สคช. – สพร. – สคส. ผนึกกำลังเพิ่มความเข้มข้นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการยกระดับบุคลากรภาครัฐด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จรดปากกาลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ ระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมต่อการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงส่งเสริมให้ได้รับการประเมินสมรรถนะเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และนางสุนทรีย์ ส่งเสริม จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่วมเป็นสักขีพยาน นายสุรพล กล่าวว่า จากนี้ไป ทั้งสามหน่วยงานจะได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐของประเทศ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ และเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะ พร้อมร่วมจัดทำหลักสูตรเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ (Government Data Protection […]
ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ทำอย่างไรไม่ละเมิดกฎหมาย PDPA

‘ข้อมูลประวัติอาชญากรรม’ ดำเนินการไม่ถูกต้อง ‘นายจ้างอาจติดคุก’ เพราะแม้การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนการ ‘คัดกรอง’ ก่อนการจ้างงาน ทั้งบางธุรกิจหรือสถานประกอบการยังกำหนดเป็นมาตรฐานการควบคุมที่สำคัญและเป็นชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของการให้บริการที่จำเป็นต้องมีมาตรการขั้นสูงในการคัดกรอง เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานด้านการเงิน พนักงานที่ดูแลระบบสารสนเทศ แม่บ้าน ช่างซ่อมบำรุงในอาคาร พนักงานขับรถขนเงิน พนักงานขับรถสาธารณะ หรือพนักงานขับรถส่งอาหาร ฯลฯ แม้กฎหมายจะอนุญาตให้บางธุรกิจหรือบางสถานประกอบการมีสิทธิตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรม หรือขอเอกสารการตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานได้ แต่ไม่ได้อนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติใครก็ได้โดยส่วนตัว เพราะอาจจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลนั้น หรือทำให้เกิดความเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ การที่นายจ้างจะตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครจะต้องดำเนินการโดยการควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยในปัจจุบันเป็นบริการของกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีบริการประชาชนทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยมี 2 วิธี คือ การตรวจสอบด้วยลายพิมพ์นิ้วมือ และการตรวจสอบด้วยชื่อและสกุล ซึ่งนายจ้างจะต้องมีเอกสารสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ นั่นคือ เอกสารความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ […]