ประกาศคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 2 ชุดแรก พร้อมตัดสินโทษปกครองหากละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : Arthit Sriboonrueng

ประกาศคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 2 ชุดแรก พร้อมตัดสินโทษปกครองหากละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : Arthit Sriboonrueng

หลังจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยคณะกรรมการต่างอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) อ่านบทความ อำนาจและหน้าที่ของทั้งสองคณะกรรมการ ได้ที่นี่ 

ในคราวประกาศ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้มีผลสรุปการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 ชุด ได้แก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเงิน และเศรษฐกิจ และ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และอื่นๆ สคส.สามารถแต่งตั้งได้หลายชุดตามความเหมาะสม โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวนทั้งหมด 7 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็น ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 1 ตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำด้านต่าง ๆ อีก 6 ตำแหน่ง 

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ pdpa
  • นางฤชุกร สิริโยธิน – ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านสถาบันการเงิน)

เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน โดยเป็นอดีตรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงยังมีการดำรงตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการ องค์การสวนพฤกศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ และกรรมการ บริษัทเอเชียโฮเต็ล จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน

  • นายกำพล ศรธนะรัตน์ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร)

ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์

  • นายศุภวัชร์ มาลานนท์ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)

ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2558 – 22 ก.ค. 2562 และเป็นอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจตอบข้อหารือและให้คำแนะนำหน่วยงานของรัฐเพื่อรองรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  • รองศาสตราจารย์มานิตย์ จุมปา  – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายปกครอง )

รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (ภาคนอกเวลาราชการ) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจหลักทรัพย์)

ปัจจุบันเป็นประธานอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ,อนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรรมการ บริษัท เอสเอส แฟมิลี่ โฮลดิ้ง จำกัด ,กรรมการผู้อำนวยการ และกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

รวมถึงเป็น กรรมการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย

  • นายกิตติ ผาสุขดี – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจประกันภัย)

ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสมาคมประกันชีวิตไทย และผู้แทนบริษัทประกันชีวิต อดีตเคยเป็นกรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย 

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์)

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (Academy of Public Enterprise Policy, Business and Regulation – APaR) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเงิน และเศรษฐกิจ มีหน้าที่และอำนาจความรับผิดชอบดังนี้

  1. พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติฯ เกี่ยวกับกิจการด้านการเงิน การธนาคาร และการประกันภัย
  2. ตรวจสอบการกระทำใดๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  3. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมอบหมาย
  • พลเอก ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ – ประธานกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม)

ประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นผู้ช่วยเลขาธิการและกรรมการมูลนิธิรักเมืองไทย อดีตดำรงดำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

  • นายศักดิ์ เสกขุนทด – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Digital Transformation สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)กรรมการในคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการระบบการชาระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกลางและฐานข้อมูลกฎหมายของประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา นายกสมาคม Cloud Security Alliance (Thailand Chapter)

  • นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนส่วนบุคคล)

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ปรึกษาทางกฏหมาย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้สื่อข่าวออนไลน์

  • นายจุมพล นิติธรางกูร – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านกฎหมายปกครอง)

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนากฎหมาย กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด

  • นายสมณ์ พรหมรส – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านคุ้มครองสิทธิของประชาชน)

อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 3) อนุกรรมาธิการ ในคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

  • นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี  – กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านสื่อสารมวลชน)

ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และเป็นประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติคนแรก จากเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

  • นายชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ กรรมการผู้เชี่ยวชาญ (ด้านธุรกิจเอกชนหรือกฎหมายธุรกิจ)

รองประธานหอการค้าไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า นอกจากนั้นยังเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานทนายความ ชัยวัธ-บัณฑูรย์ จำกัด ที่เปิดทำการมากว่า 40 ปี

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และอื่นๆ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับกิจการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และดิจิทัล หรือด้านอื่นที่มิได้กำหนดให้อยู่ในหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญคณะใดเป็นการเฉพาะ
  2. ตรวจสอบการกระทำใด ๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกบ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุม ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เวลา ความเสียหาย ของข้อมูลส่วนบุคคล 
  3. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มอบหมาย

หลังจากประกาศคณะกรรมการหลายชุด ภายใต้พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฏหมาย PDPA ผลักดันให้ PDPA ถูกบังคับใช้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่ถือเป็น Data Controller และ data processor จึงควรให้ความจิงจังกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น 

อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นรูปธรรม  เช่นการออกกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ และประกาศจากคณะกรรมการที่เราต้องติดตามต่อไป 

Share :