Q&A เรื่อง PDPA ที่ หน่วยงานรัฐ อยากรู้ !?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

Q&A เรื่อง PDPA ที่ หน่วยงานรัฐ อยากรู้ !?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

เนื่องจากพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดตั้งมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปนับเป็นชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในสังคมในชีวิตประจำวัน  

 

หลายองค์กรคงยังมีความสงสัยในเรื่องของ PDPA และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม รวมถึงไขข้อสงสัยให้กับหน่วยงาน รวมถึงผู้ที่มีความสนใจ  PDPA Thailand จึงได้รวบรวม 5 ประเด็นคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จาก โครงการอบรมหลักสูตร ‘การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ’  ซึ่งเป็นการจัดตั้งเพื่อให้มีแนวทางในการจัดการคุ้มครองข้อมูลบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ  

 

5 Q&A เรื่อง PDPA ที่ หน่วยงานรัฐ อยากรู้ !?

Q1. การที่หน่วยงานขอข้อมูล Account สื่อโซเชี่ยล ของข้าราชการเพื่อตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ซึ่งบางข้อมูลเป็นข้อมูลอ่อนไหวจะสามารถกระทำได้หรือไม่ หากสามารถทำได้ หน่วยงานต้องปฏิบัติเช่นไร ?

A1. การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำได้เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือขณะเก็บข้อมูล อีกทั้งการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามหลักการพื้นฐาน 7 ประการ ดังนี้

  1. Lawfulness, Fairness and Transparency – ชอบด้วยกฎหมาย มีความเป็นธรรม โปร่งใส
  2. Purpose Limitation – เก็บเฉพาะถามวัตถุประสงค์ที่แจ้ง
  3. Data Minimization – เก็บรวบรวมเท่าที่จำเป็นและเกี่ยวข้องตามวัตถุประสงค์
  4. Accuracy – ถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน
  5. Storage Limitation – ไม่เก็บเกินความจำเป็นตามระยะเวลาที่เหมาะสม
  6. Integrity and Confidentiality – เก็บรักษาเป็นความลับ กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
  7. Accountability – ความรับผิดชอบ และดำเนินการสอดคล้องกับฐานทางกฎหมาย

นอกจากนี้แล้วการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องมีฐานทางกฎหมายมารับการดำเนินงานดังกล่าวด้วย กล่าวคือ การเก็บข้อมูลดังกล่าวขององค์กรสามารถดำเนินการตามฐานทางกฎหมายหรือไม่ หรือมีกฎหมายให้อำนาจในการดำเนินการหรือไม่ หากไม่มีองค์กรจำเป็นที่จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บข้อมูลดังกล่าว และในการเก็บข้อมูลต้องพิจารณาว่าข้อมูลนั้นจำเป็นและเหมาะสมมากน้อยเพียงใดกับวัตถุประสงค์ในการนำไปประมวลผล

 

Q2. กรณีแบบฟอร์มให้เซ็นผ่านประตูเพื่อการติดต่อของบุคคลภายนอก เราต้องทำหนังสือยินยอมเก็บข้อมูลด้วยไหม เพราะมีการลงชื่อ เบอร์โทร อื่นๆ ด้วย ?

A2. การเซ็นต์ชื่อผ่านประตูเพื่อการติดต่อของบุคคลภายนอก สามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม แต่หน่วยงานสามารถทำได้ตามมาตรา 24(5) แต่เก็บข้อมูลดังกล่าวจะต้องเก็บเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์โดยชอบด้วยกฎหมาย

 

Q3. ถ้าเว็บไซต์มีแต่คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น ยังไม่ได้ติดพวกคุ้กกี้ทางการตลาดต่างๆ จำเป็นต้องทำ popup cookies consent กับ cookies policy ไหม ?

A3. Popup Cookies – Consent อาจไม่จำเป็นต้องทำหากมีการเก็บเพียงคุกกี้เพื่อความจำเป็น 

Cookie Policy ถ้าปรากฏว่ามีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยการใช้คุกกี้ แม้จะเป็นเพียงประเภทเดียวก็ต้องมรการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบตามมาตรา 23 แต่จะจัดทำเป็น cookie policy หรือ ทำให้ปรากฏใน privacy notice ฉบับอื่นก็ได้

 

Q4. กรณีมีแอพพลิเคชั่น โครงการ ที่จัดจ้างจบไปแล้ว แต่ยังคงใช้งานอยู่ และมีผู้ดาวโหลดใช้งานอยู่เลื่อนๆ  เราสามารถก๊อบปี้ การขอconsent form PDPA ของแอฟอื่น ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้ไหม?

A4. การจัดทำ concent form ต้องเป็นไปตามมาตรา 19 กรณีที่เป็นการทำแอพพลิเคชั่นโครงการที่ยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบันจะต้องมีการขอความยินยอมสำหรับผู้ใช้งานใหม่ และสำหรับวัตถุประสงค์ที่ไม่สามารถเก็บบนฐานตามมาตรา 24 ได้เท่านั้้น การขอความยินยอมก็ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการเช่นกัน ดังนั้นการก๊อบปี้การขอ concent form PDPA จากแอพพลิเคชั่นอื่นนั้น ผู้รับผิดชอบจะต้องนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวด้วย

 

Q5.  เรื่องบริษัทเปิดดูกล้องวงจรปิดเพื่อดูพฤติกรรมและคำพูดของลูกจ้างคนหนึ่ง ต่อมาลูกจ้างคนนี้ถูกเลิกจ้าง อยากทราบว่าเป็นการละเมิดสิทธิลูกจ้างหรือไม่ บริษัทกระทำโดยชอบหรือไม่ตาม pdpa ?

A5.  โดยหลักทั่วไปการติดกล้องวงจรปิดของทางบริษัทจะต้องพิจารณาระหว่าง ประโยชน์ของบริษัท และ ความเป็นส่วนตัวของลูกจ้าง ว่าได้สัดส่วนหรือไม่

  • การติดตั้งกล้องวงจรปิด มุมกล้องโฟกัสแค่จุดเดียวหรือหมุนเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและรักษาทรัพย์สินของบริษัทหรือไม่
  • ถ้าพฤติกรรมของลูกจ้างในอดีตมีเหตุให้เชื่อถือได้ว่า เคยมีประวัติลักทรัพย์หรือเหตุควรเชื่ออย่างอื่นที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท กรณีเช่นนี้เป็นเหตุที่บริษัทอาจเปิดเพื่อตรวจดูพฤติกรรมของพนักงานได้
  • หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่มีเหตุข้างต้น แต่เป็นการกระด้วยเหตุส่วนตัวของบริษัท การเปิดกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจดูพฤติกรรม อาจเข้าค่ายละเมิดได้
  • ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมของบริษัทว่า อยู่ในอตุสาหกรรมรูปแบบใด หากเป็นรูปแบบของหลักทรัพย์ การติดตั้งกล้องและตรวจสอบเป็นสิ่งที่บริษัทสามารถทำได้
  • ทั้งนี้การที่จะพิสูจว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ลูกจ้างจะต้องพิสูจย์ด้วยตนเอง

 

นี่เป็นเพียงคำถามที่เรารวบรวมบางส่วนโครงการนี้เท่านั้น อ่านรายละเอียดงานอบรม โครงการอบรมหลักสูตร ‘การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ’ >> https://nidalaw.or.th/  

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ