‘คลินิก’ ควรจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร ให้สอดคล้อง PDPA?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

‘คลินิก’ ควรจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร ให้สอดคล้อง PDPA?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

คลินิก สถานให้บริการสุขภาพ การดูแลตกแต่ง และการรักษาโรคที่ดำเนินการโดยนิติบุคคล ซึ่งตามข้อบัญญัติของกฎหมาย  PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีสถานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ที่ต้องมีการดำเนินการหลายๆ ด้านตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด

ขณะเดียวกัน คลินิกยังมีจุดที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) ที่เป็นข้อมูลประวัติส่วนตัวของลูกค้า เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล ที่อยู่ ทะเบียนรถ ธุรกรรมการเงิน และมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลพันธุกรรม และข้อมูลชีวภาพ ‘เป็นจำนวนมาก ซึ่งตามกฎหมาย การจะเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ ‘ได้รับความยินยอม’ จากเจ้าของข้อมูล เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลนั้นได้ง่าย หรือเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ด้วยเหตุนี้ การดำเนินกิจการภายใต้กฎหมาย PDPA ของคลินิกจึงมีหลายแง่มุมที่น่าสนใจในการวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ถูกต้อง ภายใต้ในการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายฉบับใหม่ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

 

ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ ‘คลินิก’ มักเก็บใช้ มีอะไรบ้าง

1.ข้อมูลสุขภาพ (Health Information) คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกาย หรือจิตใจของบุคคล รวมถึงการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ ซึ่งบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องเก็บใช้หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคล เช่น เวชระเบียนผู้ป่วย หรือประวัติด้านการรักษา ข้อมูลการแพ้ยา ผลตรวจเลือด ภาพอัลตร้าซาวด์ รวมถึงความพิการ

2.ข้อมูลทางพันธุกรรม (Genetic Information) คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมที่สืบทอดกันมา เช่น ปัจจุบันมีการเก็บข้อมูล DNA ข้อมูลยีนส์ (Gene) เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบป้องกันและรักษาโรคของผู้ให้บริการทางการแพทย์ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว รวมถึงข้อมูลชาติพันธุ์ เป็นต้น

3.ข้อมูลชีวภาพ (Biometrics) คือ  คือข้อมูลที่ผ่านการใช้เทคโนโลยีนำลักษณะเด่นทางกายภาพหรือทางพฤติกรรมมาใช้ระบุตัวตน เช่น โครงสร้างกระดูก พิมพ์ฟัน ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียงพูด

โดยจะเห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่ยกตัวอย่างมาอาจเป็นข้อมูลที่คลินิกที่มักเก็บข้อมูลลูกค้าอยู่เสมอ ซึ่งตามข้อมูลที่ระบุในข้างต้นว่าต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือหากเป็นผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองตามกฎหมาย แต่หากเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย

กรณีไหนบ้างที่ ‘คลินิก’ สามารถเก็บใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

หากว่าตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย

ขณะที่ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล จะนำไปเปิดเผยจนทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การ เปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามจะอาศัยสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ ยกเว้นว่าเจ้าของข้อมูลได้ยินยอม

ทั้งนี้ ความยินยอม’ ในการเก็บข้อมูลสุขภาพตามกฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ ก่อนมีกฎหมาย PDPA ยังเป็นขอบเขตกว้างๆ แต่ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บ ประมวลผล หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานไว้ชัดเจน รวมทั้งยังไม่ได้ระบุถึงข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวบางข้อเช่น ข้อมูลสรีรวิทยา ข้อมูล DNA ลักษณะเฉพาะบุคคล ซึ่งตามกฎหมาย PDPA ระบุว่าหากเก็บใช้จะต้องได้รับความยินยอมอย่างชัดเจน หรือเป็นการดำเนินการโดยชอบตามกฎหมายเท่านั้น เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นในการปกป้องหรือระงับอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของบุคคลนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้มี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จากการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การแจ้ง หรือการรายงาน ตาม พ.ร.บ. ควบคุมโรคฯ เพื่อให้การเก็บหรือประมวลผลข้อมวลส่วนบุคคลจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม สามารถเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยได้ใน 2 กรณี ซึ่งคลินิกและสถานบริการทางการแพทย์ที่เป็นนิติบุคคลสามารถดำเนินการตามนี้ได้เช่นกัน ดังนี้

  1. ดำเนินการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือทำโดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ แต่หากมีการ ‘ขอความยินยอมด้วยวาจา ถ้าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ร้องขอ คลินิกต้องปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ต้องยืนยันคำขอนั้นเป็นหนังสือแจ้งให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและต้องดำเนินการ ภายใน 7 วัน โดยในหนังสือขอความยินยอมจะต้องประกอบด้วย
  • วัน เดือน และปีที่ทำคำขอ
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะขอเปิดเผย และวิธีการในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • วัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
  • ชื่อและลายมือชื่อของผู้ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ที่ทำคำขอ

 

  1. ไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หากการดำเนินการดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นการปฏิบัติการตามกฎหมาย หรือเป็นเหตุจำเป็น เช่น เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย หรือประโยชน์สาธารณะในการเฝ้าระวัง การป้องกัน และ การควบคุมโรค เป็นต้น

 

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าสถานบริการทางการแพทย์ และคลินิกเฉพาะทางต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลนั้น และอาจนำไปสู่เหตุการณ์ฟ้องร้องคลินิกจะต้องโดนโทษทั้งทางแพ่ง โทษอาญาและโทษทางปกครองหากไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

กระนั้น ในบางกรณี การเก็บข้อมูลอาจจะทำได้โดยใช้ฐานกฎหมายที่ระบุว่าเป็นการดำเนินการโดยชอบ หรือเป็นเหตุจำเป็นเพื่อปกป้องชีวิต ป้องกันโรคติดต่อ หรือประโยชน์สาธารณะส่วนรวม

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานะที่คลินิก เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย รวมทั้งอาจเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในบางกรณี ทั้งมีการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก คือ มีการจัดเก็บข้อมูลบุคคลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูล 50,000 ราย หรือมีข้อมูลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูล 5,000 ราย จะต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO (Data Protection Officer) ซึ่งกฎหมายบังคับหากคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์นี้ เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และยังช่วยให้ลดความเสี่ยงกรณีละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้อีกด้วย

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ