ประกาศคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 2 ชุดแรก พร้อมตัดสินโทษปกครองหากละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : Arthit Sriboonrueng

ประกาศคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 2 ชุดแรก พร้อมตัดสินโทษปกครองหากละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : Arthit Sriboonrueng

หลังจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยคณะกรรมการต่างอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) อ่านบทความ อำนาจและหน้าที่ของทั้งสองคณะกรรมการ ได้ที่นี่ 

ในคราวประกาศ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้มีผลสรุปการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ชุด ได้แก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเงิน และเศรษฐกิจ และ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และอื่นๆ สคส.สามารถแต่งตั้งได้หลายชุดตามความเหมาะสม โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวนทั้งหมด 7 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็น ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 1 ตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำด้านต่าง ๆ อีก 6 ตำแหน่ง 

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ pdpa
  • นางฤชุกร สิริโยธิน – ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านสถาบันการเงิน)

เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน โดยเป็นอดีตรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงยังมีการดำรงตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการ องค์การสวนพฤกศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ และกรรมการ บริษัทเอเชียโฮเต็ล จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน

  • นายกำพล ศรธนะรัตน์ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร)

ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์

  • นายศุภวัชร์ มาลานนท์ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)

ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2558 – 22 ก.ค. 2562 และเป็นอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจตอบข้อหารือและให้คำแนะนำหน่วยงานของรัฐเพื่อรองรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  • รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา  – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายปกครอง )

รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (ภาคนอกเวลาราชการ) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจหลักทรัพย์)

ปัจจุบันเป็นประธานอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ,อนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรรมการ บริษัท เอสเอส แฟมิลี่ โฮลดิ้ง จำกัด ,กรรมการผู้อำนวยการ และกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

รวมถึงเป็น กรรมการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย

  • นายกิตติ ผาสุขดี – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจประกันภัย)

ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสมาคมประกันชีวิตไทย และผู้แทนบริษัทประกันชีวิต อดีตเคยเป็นกรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย 

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์)

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (Academy of Public Enterprise Policy, Business and Regulation – APaR) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเงิน และเศรษฐกิจ มีหน้าที่และอำนาจความรับผิดชอบดังนี้

  1. พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติฯ เกี่ยวกับกิจการด้านการเงิน การธนาคาร และการประกันภัย
  2. ตรวจสอบการกระทำใดๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมอบหมาย
  • พลเอก ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ – ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม)

ประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นผู้ช่วยเลขาธิการและกรรมการมูลนิธิรักเมืองไทย อดีตดำรงดำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

  • นายศักดิ์ เสกขุนทด – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)กรรมการในคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการระบบการชาระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกลางและฐานข้อมูลกฎหมายของประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา นายกสมาคม Cloud Security Alliance (Thailand Chapter)

  • นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนส่วนบุคคล)

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ปรึกษาทางกฏหมาย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้สื่อข่าวออนไลน์

  • นายจุมพล นิติธรางกูร – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายปกครอง)

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนากฎหมาย กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด

  • นายสมณ์ พรหมรส – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านคุ้มครองสิทธิของประชาชน)

อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 3) อนุกรรมาธิการ ในคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

  • นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี  – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านสื่อสารมวลชน)

ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และเป็นประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติคนแรก จากเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

  • นายชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจเอกชนหรือกฎหมายธุรกิจ)

รองประธานหอการค้าไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า นอกจากนั้นยังเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานทนายความ ชัยวัธ-บัณฑูรย์ จำกัด ที่เปิดทำการมากว่า 40 ปี

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และอื่นๆ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับกิจการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และดิจิทัล หรือด้านอื่นที่มิได้กำหนดให้อยู่ในหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญคณะใดเป็นการเฉพาะ
  2. ตรวจสอบการกระทำใด ๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกบ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุม ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เวลา ความเสียหาย ของข้อมูลส่วนบุคคล 
  3. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มอบหมาย

หลังจากประกาศคณะกรรมการหลายชุด ภายใต้พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฏหมาย PDPA ผลักดันให้ PDPA ถูกบังคับใช้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่ถือเป็น Data Controller และ data processor จึงควรให้ความจิงจังกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น 

อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นรูปธรรม  เช่นการออกกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ และประกาศจากคณะกรรมการที่เราต้องติดตามต่อไป 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ