การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการปฏิบัติตาม PDPA ของหน่วยงานภาครัฐ ควรทำแบบไหน อย่างไรให้ถูกต้อง

หลังการมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection   Act : PDPA) เป็นผลให้ทุกหน่วยงานเร่งปฏิบัติบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งการจัดทำประกาศความเป็นส่วนตัว การขอความยินยอม การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ยังมีขอบเขตการบังคับใช้ถึงหน่วยงานราชการด้วย ซึ่งการที่จะพิจารณาว่าหน่วยงานราชการได้อยู่ภายใต้บังคับของ PDPA หรือไม่นั้น ต้องไม่ใช่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ  ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์ หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ PDPA ซึ่งการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎมหายฉบับนี้นั้นจะต้องพิจารณาว่ามีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วหรือไม่ หากใช่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎมายว่าด้วยเรื่องนั้น ๆ โดยต้องนำ PDPA มาปฏิบัติเพิ่มเติมในบางส่วน ปัจจุบันการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐจะอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (Official Information Act : OIA) ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปที่หน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับดังกล่าวมีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิในทางการเมืองได้ และเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เป็นการที่ให้อำนาจหน่วยงานราชการในการที่จะสามารถเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานต่อสาธารณะได้ ซึ่งข้อมูลนั้นครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย การบังคับใช้ของ PDPA นั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ผู้ควบคุมข้อมูลห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่มีฐานทางกฎหมายอื่นมารองรับ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีความต่างกันในวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับของหน่วยงานภาครัฐจึงต้องพิจารณาถึงขอบเขตการบังคับใช้ของกฎหมาย คือ OIA แม้จะเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วไปกับหน่วยงานราชการ แต่การบังคับใช้นั้นไม่มีขอบเขตรวมไปถึงภาคเอกชนด้วย […]

โอน-รับข้อมูลระหว่างประเทศ เมื่อทั่วโลกคุมเข้มมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โอน-รับข้อมูลระหว่างประเทศ

สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั่วโลก นัยหนึ่งเพื่อป้องปรามการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นผลประโยชน์โดยใช้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ อย่างเกินขอบเขต และการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ขณะที่อีกนัยหนึ่งจะเห็นว่าเป็นกติกาการค้ารูปแบบเดิม ๆ ที่ถูกเพิ่มเติมด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อสร้าง ‘มาตรฐานการค้ายุคใหม่’ และอาจถูกมองว่าเป็นการกำหนด ‘กติกาการค้า’ หมายความว่าผู้ที่จะร่วมเล่นในตลาดเดียวกันจะต้องมีกติกาที่เหมือนกัน หรืออย่างน้อยต้องอยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณีระเบียบและหลักเกณฑ์การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก EU หรือองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากในสหภาพยุโรป รวมถึงเขตเศรษฐกิจยุโรป (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) ซึ่งมีประเด็นว่าการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สาม อาทิ สหรัฐอเมริกา ที่ถึงแม้จะมีการออกหลักเกณฑ์ที่ทำให้สามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ แต่หลักเกณฑ์ เหล่านั้นกลับยังมีช่องว่าที่ทำมลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลฟ้องผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการนอกประเทศสมาชิก EU  ได้ ด้วยเหตุนี้ การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศดังกล่าวจะต้องดูที่มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลฯ ที่ ‘เพียงพอ’ ของประเทศปลายทาง และคำวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานของสหภาพยุโรปที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค หรือ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป ( European Data Protection Board (EDPB)) ซึ่งเรื่องนี้เป็นอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ทำการติดต่อการค้ากับประเทศในสหภาพยุโรป ดูเหมือนว่า สถานการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่มีการติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขของ กฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศและอาจจะต้องรอประกาศหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคต และด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ […]

จะผิดไหม!!! หากถ่ายภาพผู้ชมฟุตบอลในสนาม

   ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องราวที่ทำเอาหัวใจแฟน ๆ นักเตะทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติฝรั่งเศสลุ้นกันเป็นอย่างมาก เพราะสองสตาร์ดังจากสโมสรปารีส แซ็ง แฌร์แม็ง กัปตันผู้เป็นทุกอย่างของทัพฟ้าขาว “ลิโอเนล เมสซี่” และว่าที่แข้งซุป’ตาร์เบอร์ 1 ของโลกคนต่อไปจากทัพตราไก่อย่าง “คิลิยัน เอ็มบัปเป้” ได้มาเปิดศึกสร้างประวัติศาสตร์ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด  โดยทีมชาติอาร์เจนตินาคว้าแชมป์โลกหนนี้ไปครองด้วยการชนะการดวลจุดโทษ ซึ่งอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานนี้ไม่ได้อยู่ที่การรับถ้วยของเมสซี่แต่เพียงเท่านั้น เพราะเขากลับได้ใจคนรักครอบครัวไปเต็ม ๆ เมื่อ “ลิโอเนล เมสซี่” ที่ได้ชื่อว่าเป็นแข้งที่เก่งกาจที่สุดในโลกด้วยรางวัลบัลลงดอร์ 7 สมัย ยังต้องรับบทช่างภาพจำเป็นถ่ายรูปให้ภรรยาที่ชูถ้วยแชมป์ “ฟุตบอลโลก 2022 เป็นภาพที่เห็นแล้วก็สร้างความประทับใจให้กับใครหลายคน แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/sport/worldcup/2581460      วันนี้เราจะมาเปิดประเด็นถึงเรื่องการถ่ายภาพในสนามกีฬา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นกีฬาใด ๆ หรือแม้กระทั่งในที่สาธารณะก็คงหลีกหนีไม่พ้นเรื่องของการถ่ายภาพและวิดีโอเนื่องจากตอนนี้ในประเทศไทยมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมาแล้วตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 แต่ก็มีข้อที่ทำให้ถกเถียงเป็นประเด็นอยู่มาก เรื่องของการถ่ายภาพติดบุคคลอื่นในที่สาธารณะว่าสามารถทำได้หรือไม่ ผิด PDPA หรือไม่? ก่อนอื่นผู้อ่านทุกท่านต้องเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนโดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นคือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม […]