จะผิดไหม!!! หากถ่ายภาพผู้ชมฟุตบอลในสนาม

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : สุชเนศ จรรยา

จะผิดไหม!!! หากถ่ายภาพผู้ชมฟุตบอลในสนาม

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : สุชเนศ จรรยา

   ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องราวที่ทำเอาหัวใจแฟน ๆ นักเตะทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติฝรั่งเศสลุ้นกันเป็นอย่างมาก เพราะสองสตาร์ดังจากสโมสรปารีส แซ็ง แฌร์แม็ง กัปตันผู้เป็นทุกอย่างของทัพฟ้าขาว “ลิโอเนล เมสซี่” และว่าที่แข้งซุป’ตาร์เบอร์ 1 ของโลกคนต่อไปจากทัพตราไก่อย่าง “คิลิยัน เอ็มบัปเป้” ได้มาเปิดศึกสร้างประวัติศาสตร์ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด  โดยทีมชาติอาร์เจนตินาคว้าแชมป์โลกหนนี้ไปครองด้วยการชนะการดวลจุดโทษ ซึ่งอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานนี้ไม่ได้อยู่ที่การรับถ้วยของเมสซี่แต่เพียงเท่านั้น เพราะเขากลับได้ใจคนรักครอบครัวไปเต็ม ๆ เมื่อ “ลิโอเนล เมสซี่” ที่ได้ชื่อว่าเป็นแข้งที่เก่งกาจที่สุดในโลกด้วยรางวัลบัลลงดอร์ 7 สมัย ยังต้องรับบทช่างภาพจำเป็นถ่ายรูปให้ภรรยาที่ชูถ้วยแชมป์ “ฟุตบอลโลก 2022 เป็นภาพที่เห็นแล้วก็สร้างความประทับใจให้กับใครหลายคน

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/sport/worldcup/2581460

     วันนี้เราจะมาเปิดประเด็นถึงเรื่องการถ่ายภาพในสนามกีฬา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นกีฬาใด ๆ หรือแม้กระทั่งในที่สาธารณะก็คงหลีกหนีไม่พ้นเรื่องของการถ่ายภาพและวิดีโอเนื่องจากตอนนี้ในประเทศไทยมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมาแล้วตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 แต่ก็มีข้อที่ทำให้ถกเถียงเป็นประเด็นอยู่มาก เรื่องของการถ่ายภาพติดบุคคลอื่นในที่สาธารณะว่าสามารถทำได้หรือไม่ ผิด PDPA หรือไม่?

   ก่อนอื่นผู้อ่านทุกท่านต้องเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนโดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นคือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, ข้อมูลทางการเงิน, เชื้อชาติ, ศาสนา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม หรือแม้กระทั้งข้อมูลสุขภาพ แต่การถ่ายภาพหรือวิดีโอของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ในมุมของ PDPA นั้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยการถ่ายภาพมีหลายเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาตามแต่ละกรณี

      กรณีที่ 1 ถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อประโยชน์ส่วนตน ถ่ายภายในครอบครัวเพื่อนฝูง

      อ้างอิงจากมาตรา 4(1) มีการระบุเอาไว้ว่า “การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น” ดังนั้นในกรณีนี้ เราจึงสรุปได้ว่าสามารถทำได้โดยไม่ผิด PDPA โดยในกรณีนี้จะรวมไปถึงเรื่องการติดกล้องวงจรปิดด้วยเช่นกัน

      กรณีที่ 2 การถ่ายภาพหรือวิดีโอตามขอบเขตสัญญาจ้าง

      ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่าง อาชีพช่างภาพในสนามกีฬาที่คอยถ่ายภาพและวิดีโอของผู้เล่นในสนามและภาพบรรยากาศโดยรอบ, กรณีที่ช่างภาพถูกจ้างไปถ่ายภาพในงานวิวาห์ หรืองานอื่น ๆ ในที่สาธารณะซึ่งในกรณีนี้จะสามารถอ้างอิงได้จากมาตรา 24(3) ที่ระบุไว้ว่า “เป็นการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น”

      กรณีที่ 3 การถ่ายภาพหรือวิดีโอตามขอบเขตอำนาจของกฎหมาย

      ยกตัวอย่าง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐานเข้าถ่ายภาพที่เกิดเหตุการปล้นชิงทรัพย์ห้างทอง และมีการบันทึกภาพถ่ายชี้ตัวผู้ก่อเหตุได้ โดยในกรณีจะถือเป็นการปฏิบัติที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายตามมาตรา 24(4) “เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จึงสามารถกระทำได้โดยไม่ผิด PDPA

       กรณีที่ 4 การถ่ายภาพหรือวิดีโอตามจริยธรรมแห่งการประกอบอาชีพ

      กรณีนี้ค่อนข้างมีความชัดเจน โดยเฉพาะวิชาชีพที่จะต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ เช่น อาชีพผู้สื่อข่าวเราจะเห็นได้ว่านักข่าวสามารถถ่ายภาพบุคคลต่าง ๆ ลงหนังสือพิมพ์ได้โดยไม่ผิด PDPA เพราะในกฎหมายตามมาตรา 4(3) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลหรือนิติบุคคลใดซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะ เพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรมอันเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ หรือเป็นประโยชน์สาธารณะสามารถกระทำได้ภายใต้ พ.ร.บ. ฉบับนี้

     ดังนั้น เราจึงสรุปแบบสั้น ๆ ได้ว่า การถ่ายภาพติดบุคคลอื่นในที่สาธารณะไม่ได้ผิดกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเสมอไป หากเป็นการถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย ถ้าเป็นนำภาพไปใช้เชิงพาณิชย์จำเป็นต้องได้รับความยิมยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับการยกเว้นต่อเมื่อเป็นการสืบหาหลักฐานเพื่อการสืบสวนภายในขอบเขตของกฎหมายที่กำหนด เช่นเดียวกับสื่อมวลชนผู้สื่อข่าวที่ได้รับการยกเว้นกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ก็ควรอยู่ในกรอบมาตรฐานของจริยธรรมอาชีพหรือประโยชน์สาธารณะเท่านั้น
Image_20230315_102728_877-min
สุชเนศ จรรยา
ที่ปรึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จาก PDPA Thailand

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน