยๆ การเรียนรู้แบบ Life Long Learning คือ คุณสมบัติที่มองข้ามไม่ได้ครับ
  5. มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรแห่งความเป็นไปได้ และอยู่ในระหว่างการผลักดันและขับเคลื่อน ในการสร้างระบบมาตรฐานวิชาชีพนักจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และเกณฑ์คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้เกิดขึ้นจริงครับ

     หากท่านใดสนใจ หาข้อมูลเพิ่มเติม และรายละเอียดของเกณฑ์สมรรถนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้จาก https://www.tpqi.go.th/th/home

 #TPQI #สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

            เขียนโดย


    อาจารย์ สันต์ภพ พรวัฒนะกิจ
    อุปนายก สมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA)

     ที่ปรึกษาและวิทยากรสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)


     ข้อมูลอ้างอิง
มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลและส่วนบุคคล “อาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คืออะไร?

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน