หนังสือแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach Letter) คืออะไร ต้องเขียนอย่างไรบ้าง ?

หนังสือแจ้งเหตุละเมิด

การแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล  ถือเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาทางกฎหมายหลายประการ โดยมีการกำหนดจากการเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมง เนื่องจากองค์กรอาจมีความรับผิดทางกฎหมายหากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ซึ่งในมาตรา มาตรา 37(4)  มีการเขียนไว้ว่า การแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน72 ชั่วโมง  “ นับแต่ทราบเหตุ” เท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หากกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ดังนั้นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สุดของการเริ่มนับระยะเวลา คือ “นับแต่ทราบเหตุ” (become aware) /*! elementor – v3.6.6 – 08-06-2022 */ .elementor-widget-image{text-align:center}.elementor-widget-image a{display:inline-block}.elementor-widget-image a img[src$=”.svg”]{width:48px}.elementor-widget-image img{vertical-align:middle;display:inline-block} ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการพิจารณาแล้วว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้น (security incident) มีผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด ดังนั้น สิ่งแรกที่องค์กรต้องทำการประเมินก่อน คือ อธิบายผลของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลนั้นได้ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ หนังสือแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้  รายละเอียดของเหตุ ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ระบุรายละเอียดเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามข้อมูลส่วนบุคคล […]