การกำกับดูแลข้อมูลและ PDPA

เขียนและเรียบเรียงโดย รศ.ดร.สมชาย นำประเสริฐชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญขององค์กร การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและการปฏิบัติการกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างคุณค่าและความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565 นั้น ทำให้หลายองค์กรของไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลในการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง การนำข้อมูลมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีเพื่อให้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและสามารถนำสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ดังนั้นทุกองค์กรต้องมีการจัดการข้อมูล (Data Management) ที่ดี ซึ่งประกอบด้วยหลายๆ ประเด็นตั้งแต่การกำหนดสถาปัตยกรรมข้อมูล การจัดทำโมเดลข้อมูล การจัดเก็บและการดำเนินการข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล การบูรณาการข้อมูล การจัดการเอกสารและเนื้อหา ข้อมูลหลักข้อมูลอ้างอิง ระบบคลังข้อมูลและธุรกิจอัจฉริยะ เมตาดาต้า และคุณภาพข้อมูล ทั้งนี้การจัดการข้อมูลจะมีการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ทุกกระบวนการจัดการข้อมูลนั้นบรรลุเป้าหมาย ดังภาพที่แสดงให้เห็นว่าการกำกับดูแลข้อมูลนั้นรองรับทุกประเด็นในกระบวนการของการจัดการข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง สมบูรณ์ ปลอดภัย สามารถเข้าถึงได้และมีคุณภาพเพื่อสร้างคุณค่าในการใช้ข้อมูล /*! elementor – v3.11.4 – 12-03-2023 […]
CRM มีกระบวนการทำงานอย่างไร และทำไมถึงเกี่ยวข้องกับ PDPA

เรียบเรียงโดย :คุณสถาพร ฉายะโอภาสประธานจังหวัดนครนายก สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ที่ประกาศใช้เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันองค์กรธุรกิจ หรือ หน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล หากองค์การ หรือหน่วยงานละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมาย PDPA มีความเสี่ยงจากการรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในองค์กร ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการ ความปลอดภัยของข้อมูล และการนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ในกระบวนการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับระบบบริหารและจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management System (CRM)) มีกระบวนการเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานในองค์กร เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการ พนักงานขาย […]
โอน-รับข้อมูลระหว่างประเทศ เมื่อทั่วโลกคุมเข้มมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั่วโลก นัยหนึ่งเพื่อป้องปรามการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นผลประโยชน์โดยใช้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ อย่างเกินขอบเขต และการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ขณะที่อีกนัยหนึ่งจะเห็นว่าเป็นกติกาการค้ารูปแบบเดิม ๆ ที่ถูกเพิ่มเติมด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อสร้าง ‘มาตรฐานการค้ายุคใหม่’ และอาจถูกมองว่าเป็นการกำหนด ‘กติกาการค้า’ หมายความว่าผู้ที่จะร่วมเล่นในตลาดเดียวกันจะต้องมีกติกาที่เหมือนกัน หรืออย่างน้อยต้องอยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณีระเบียบและหลักเกณฑ์การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก EU หรือองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากในสหภาพยุโรป รวมถึงเขตเศรษฐกิจยุโรป (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) ซึ่งมีประเด็นว่าการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สาม อาทิ สหรัฐอเมริกา ที่ถึงแม้จะมีการออกหลักเกณฑ์ที่ทำให้สามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ แต่หลักเกณฑ์ เหล่านั้นกลับยังมีช่องว่าที่ทำมลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลฟ้องผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการนอกประเทศสมาชิก EU ได้ ด้วยเหตุนี้ การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศดังกล่าวจะต้องดูที่มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลฯ ที่ ‘เพียงพอ’ ของประเทศปลายทาง และคำวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานของสหภาพยุโรปที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค หรือ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป ( European Data Protection Board (EDPB)) ซึ่งเรื่องนี้เป็นอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ทำการติดต่อการค้ากับประเทศในสหภาพยุโรป ดูเหมือนว่า สถานการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่มีการติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขของ กฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศและอาจจะต้องรอประกาศหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคต และด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ […]
8 เรื่องจำเป็นที่ Hotel – Hostel ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย PDPA

นับตั้งแต่แมริออทควบรวมกิจการกับ สตาร์วู๊ด ข้อมูลระบบและข้อมูลลูกค้าของโรงแรมก็ถูกบุกรุกและดักฟังโดยแฮคเกอร์เรียบร้อยแล้วเช่นกัน เดือนพฤศจิกายน 2561 วงการโรงแรมปรากฎข่าวใหญ่ คือ ทาง แมริออท ได้เปิดเผยเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลโดยการโดนโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในโรงแรม และโรงแรมในเครือประมาณ 339 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในความเสี่ยง และประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นยุโรปประกาศใช้ GDPR (General Data Protection Regulation) ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลของประชาชนในสหภาพยุโรป และผลจากเหตุการณ์เรื่องอื้อฉาวของการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโรงแรมที่สำคัญ เช่น ข้อมูลรายชื่อ เลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลบัตรเครดิตและธุรกรรมการเงิน ข้อมูลวันเวลาในการเข้าพัก เป็นต้น ทำให้แมริออทโดนสำนักงานคณะกรรมาธิการข้อมูลแห่งสหราชอาณาจักร (ICO) ตั้งค่าปรับจากความผิดฐานละเมิดสูงถึง 124 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ภายหลังทางแมริออทจะออกมายืนยันว่าบริษัทจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 23.77 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของโรงแรมชั้นนำของโลก และปั่นทอนความเชื่อมั่นของลูกค้าอย่างที่ไม่สามารถจะฟื้นฟูได้ง่ายๆ ทั้งเป็นการจุดประเด็นเรื่องมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้าใช้บริการในโรงแรมทั่วโลกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่คำตอบที่ว่า ทำไมธุรกิจโรงแรมและบริการห้องพักแบบต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ‘โรงแรม’ จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ธุรกิจบริการห้องพักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Hotel หรือแบบ Hostel ล้วนต้องดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ดังนั้นในบรรทัดต่อจากนี้จึงขอใช้คำว่า […]
ใครต้องรับผิดชอบ ? หากเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามบทบัญญัติของกฎหมาย PDPA

‘ความรับผิดชอบ’ เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ แต่หากดูที่แก่นความหมายซึ่งเป็นการสนธิของสองคำ คือ รับผิด+โดยชอบ อันหมายถึง ‘หน้าที่’ คือ สิ่งที่ต้องทำ แต่ก็น่าแปลกที่สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ทุกคน หรือทุกองค์กรอยากทำ เพราะมักจะนำไปเปรียบเทียบกับภาระอันยิ่งใหญ่ หรือผลจากการกระทำในเชิงลบที่ต้องมีคนต้องแบกรับ และอาจด้วยเหตุผลนี้ กฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จึงได้กำหนด หน้าที่ ตามมาด้วยความรับผิดชอบสำหรับสถานะต่างๆ ภายใต้การดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดข้อมูลรั่วไหลอันนำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach) และคำถามที่หลายคนอยากรู้คือ ความรับผิดชอบนั้นจะตกอยู่ที่ใคร? แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงความรับผิดชอบตามกฎหมาย PDPA ในกรณีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มาดูความหมายและตัวอย่างของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามของกฎหมาย ซึ่งหมายถึง เหตุการณ์ หรือการกระทำที่นำไปสู่การเก็บรวบรวม เข้าถึง สูญหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการเจตนา หรือเกิดความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ยกกรณีตัวอย่าง เช่น : สถาบันการเงินส่งไปใบแจ้งหนีไปผิดคน โรงพยาบาลส่งผลตรวจสุขภาพไปผิดบ้าน องค์กรโดนโจมตีทางไซเบอร์ ศูนย์ข้อมูลทำงานผิดพลาดจนทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือถูกโจรกรรม การส่งต่อข้อมูลหรือแชร์โดยเจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต พนักงานในองค์กรขโมยข้อมูลลูกค้าไปขายหรือใช้ประโยชน์ส่วนตัว ร้านกาแฟแอบติดกล้องวงจรปิดเพื่อบันทึกภาพลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดการรั่วไหลหรือละเมิดอาจจะมีผลที่ตามมา เช่น […]
สคช. – สพร. – สคส. ผนึกกำลังเพิ่มความเข้มข้นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการยกระดับบุคลากรภาครัฐด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จรดปากกาลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ ระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมต่อการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงส่งเสริมให้ได้รับการประเมินสมรรถนะเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และนางสุนทรีย์ ส่งเสริม จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่วมเป็นสักขีพยาน นายสุรพล กล่าวว่า จากนี้ไป ทั้งสามหน่วยงานจะได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐของประเทศ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ และเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะ พร้อมร่วมจัดทำหลักสูตรเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ (Government Data Protection […]
ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ทำอย่างไรไม่ละเมิดกฎหมาย PDPA

‘ข้อมูลประวัติอาชญากรรม’ ดำเนินการไม่ถูกต้อง ‘นายจ้างอาจติดคุก’ เพราะแม้การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนการ ‘คัดกรอง’ ก่อนการจ้างงาน ทั้งบางธุรกิจหรือสถานประกอบการยังกำหนดเป็นมาตรฐานการควบคุมที่สำคัญและเป็นชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของการให้บริการที่จำเป็นต้องมีมาตรการขั้นสูงในการคัดกรอง เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานด้านการเงิน พนักงานที่ดูแลระบบสารสนเทศ แม่บ้าน ช่างซ่อมบำรุงในอาคาร พนักงานขับรถขนเงิน พนักงานขับรถสาธารณะ หรือพนักงานขับรถส่งอาหาร ฯลฯ แม้กฎหมายจะอนุญาตให้บางธุรกิจหรือบางสถานประกอบการมีสิทธิตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรม หรือขอเอกสารการตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานได้ แต่ไม่ได้อนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติใครก็ได้โดยส่วนตัว เพราะอาจจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลนั้น หรือทำให้เกิดความเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ การที่นายจ้างจะตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครจะต้องดำเนินการโดยการควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยในปัจจุบันเป็นบริการของกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีบริการประชาชนทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยมี 2 วิธี คือ การตรวจสอบด้วยลายพิมพ์นิ้วมือ และการตรวจสอบด้วยชื่อและสกุล ซึ่งนายจ้างจะต้องมีเอกสารสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ นั่นคือ เอกสารความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ […]
PDPA Thailand – MCOT ร่วม MOU เดินหน้าสร้างความปลอดภัยด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA Thailand ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สนับสนุนและสร้างความปลอดภัยด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 – ณ ห้องประชุม 601 อาคาร อำนวยการ 1 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) PDPA Thailand นำทีมโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand และอาจารย์ สุกฤษ โกยอัครเดช Chief of PDPA Consultant and Auditor บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด […]
PDPA Thailand เข้าพบทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในเรื่องประกันภัยทางไซเบอร์กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand และอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ธัมประพาสอัศดร Chief Operation Officer บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด เข้าพบ คุณดรรชนี ศรีอนันต์รักษา ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในเรื่องประกันภัยทางไซเบอร์กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล /*! elementor – v3.10.1 – 17-01-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} PDPA Thailand นำทีมโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand และอาจารย์พงษ์ศักดิ์ ธัมประพาสอัศดร […]
อบรมการจัดทำบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผล (RoPA) บริษัท ป่าตองรีสอร์ทโฮเต็ล จำกัด

อาจารย์สุกฤษ โกยอัครเดช Chief PDPA Consultant and Auditor บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด รับมอบหมายโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA THAILAND เข้าพบผู้บริหารและคณะทำงาน บริษัท ป่าตองรีสอร์ทโฮเต็ล จำกัด เพื่อมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ ปี 2566 พร้อมอบรมการจัดทำบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผล (RoPA) และขอขอบคุณในฐานะผู้ใช้บริการที่ปรึกษาด้าน PDPA ณ โรงแรมป่าตองรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต วันที่ 20 มกราคม 2566 Previous Next