เมื่อองค์กรต้องมี DPO ตามที่กฎหมาย PDPA หากไม่มีจะมีความผิดตามกฎหมาย PDPA โทษปรับสูงสุด 1 ล้านบาท “PDPA Thailand มีคำตอบ”

ตามประกาศกฎหมาย PDPA เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2566  เรื่อง “การจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 41 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” นั้น  อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับประกาศ DPO เพิ่มเติมคลิกเลย 

    เช็กให้ชัวร์ ! “DPO Checklist” แบบทดสอบประเมินองค์กร เมื่อองค์กรยุคใหม่ต้องมี DPO ตามกฎหมาย PDPA กำหนด คลิกเลย

     กิจการที่ต้องมี DPO” (Data Protection Officer) หรือ “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเป็นกิจการที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับ Data Controller หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และ Data Processor หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ดำเนินกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของ Core Activities หรือกิจกรรมหลัก ที่จำเป็นจะต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การพิจารณาหลักเกณฑ์กิจการที่ต้องมี DPO นั้น จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ ร่วมด้วย ซึ่งรวมไปถึงความเสี่ยงและผลกระทบต่อ Data Subject อีกด้วย

หน้าที่ของ DPO ตามมาตรา 42 ของ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

    1. ให้คำแนะนำแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
    2. ตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    3. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับบริษัทในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    4. รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ล่วงรู้หรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่

     สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องตามประกาศกฎหมาย PDPA และเข้าข่ายที่ต้องมี DPO เพื่อคอยให้คำปรึกษา ตรวจสอบการดำเนินงาน และประสานงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล แต่ถ้าหากองค์กรไม่มีและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA เสี่ยงอาจมีโทษปรับสูงสุดถึง 1 ล้านบาท ตามมาตรา 82 และ 85 ของ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคคล พ.ศ. 2562

     เมื่อองค์กรจำเป็นต้องมี DPO หรือต้องการมี DPO เพื่อช่วยในการจัดการเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังหา DPO ไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่าพนักงานขององค์กรมีความรู้หรือทักษะการจะเป็น DPO ได้ดีพอหรือไม่ การใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน PDPA และผ่านการอบรมที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) แล้ว มาเป็น DPO ซึ่งช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายและภาระงานในองค์กรของคุณได้อย่างแน่นอน ให้ DPO Online จาก PDPA Thailand ช่วยจัดการให้

บริการ DPO Online

บริการ

ขอบเขตของการบริการ

DPO ในฐานะผู้ประสานงานกับ สคส.

(Certified DPO Trainer Register : DPO ของ DBC Group ที่ได้รับการรับรองและจดทะเบียนเป็น DPO จาก สคส.)

– ขึ้นทะเบียน DPO ให้กับองค์กรโดยใช้ที่ปรึกษาและวิทยากรของ DBC ที่ได้รับการรับรองจาก สคส. 

– เป็นผู้แจ้งและประสานงานกับ สคส. และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ในกรณีเกิดเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach)

– แจ้งและรายงานประกาศกฎหมายลูกที่ได้รับการเผยแพร่ให้คณะทำงานรับทราบ

DPO สำหรับการรับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

(Data Subject Request (DSR) : ดูแลและประสานงานในฐานะผู้ดำเนินการตอบสนองจากผู้ขอใช้สิทธิ์)

– รับเรื่องร้องเรียนและขอใช้สิทธิ์ (Data Subject Request) ประสานงานกับผู้ที่มาขอใช้สิทธิในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคลแทนองค์กร แต่ไม่ครอบคลุมการดำเนินงานและขั้นตอนการทำงานภายในของบริษัทหรือองค์กร

– ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :