‘ธุรกิจแม่บ้าน’ ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และจัดการข้อมูลพนักงาน-ผู้สมัครงานอย่างไร ไม่ให้ละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

‘ธุรกิจแม่บ้าน’ ตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และจัดการข้อมูลพนักงาน-ผู้สมัครงานอย่างไร ไม่ให้ละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ธุรกิจแม่บ้าน บริการทำความสะอาดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคในลักษณะเหมาจ่าย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านแพลตฟอร์มทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย จึงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคที่ไม่มีเวลาจัดการความสะอาดภายในบ้าน หรือสำนักงาน รวมทั้งช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังพ่วงบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคและบริการซ่อมบำรุงต่างๆ ไว้อย่างครบวงจร

กระนั้น บริการดังกล่าวผู้ประกอบการธุรกิจแม่บ้านจะต้องมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้สมัครงาน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร ภาพถ่ายเปิดเผยใบหน้า สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ประวัติการทำงาน/ฝึกอบรม บุคคลอ้างอิง และเอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เนื่องจากเป็นมาตรการป้องกันความปลอดภัยของบริษัทในเบื้องต้นให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ และสะดวกใจในการให้บุคคลภายนอกเข้ามาปฏิบัติงานในที่อยู่อาศัยส่วนตัวหรือสำนักงาน

แต่ภายใต้ กฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บัญญัติให้ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่หมายถึง ข้อมูลใดก็ตามที่สามารถระบุตัวบุคคลทั้งตรงและทางอ้อมเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งการเก็บ ใช้หรือเปิดเผยจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ระยะเวลาในการเก็บ และต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูล รวมทั้งต้องมีมาตรการในการรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยเหมาะสมกับความเสี่ยง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติอาชญากรรม ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) ซึ่งโดยหลักการของกฎหมาย PDPA คือ  ห้าม’ ไม่ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลนั้น โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และต้องกระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

>> ยกเว้นว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล และเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ ซึ่งในมุมของธุรกิจที่เป็นการหารายได้หรือแบ่งปันกำไรจะไม่เข้าข่ายข้อยกเว้นนี้

เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลอาชญากรรมผิดกฎหมาย PDPA มีบทลงโทษอย่างไร ?

หากธุรกิจดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมด้วยตนเอง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตนที่ ปราศจากความยินยอม’ จากเจ้าของข้อมูล มี ความผิดอาญา’ กฎหมายกำหนดโทษจำคุก 6 เดือน – 1 ปี ปรับเงินตั้งแต่ 5 แสน – 1 ล้านบาท หรืออาจโดนทั้งคู่  

และยังมี ความผิดทางแพ่งหากการเก็บ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ดังกล่าว เกิดการละเมิดที่ส่งผลต่อร่างกายหรือจิตใจของบุคคลนั้น จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจพิจารณาเพิ่มโทษเป็น 2 เท่าจากความเสียงหายจริงที่เกิดขึ้น

กฎหมาย PDPA ยังกำหนด โทษทางปกครองที่เป็นการปรับเงินเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเจตนา หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม จะต้องจ่ายค่าปรับตั้งแต่ 1- 5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับการกระทำผิดหรือการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลฯ  

ภายใต้กฎหมาย PDPA ‘ธุรกิจแม่บ้าน’จะต้องดำเนินการตรวจข้อมูลประวัติอาชญากรรมของพนักงานอย่างไร ?

โดยทั่วไปในการรับสมัครงานในตำแหน่งแม่บ้าน พนักงานทำความสะอาดมักให้ผู้สมัครงานนำ เอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรม’ ที่เป็นการตรวจสอบด้วยตนเองได้ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรรม หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการมาประกอบ พร้อมกับเอกสารสมัครงานทั่วไป และถือเป็น ข้อมูลจำเป็น’ ในการสมัครงานในตำแหน่งแม่บ้าน หรือพนักงานทำความสะอาดที่ต้องมีการขอตรวจสอบข้อมูลอาชญากรรมเพื่อความปลอดภัยในเบื้องต้นและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้บริษัทที่ให้บริการแม่บ้าน หรือพนักงานทำความสะอาด และช่างซ่อมบำรุงต่างๆ เข้าข่ายเป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามกฎหมาย PDPA และกฎหมายห้ามไม่ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลฯ ประกาศกำหนด หากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอม

เพราะฉะนั้นบริษัทให้การบริการแม่บ้าน หากมีการจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม ประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานจะต้องมีการขอความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลโดยอาจทำเป็นส่วนเอกสารขอความยินยอมแนบกับใบสมัครเพื่อขอตรวจสอบ หรือทำเป็นหนังสือขอความยินยอม (Consent form) ก่อนรับเข้าทำงาน ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการพิจารณารับพนักงาน หลังกฎหมายPDPA บังคับใช้ที่ทุกคนห้ามลืม

 

หนังสือขอความยินยอมผู้ประกอบการต้องทำโดยชัดแจ้งและระบุถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้อย่างชัดเจน รวมถึงต้องมีกำหนดระยะเวลาในการทำลาย หรืออาจทำให้มูลมูลนั้นเป็นนิรนาม ทั้งหากจะตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรม จะต้องกระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ปัจจุบันคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลยังไม่ได้ประกาศหลักเกณฑ์นี้)  

ดังนั้น กรณีนี้จึงต้องระมัดระวัง เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่ไม่ใช้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หมายความว่าผู้ประกอบการจะ แอบ ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของพนักงานหรือผู้สมัครงานไม่ได้โดยเด็ดขาด! การฝ่าฝืนถือว่าจงใจละเมิดกฎหมายในทันที

 

จำเป็นต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) หรือไม่?

ตามกฎหมายระบุถึงหน้าที่ของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่เข้าข่ายต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO (Data Protection Officer) ไว้ว่า องค์กรที่มีความ ‘จำเป็น’ ต้องแต่งตั้ง DPO คือ หน่วยงานรัฐ องค์กรสาธารณะ หรือธุรกิจที่มีการเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก (โดยคำจำกัดความของคำว่า ‘จำนวนมาก’ คือ มีการจัดเก็บข้อมูลบุคคลทั่วไปที่ของเจ้าของข้อมูล 50,000 ราย หรือมีข้อมูลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูลถึง 5,000)

รวมถึงองค์กรธุรกิจที่มีการเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ‘อย่างต่อเนื่อง’ หรือ ‘มีความเสี่ยง’ ที่อาจจะก่อให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่าย

ดังนั้น กรณีของธุรกิจแม่บ้าน บริการทำความสะอาดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ตลอดจนบริการด้านซ่อมบำรุงที่มีการเก็บข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวเป็น จำนวนมากจึงต้องมีการแต่งตั้ง DPO ตามข้อบังคับของกฎหมาย PDPA หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับทางปกครองปรับเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท!!

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ