โครงสร้าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ ควรรู้ !

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

โครงสร้าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ ควรรู้ !

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ในปัจจุบันนี้ในหน่วยงานราชการต่างๆ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากมายทั้งรูปแบบออนไลน์ และประกาศตามสื่อต่างๆ โดยมีการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบ เป็นประโยชน์ และประชาชนสามารถทราบสิทธิของตนเอง รวมถึงการที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง สามารถอ่าน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิก โดยเหตุผลในการ ตรา พ.ร.บ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ คือการกำหนดให้หน่วยงานราชการรับรองสิทธิที่จะได้รู้ของประชาชน ให้หน่วยงานราชการคุ้มครองข่าวสารบางประเภท รวมถึงกำหนดให้หน่วยงานราชการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ประโยชน์ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ :

  1. ประชาชนสามารถขอข้อมูลกับหน่วยงานราชการได้
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อหน่วยงานราชการ
  3. พัฒนาระบบการเมืองและระบบราชการ
  4. พิทักษ์สิทธิของประชาชน
 

สิทธิของประชาชนที่สามารถขอใช้สิทธิได้จากทางหน่วยงานรัฐมีทั้งหมด  6 สิทธิ ดังนี้

  1. เข้าตรวจดู คือ ข้อมูลข่าวสารบางประเภทที่ประชาชนจะระบุไว้ว่าสามารถให้เข้าดูได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องร้องขอ หรือ จะขอสำเนาหรือรับรองสำเนาไว้ก็ได้
  2. ยื่นขอดู คือ ถ้าต้องการรู้ทำการขอดูข่าวสารที่อยากรับรู้ ต้องได้รับการอนุญาตโดยที่จะมีเวลาระยะกำหนดไว้
  3. ขอดูตัวเอง คือ ข้อมูลของตัวเองที่ทางรัฐได้เก็บไว้ หรือ ขอแก้ไขข้อมูลของตัวเองก็ได้ และ ขอแก้ไขแทนผู้ตายได้และผู้เยาว์
  4. ห้ามนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม คือ ข้อมูลบางอย่างหน่วยงานที่ไปเก็บมาจากประชาชน ต้องเอาใช้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และ ต้องมีกฎหมายชัดเจน ตอนที่ขอที่เก็บข้อมูลต้องระบุให้ได้ว่าอาศัยตามพ.ร.บ อะไร และเจ้าหน้าที่นั้นมีอำนาจหรือไม่ และต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง
  5. สิทธิร้องเรียน คือ ประชาชนสามารถมีการสามรถร้องเรียนต้องการข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาหรือข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนขอหรือการคัดสำเนาโดยสามารถร้องเรียนได้กับได้กับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร หรือ คกก.ข้อมูลข่าวสาร
  6. สิทธิอุทธรณ์ คือ จะเป็นคำสั่งทั้งหมดในรูปแบบเกี่ยวกับข้อมูลสารราชการ โดย มีคณะกรรมการวินิจฉัย หรือ คกก.วินิจฉัยข้อมูลข่าวสารทางราชการ
 

*บทนิยาม : ข้อมูลข่าวสาร คือ ข้อมูลที่สามารถสื่อความหมายได้ มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

  1. โดยสภาพ คือ ข้อความที่ความหมายในตัวเองบนสำเนา หรือ กระดาษ
  2. โดยแปลงสภาพ คือ แฟลชไดร์ หรือ ตัวเลขในเครื่องคิดที่ได้คิดมาแล้ว

ข้อมูลข่าวสาร + ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ คือ ข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ และ หมายถึง หน่วยงานของรัฐทุกรูปแบบทุกประเภท ยกเว้น แต่เรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาล ฉะนั้นแล้ว พ.ร.บนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี

ข้อมูลข่าวสาร+ส่วนบุคคล คือ สิ่งเฉพาะตัวของบุคคล สิ่งที่คุณไม่มีเหมือนคนอื่น  เช่น ที่อยู่,ประวัติการรักษา,เลขบัตรประจำตัว และ เบอร์โทรศัพท์

สิ่งที่สำคัญหรือหัวใจใน พ.ร.บ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ คือ ‘เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น’ เปิดเผยเป็นหลัก คือ ถ้าประชาชนได้มียื่นขอดูข้อมูลข่าวสารก็สามารถเปิดเผยได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องละเอียดอ่อนหรือไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายได้ระบุไว้

การเปิดเผยข้อมูลก็มีการจัดระดับการเปิดเผยตามกฎหมายระบุ ดังนี้

  1. เปิดแบบประกาศ คือ เปิดตามราชกิจจาณุเบกษา ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  2. เปิดแบบวางไว้ให้ไปดูเอง คือ การเข้าไปเอกสารที่ได้จัดเตรียมไว้ของรัฐ เช่น จัดสถานที่,จัดห้องเอกสาร หรือ ขอคัดสำเนาได้ แม้ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลก็ตาม
  3. เปิดแบบ ขอก่อนถึงให้ดู คือ ไม่มีการประกาศใดๆทั้งสิ้นแต่ต้องทำการขออนุญาตก่อนถึงจะขอดูได้ ถึงแม้ไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องก็ตาม

ทั้งนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนไม่ทำตามหน้าที่ ไม่ลงประกาศหรือไม่ดำเนินงานและไม่ปฏิบัติตามคำขอ ประชาชนสามารถร้องเรียนต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร(คกก.ข้อมูลข่าวสาร) จะพิจารณาภายใน 30 วัน แต่จะขยายได้รวมการพิจารณาไม่เกิน 60 วัน

*ปกปิดเป็นข้อยกเว้น คือ เรื่องที่ไม่สามารถเปิดเผยต่อประชาชนได้ โดยถ้าต้องการให้เป็นเผยต้องทำการขออนุญาตสะก่อน โดยทางคณะกรรมการจะใช้ดุลยพินิจว่าสมควรหรือไม่

การปกปิดข้อมูลก็มีการจัดระดับการปกปิดตามกฎหมายระบุ ดังนี้

  1. ปิดการเปิดเผยแบบมาสามารถเปิดเผยได้เลย คือ เรื่องสถานบันพระมหากษัตริย์เกิดความเสียหาย
  2. ปิดก็ได้ หรือ เปิดก็ได้ คือ ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ 7 ข้อ แต่ถ้าต้องการให้เปิดเผยนั้น ต้องมีการพิจารณาดังนี้
    • ตามาการรักษาความลับ
    • สอบถามผู้ที่จะได้รับผลกระทบว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าจะไม่รับฟังคำคัดค้านต้องออกคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน โดย รอจนพ้นเวลาอุทธรณ์ และ รอจนคณะกรรมการวินิจฉัย พิจารณาเสร็จ
 แต่! ถ้าจะปิดข้อมูลข่าวสาร ต้องออกคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลแจ้งกับผู้ขอข้อมูล โดยต้องเป็นคำสั่งดังนี้
  • คำสั่งไม่เปิดเผย
  • คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน
  • คำสั่งไม่ยอมให้แก้ไข , ลบข้อมูลข่าวส่วนบุคคล

สรุปได้ดังนี้ หน่วยงานราชการนั้นสามารถเปิดเผยข่าวสารให้กับประชาชนได้อย่างเปิดเผย และความโปร่งใส ตามขอบเขตที่ได้กำหนดไว้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้และเข้าถึงข่าวสารของหน่วยงานราชการ และ สิ่งที่หน่วยงานราชการนั้นได้ทำหรือพัฒนาต่อประเทศหรือได้ทำอะไรไปบ้างต่อประชาชน

อ้างอิง :  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

Share :