PDPA เป็นหน้าที่ของ IT จริงหรือ ?

ทำ PDPA

กฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บัญญัติให้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ ที่หมายถึง ข้อมูลใดก็ตามที่สามารถระบุตัวบุคคลทั้งตรงและทางอ้อมเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งการเก็บ ใช้หรือเปิดเผยจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ระยะเวลาในการเก็บ และต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูล รวมทั้งต้องมีมาตรการในการรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยเหมาะสมกับความเสี่ยง ดังนั้นกฎหมายนี้ จะเข้าไปสัมผัสทุกแง่มุมทุกแผนกที่มีการเก็บ และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องเริ่มปฎิบัติตาม สาระ สำคัญจาก พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเป็นไปตามที่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดไว้ในกฏหมาย และการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล กับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ จะต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมีการใช้ฐานทางกฎหมาย และการจัดเก็บข้อมูลจะต้องปลอดภัย ได้มาตรฐานไม่ให้ข้อมูลเกิดการรั่วไหล ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวมไว้ จะต้องตรวจสอบได้ ข้อมูลเหล่านั้นต้องตรวจสอบได้ว่า ได้มายังไง ได้มาอย่างถูกต้องไหม ตรงตามข้อกำหนดหรือไม่ เกิดอาชีพใหม่ในไทย  DPO หรือ Data Protection Officer) ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลและตรวจเช็ค ปกป้องข้อมูล ให้เป็นไปตามกฎหมาย  จากสาระสำคัญเบื้องต้น ทำให้องค์กรส่วนมาก “ผลักภาระ” การรับผิดชอบในการจัดการเรื่อง PDPA ไปให้แผนก IT  (Information […]