PDPA คนไทยต้องรู้ คุณครูต้องสอน สถานศึกษาต้องระวัง !

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

PDPA คนไทยต้องรู้ คุณครูต้องสอน สถานศึกษาต้องระวัง !

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ด้วยกำหนดบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในวันที่ 1  มิถุนายน 2565  จึงทำให้ PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำลังกลายเป็นกระแสตื่นตัวอย่างมาก แม้แต่ในวงการ “การศึกษา” ไทยเอง ที่เริ่มหันมาตระหนักและสนใจ จึงเกิดเป็น … LIVE ถาม-ตอบ เจาะลึก แบ่งปันความรู้เรื่อง “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่คนไทยต้องรู้ คุณครูต้องสอน และสถานศึกษาต้องระวังไม่ละเมิด” โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้าน Business Model และ Digital Marketing ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด และผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) และ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความคิดสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านเฟซบุ๊กเพจสุจริตไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00-20.00 น.

PDPA

ในการพูดคุยออนไลน์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิจาก 2 วงการ สามารถสรุปเป็นสาระสำคัญ ดังนี้

 

Personal Data สำคัญอย่างไร ทำไมต้องพูดคุยกัน?

PDPA เป็นกฎหมายใหม่และคนในวงการการศึกษายังคงตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก โดยอาจมองว่าไม่จำเป็น หรือไม่สำคัญ ตรงข้ามกับภาคธุรกิจที่ตื่นตัวและเริ่มเตรียมพร้อมดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกันแล้ว ยุคดิจิทัลเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล จนผู้ประกอบการธุรกิจมองว่า

ข้อมูลส่วนบุคคล = น้ำมันดิบ (Crude Oil) / สินทรัพย์ (Asset)

เพราะเจ้าข้อมูลส่วนบุคคลนี่เองทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เช่น Facebook, Lazada, Shopee สามารถขายสินค้าตามความชอบของผู้บริโภคได้ เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลกลายเป็นสิ่งสำคัญและเป็นแหล่งที่มาของการสร้างรายได้ รัฐบาลทั่วโลกจึงมองว่าต้องมีการคุ้มครอง เพื่อป้องกันไม่ได้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกเก็บไปละเมิด (อย่างเช่นเคสการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2016 ที่มีบริษัทเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป และนำไปใช้เปลี่ยนความคิดช่วยให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ส่งผลให้เฟซบุ๊กถูกฟ้องเป็นมูลค่ามหาศาลเพื่อชดเชยกับความผิดนี้ในเวลาต่อมา) ส่วนสหภาพยุโรป (EU) ตระหนักถึงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลมากกว่าประเทศอื่น ๆ และผลักดันให้เกิด General Data Protection Regulation – GDPR กฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลของประชากรประเทศสมาชิก EU ไม่ว่าพวกเขาจะไปที่ไหนในโลก จะต้องได้รับการคุ้มครองประหนึ่งว่าอยู่ในพื้นที่ของประเทศในสหภาพยุโรป ถ้ามีการละเมิดองค์กรจะโดนปรับ 2% ของรายได้ในปีนั้น ถ้าไม่ยอมให้โดนปรับก็ห้ามทำธุรกิจกับสหภาพยุโรปเลย หากมองในแง่ของสถถานศึกษา หากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยของเราเป็นสถานศึกษานานาชาติ และมีนักเรียนมาจากสหภาพยุโรป ย่อมหมายความว่าผูกพันตามกฎหมาย GDPR ทันที ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรธรรมดาแต่มีเด็กนักเรียนต่างชาติ รวมทั้งการเอาครูต่างชาติเข้ามาสอนก็เข้าข่าย GDPR เช่นกัน เพื่อตอบสนองการคุ้มครองข้อมูลบุคคล ประเทศต่าง ๆ จึงหันมาปรับปรุงกฎหมายให้ได้มาตรฐานเทียบเท่า GDPR เพื่อให้สามารถทำธุรกิจกับสหภาพยุโรปได้ โดยประเทศไทยก็บัญญัติ PDPA ขึ้นเช่นกัน 

 

สิทธิของเจ้าของข้อมูลมีอะไรบ้าง?

PDPA ระบุว่า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการเคารพในสิทธิทั้งหมด 8 สิทธิ ด้วยกัน (โดยมีบางด้านที่มีการถกเถียงกันอย่างละเอียดในมุมของสถานศึกษา) คือ

  1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม ถ้าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้การถอนความยินยอมอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลบางอย่าง เช่น กรณีที่โรงเรียนเก็บข้อมูลรูปภาพของนักเรียน โดยใช้ฐานความยินยอม เพื่อวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ นักเรียนซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลสามารถใช้สิทธิในการถอนความยินยอมไม่ให้โรงเรียนนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ เป็นต้น
  2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของตนเอง และสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลได้ แต่ผู้ควบคุมข้อมูลอาจปฏิเสธคำขอได้หากการเข้าถึง และรับสำเนาข้อมูลนั้นไปส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของคนอื่น หรือผู้ควบคุมข้อมูลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีคำสั่งศาลที่ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น กรณีนักเรียนต้องการใช้สิทธิในการเข้าถึงผลสอบของตนเอง โรงเรียนในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลผลสอบแก่เด็กนักเรียนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น แต่จะไม่สามารถขอดูผลสอบหรือข้อมูลของคนอื่นได้
  3. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลสามารถบอกให้ผู้ควบคุมข้อมูลย้ายข้อมูลของตนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ทั้งนี้ข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นข้อมูลที่ได้ให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลในการ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล หรือเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย เพื่อให้เราสามารถใช้สินค้าและบริการของผู้ควบคุมได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการทำสัญญา เช่น นักเรียนอยู่โรงเรียน A แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียน B นักเรียนสามารถขอให้โรงเรียน ซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูล ย้ายข้อมูลของตนเองไปได้ เป็นต้น
  4. สิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังต่อไปนี้
  • กรณีมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอม ยกเว้นบริษัทสามารถให้เห็นว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • กรณีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์การตลาดแบบตรง และ
  • กรณีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ ยกเว้นเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

เช่น กรณีโรงเรียนถ่ายภาพนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์โรงเรียน โดยอ้างฐานประโยชน์โดยชอบธรรมของผู้ควบคุมข้อมูล นักเรียนสามารถใช้สิทธิคัดค้านไม่ให้โรงเรียนเก็บภาพของตนได้

5. สิทธิในการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอลบหรือทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลไม่สามารถระบุตัวตนได้ หากเชื่อว่าข้อมูลของเจ้าของข้อมูลถูกเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ควบคุมข้อมูลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษา เช่น เด็กนักเรียนที่เคยมีความผิด และมีข้อมูลเก็บอยู่ในประวัติ เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กของโรงเรียน อาจขอให้ลบข้อมูลได้ เมื่อถึง Retention Period อันสมควร

6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 4 กรณีดังต่อไปนี้

  • กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
  • กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องทำการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้มีการระงับการใช้ข้อมูล
  • กรณีข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาตามวัตถุประสงค์ในการเก็บ และ
  • กรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในกระบวนการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธการขอใช้สิทธิคัดค้านการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

เช่น กรณีนักเรียนขอใสิทธิในการแก้ไขใบวุฒิการศึกษา ระหว่างนั้นนักเรียนสามารถขอระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจนกว่าการแก้ไขใบวุฒิการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว  

7. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น นักเรียนขอให้ฝ่ายระเบียนของโรงเรียนแก้ไขชื่อ นามสกุล ของนักเรียนให้ถูกต้อง  

8.  สิทธิร้องเรียน เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีอำนาจในการร้องเรียน หากทราบว่าผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะการฝ่าฝืนแนวปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามระเบียบและวิธีการตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด จากสิทธิของเจ้าของข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า “ระเบียน” หรือฝ่ายข้อมูลของสถานศึกษาจะเรื่อย ๆ สบาย ๆ ไม่ได้แล้ว เพราะต่อจากนี้ไปกฎหมายจะมีผล จึงต้องมีมาตรการหรือนโยบายที่เคร่งครัดมารองรับ ผู้ปกครองจะมาขอดูข้อมูลของลูกของอีกคนหนึ่งไม่ได้แล้ว การนำกระดาษไปพับเป็นถุงกล้วยแขกก็ถือว่าประมาท มีข้อมูลแล้วไม่คุ้มครอง

 

ใครควรรู้เรื่อง PDPA บ้างในสถานศึกษา?

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ใครในสถานศึกษาควรเรียนรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้วบุคลากรในสถาบันการศึกษา ซึ่งอาจประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ครู/อาจารย์ เจ้าหน้าที่สถานศึกษา นักการ-ภารโรง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) และตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ซึ่ง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหรือบริบทใดๆ ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นบุคลากรทุกบทบาทควรมีความรู้ความเข้าด้าน PDPA และความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ด้าน ดร.อุดมธิปก และ ดร.วิริยะ ได้ร่วมกันสนทนาและนิยามถึงบุคคลหลากหลายหน้าที่ในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่

  • ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) = บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น โรงเรียนรัฐและเอกชนกําหนดนโยบายการเก็บข้อมูลในการรับสมัครนักเรียนและการจัดการศึกษา หน่วยงานรัฐที่กําหนดนโยบายอย่าง สพฐ. และ กสศ. กําหนดนโยบายการเก็บข้อมูลเพื่อให้เงินอุดหนุนแก่นักเรียนยากจน เป็นต้น
  • ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) = บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สำนักวิจัยของมหาวิทยาลัยรับจัดทำงานวิจัยภายใต้คำสั่งของผู้ผู้ว่าจ้าง เป็นต้น
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) = บุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น โดยหมายถึงบุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมนิติบุคคล เช่น บุคลากร นักเรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้มาเยือนสถานศึกษา
  • เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer – DPO) = ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูล อาจมีการแต่งตั้งคณะ หรือบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากบุคลากรในองค์กรหรือบุคคล

ภายนอก ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 42 หากองค์กรมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากจำเป็นต้องมี DPO ดังนั้นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ต้องมี DPO หรือแม้แต่โรงเรียนเล็กก็ควรต้องมี DPO แต่อาจจะเป็นการแชร์ Resource ร่วมกันหลาย ๆ โรงเรียน * ในสถานศึกษา 1 แห่ง อาจเป็นได้ทั้งผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูล แต่บุคลากรภายในสถานศึกษานั้น จะไม่ได้เป็นทั้งผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูล แต่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสถานศึกษาเท่านั้น PDPA คือเรื่องที่ทุกคนต้องรู้ สำคัญมาก ไม่ใช่เพราะว่ามีบทลงโทษ แต่ประเด็นคือ หากทุกคนตระหนักในสิทธิความเป็นส่วนตัวของตนเอง ก็จะมีสิทธิสำนึกที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่นนั่นเอง

 

บทลงโทษของ PDPA รุนแรงขนาดไหน?

เมื่อเกิดการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา (หรือวงการใด ๆ ก็ตาม) ผู้เสียหายจะต้องร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีโทษแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

  • ทางปกครอง ค่าปรับสูงสุด 5 ล้านบาท ผู้ถูกฟ้องละเมิดเป็นผู้จ่ายค่าปรับ สำนักงานเป็นผู้รับค่าปรับเพื่อนำไปจัดการเยียวยาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • ทางอาญา ผู้ละเมิดอาจถูกจำคุกสูงสุด 1 ปี ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
  • ทางแพ่ง ผู้ละเมิดต้องชดเชยค่าสินไหมทดแทน และอาจถูกศาลสั่งจ่ายลงโทษเพิ่มสูงสุดถึง 2 เท่าของความเสียหายจริง

ซึ่งเวลาจ่ายค่าปรับจากการละเมิด โรงเรียนที่ถูกฟ้องร้องจะต้องเป็นผู้จ่ายก่อน (สถานศึกษาทุกแห่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว) หลังจากนั้น อาจลงโทษบุคลากร ที่ปฏิบัติทำให้เกิดเหตุการณ์รั่วไหลของข้อมูลในลำดับถัด ส่วนเงินชดเชยให้ผู้เสียหายรับได้โดยตรงจากโรงเรียนซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดในที่นี้

PDPA

 

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสถานศึกษา ซับซ้อนมากกว่าอย่างไร?

เคสของโรงเรียน (สถานศึกษาระดับประถมและมัธยม) มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากมีการประมวลผลข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมอยู่ด้วย อย่างเช่นพวก เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ข้อมูลสุขภาพ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ฯลฯ ซึ่งกฎหมายระบุว่าห้ามเก็บข้อมูลเหล่านี้ หากเก็บจะต้องมีเหตุผลจำเป็น และ “รักษายิ่งชีพ” ยกตัวอย่างเช่น

  • ข้อมูลทางศาสนา ยังคงเป็นข้อมูลที่โรงเรียนเก็บจากนักเรียน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่มีเหตุผลที่สมควรมารองรับก็ไม่ควรเก็บ เช่น เพื่อการสร้างห้องละหมาด และเตรียมอาหารเฉพาะให้กับนักเรียนชาวมุสลิม เป็นต้น
  • การเมืองและการชุมนุมในปัจจุบันกำลังเป็นประเด็น โรงเรียนห้ามเก็บข้อมูลความคิดเห็นทางการเมือง หรือพฤติกรรมการออกไปชุมนมของเด็ก ๆ แบบระบุตัวตนได้เป็นอันขาด
  • การเก็บข้อมูลชีวภาพ รูปร่างหน้าตาของเด็กผ่านกล้องวงจรปิด มีเหตุผลรองรับที่เพียงพอและอ้างอิงฐานการประมวลผลตามกฎหมายที่ถูกต้องหรือไม่

ประเด็นสำคัญของการเก็บข้อมูลอ่อนไหวก็คือ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล จะต้องบอกให้ได้ว่าเอาไปทำอะไร และไม่สามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในโรงเรียน เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บข้อมูลส่วนใหญ่มีฐานะเป็น “ผู้เยาว์” การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะมีความซับซ้อน กรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบต้องให้ผู้ปกครองให้ความยินยอม ส่วนเด็กที่มีอายุ 10-19 ปี (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้งตัวนักเรียนเองและผู้ปกครอง

“เชื่อว่าทุกคนคงรู้แล้วว่า PDPA เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาอย่างไร เกี่ยวอะไรกับครู อาจารย์ ผู้อำนวยการ การพูดคุยกันครั้งนี้ถือว่าเป็นความเข้าใจเบื้องต้น ครั้งหน้าหากมีโอกาสพูดคุนกันอีก ขอเน้นรายละเอียดมากกว่านี้” – ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์


สนใจสินค้าและบริการที่คัดสรรรวบรวมมาเพื่อคุณ ให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ครบถ้วน และถูกต้อง >>>  คลิกที่นี่ เพื่อไปหน้าบริการของเรา 

หรือคลิกที่นี่เพื่อสมัครอบรม หลักสูตรอบรมด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

 

เขียนและเรียบเรียงโดย :

  1.  Kritsana Atipremanon
  2. Natthorn  Subhasaram
  3. Pornpilast Suwansenee 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ