กฎหมาย PDPA ในมุม ‘ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่’ สิ่งที่ร้านค้าปลีก และผู้ค้าออนไลน์ควรรู้ว่าจะต้องแต่งตั้ง DPO หรือไม่?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

กฎหมาย PDPA ในมุม ‘ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่’ สิ่งที่ร้านค้าปลีก และผู้ค้าออนไลน์ควรรู้ว่าจะต้องแต่งตั้ง DPO หรือไม่?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ก่อนที่เราจะบอกถึงเหตุผลและความสำคัญของการมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO (Data Protection Officer) ซึ่งเป็นคนที่จะมาดูแลให้บริษัทดำเนินการได้ถูกต้อง และป้องกันความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย หรือเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  เบื้องต้น จะต้องเข้าใจรูปแบบและกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เสียก่อน

ทั้งนี้หากแยกประเภทของ ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยแบ่งตามรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ สามารถระบุประเภทได้ดังนี้

1.ร้านโชห่วย หรือร้านค้าปลีกรายย่อยที่อยู่ตามตรอกซอกซอย หรือตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ และถือว่ากิจการโชห่วยถือว่าเป็นกิจการที่มีมานมนาน แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งรูปแบบและสินค้า รวมทั้งบริการที่มีความทันสมัยมากขึ้น กระนั้นแม้จะมีการพัฒนาหน้าตาไปมาก แต่ยังอยู่ในกรอบการดำเนินกิจกรรมแบบเดิม คือการซื้อสินค้าราคาส่งมาขายปลีกแก่คนทั่วไป

2.ร้านสะดวกซื้อ พัฒนาการค้าปลีกที่ได้ปรับรูปแบบจากโชห่วยแบบเดิมไปสู่ร้านสะดวกซื้อที่เน้นขายสินค้าในชีวิตประจำวันให้บริการแบบ 24 ชม.และมีเพิ่มบริการบางอย่างที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น บริการด้านธุรกิจกรรมเงิน จ่ายบิลค่าบัตรเครดิต สินเชื่อ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฝาก-ถอนเงิน โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร จองตั๋วงานแสดงดนตรี รวมทั้งมีการจัดทำระบบสมาชิกเก็บข้อมูลลูกค้า อาทิ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์มือถือ อีเมล หมายเลขบัตรประชาชน เพื่อกิจกรรมด้านการตลาด และการบริการส่งสินค้าแบบ Delivery รวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลคู่ค้าที่เป็น Supplier ส่งสินค้ามาขายในร้าน  

3.ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าในชีวิตประจำวัน และอาหารแบบต่างๆ และมีบริการที่คล้ายกับร้านสะดวกซื้อแต่อาจจะมีพื้นที่มากกว่า บางแห่งตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือแยกมาเปิดเดี่ยวๆ (Stand-Alone) ทำให้ค้าปลีกประเภทนี้นอกจากจะมีบริการด้านธุรกรรมการเงิน การจัดทำระบบสมาชิก บริการ Delivery และจัดเก็บข้อมูลซัพพลายเออร์ที่ส่งสินค้ามาขายในร้าน แต่ด้วยการที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมีพื้นที่มากกว่าร้านสะดวกซื้อ (บางแห่ง) จึงยังมีการเปิดเช่าพื้นที่แก่ผู้ค้าภายนอก และจัดเก็บข้อมูลพนักงานจำนวนมากด้วย และอาจยังมีระบบรักษาความปลอดภัยและบริการจอดรถ

4.ห้างสรรพสินค้า หรือที่หลายท่านเรียกกันสั้นๆว่า ห้าง หมายถึงศูนย์รวมของสินค้าแทบทุกประเภท ตั้งแต่สินค้าทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงสินค้าอื่นๆ อาทิ สินค้าแฟชั่น ร้านหนังสือ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านยา ร้านอุปกรณ์ไอที ร้านอุปกรณ์สำนักงาน ธนาคาร ร้านทอง ร้านเกม ของที่ระลึก เครื่องดนตรี สินค้าไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ซึ่งแม้ห้างบางแห่งจะชูจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่ยังคงรูปแบบบริการแบบ ครบจบในที่เดียว จึงทำให้ค้าปลีกประเภทนี้มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า คู่ค้า-คู่สัญญา ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลการเงิน จัดทำระบบสมาชิก และบริการ Delivery ทั้งมีการวางระบบรักษาความปลอดภัย บริการที่จอดรถ และบันทึกข้อมูลทะเบียนรถของลูกค้าที่มาใช้บริการ

5.คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านค้าปลีกแบบ Stand-Alone ที่เน้นจุดขายเฉพาะเช่น สินค้าไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ธนาคาร ร้านทอง ร้านยา อุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ อาจจะเรียกว่าเป็นการย่อส่วนต่างๆของห้างสรรพสินค้าให้เป็นแบบ เฉพาะส่วน แต่จะมีการดำเนินกิจกรรมแบบเดียวกับห้าง โดยมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า คู่ค้า-คู่สัญญา ข้อมูลพนักงาน บริการธุรกรรมการเงินแบบต่างๆ รวมถึงบางมีการจัดทำระบบสมาชิกและบริการ Delivery มีระบบรักษาความปลอดภัย บริการที่จอดรถ และบันทึกข้อมูลทะเบียนรถ

6.ร้านค้าออนไลน์ ค้าปลีกสมัยใหม่ที่เติบโตและได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะมีทั้งแบบขายหน้าร้านและพ่วงบริการขายออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ เน้นขายสินค้าหลากหลาย หรืออาจจะขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่รูปแบบการดำเนินกิจกรรมของร้านยังคงคล้ายคลึงกับค้าปลีกทั่วไป คือ มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าแก่ธุรกิจขนส่ง และบางร้านมีการจัดทำระบบสมาชิกเพื่อกิจกรรมด้านการตลาดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เป็นธุรกิจที่มีการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เป็นจำนวนมาก

 

 

สิ่งใดบ้างที่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA และอาจต้องแต่งตั้ง DPO เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้อง

 

ในที่นี้ใช้คำว่า ค้าปลีกสมัยใหม่ เนื่องจากกิจกรรมของร้านค้าปลีกในปัจจุบันได้มีการปรับตัวตามสถานการณ์และพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค จึงเป็นไปได้ยากที่จะระบุว่าร้านค้าปลีกแบบใดบ้างเสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA แต่ขอระบุถึงกิจกรรมที่ค้าปลีกได้มีการดำเนินการที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ และอาจจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO หากมีกิจกรรมที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้  

  1. บันทึกภาพบุคคลนิ่ง หรือติดกล้องวงจรปิด CCTV โดยไม่ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือแจ้งว่าพื้นที่ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน หรือแม้แต่ ทะเบียนรถ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามรถระบุตัวบุคคลได้ เข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA และโดยส่วนใหญ่เรามักจะเห็นว่าร้านค้าปลีกมีการบันทึกภาพไว้มากมาย ทำให้กิจกรรมนี้ถือว่าละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

 

2. จัดทำระบบสมาชิก โดยทั่วไปจะมีการขอการข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่ชื่อ –นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หมายเลขบัตรประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) จะต้องขอความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล รวมทั้งต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ประมวลผล หรือนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยแก่บุคคลที่สามให้แก่เจ้าของข้อมูลทราบ และที่สำคัญเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ ใช้หรือเปิดเผย หรือการขอเข้าถึงสิทธิให้แก้ไข ถ่ายโอน หรือเพิกถอนยอมความยินยอมได้และต้องทำได้ง่าย

3. Omni Channel เป็นรูปแบบของการผสานระว่างช่องทางค้าปลีกออฟไลน์ และค้าปลีกออนไลน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขาย ซื้อซ้ำ และ Loyalty Customers อย่างเช่น การให้ลูกค้ากรองข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครสมาชิกอาจจะทำที่หน้าร้าน หรือผ่านช่องทางออนไลน์เช่น Facebook, Website, LINE, Email, SMS เพื่อจองหรือการเข้าไปรับสินค้า คูปองส่วนลด หรือสินค้าของแถมอื่นๆ ที่เพิ่มเติมจากการทำระบบสมาชิกคือ ร้านค้าปลีกยังทราบวันเวลาที่ลูกค้าจะมาที่ร้าน มีข้อมูลธุรกรรมการเงิน เลขบัตรเครดิตรวมทั้งมีการติดตามผล และนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อกิจกรรมด้านการส่งเสริมการขายและการตลาดอื่นๆ หรือการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าผ่านช่องทาง Delivery ทั้งอาจมีการส่งต่อข้อมูลลูกค้าให้กับร้านค้าสาขาอื่น แบรนด์อื่น ที่เข้าข่ายส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่สามโดยเจ้าของข้อมูลไม่เพียงไม่ทราบว่าเอาไปทำอะไรบ้าง แต่ยังส่งต่อข้อมูลและเฝ้าติดตามพฤติกรรมซึ่งเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามบัญญัติในกฎหมาย PDPA

4. บริการ Delivery เป็นที่ทราบดีว่าร้านค้าปลีกในปัจจุบันมีบริการส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยที่ลูกค้าเองไม่ต้องมารับที่ร้าน ไม่ว่าจะเป็นแบบส่งด่วน Delivery ผ่านแอปพลิเคชัน หรือช่องทางที่ร้านค้าพัฒนาขึ้นเอง ส่งสินค้าผ่านผู้ให้บริการขนส่งแบบ Express หรือผ่านระบบไปรษณีย์ และไม่ว่าจะรูปแบบใดก็เข้าข่ายเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามบัญญัติของกฎหมาย PDPA ทั้งยังมีการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สาม ซึ่งเสี่ยงต่อการละเมิดได้ง่ายหากไม่มีการจัดการที่รัดกุมและเหมาะสมกับความเสี่ยง

5 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพลูกค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่บางแห่งยังมีการเก็บข้อมูลการซื้อยา การแพ้ยา แพ้สารเคมี หรือแพ้อาหาร ที่เข้าข่ายการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) โดยบัญญัติของกฎหมาย PDPA จะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นเหตุจำเป็นและชอบโดยกฎหมาย ที่สำคัญคือเจ้าของข้อมูลจะต้องทราบและให้ความยินยอมผ่านช่องทางใด ช่องทางหนึ่งอย่างชัดเจน

6. จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบดีว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในปัจจุบันเน้นการทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยการจัดเก็บ ประมวลผลและเฝ้าติดตามพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้มีความจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA และมี ความเสี่ยงสูง ที่ข้อมูลที่จัดเก็บหรือประมวลผลจะนำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

 

ทั้งนี้ตามนิยามของกฎหมาย PDPA ที่ระบุถึงขอบเขตของ ข้อมูลจำนวนมาก คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีการจัดเก็บข้อมูลบุคคลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนมากกว่า 5 หมื่นราย หรือมีข้อมูลอ่อนไหว(Sensitive Data)  มากว่า 5 พันรายการ และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เข้าเกณฑ์นี้จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลหรือ DPO

ด้วยข้อมูลที่เราหยิบยกและนำมาแจกแจงทั้งหมด จะเห็นว่าธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (ยกเว้นโชห่วย) มีความสุ่มเสี่ยงในหลายด้านที่ข้อมูลส่วนบุคคลจะเกิดการรั่วไหลและนำไปสู่การละเมิด รวมทั้งบางกิจกรรม กฎหมายระบุว่าต้องดำเนินการอย่าง ถูกต้อง และเหมาะสมกับความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ ค้าปลีกสมัยใหม่อาจจะมีความจำเป็นต้องแต่งตั้ง DPO ผู้ที่จะมามาแนะนำเพื่อให้สามารถแน่ใจว่าการดำเนินกิจกรรมค้าปลีกและกิจกรรมการด้านการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ ได้ทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามบทบัญญัติของกฎหมาย PDPA

ขณะที่ในมุมของผู้ค้าออนไลน์รายย่อย หรือผู้ค้าออนไลน์ที่ขายผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอาจจะไม่เข้าเกณฑ์นี้ แต่เนื่องจากหากผู้ค้านั้นยังเป็นผู้ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะต้องให้ความใสใจเรื่องกฎหมาย PDPA เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดกฎหมายที่อาจจะเพราะความประมาทเลินเล่อ หรือไม่ทราบ เนื่องจาก PDPA ยังเป็นกฎหมายใหม่ที่รอการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ และภายใต้บรรทัดฐานใหม่นี้ ข้อมูลส่วนบุคคลจึงควรเก็บเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ