พนักงานคุณพร้อมหรือยัง? ‘การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กร’ เรื่องด่วนที่ธุรกิจต้องพร้อมรับความเสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

พนักงานคุณพร้อมหรือยัง? ‘การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กร’ เรื่องด่วนที่ธุรกิจต้องพร้อมรับความเสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

Core Value หรือ ค่านิยมองค์กรที่เป็นเสมือนกรอบความคิดหลักเพื่อสร้าง Mindset ของคนในองค์กรให้มองไปที่ภาพเดียวกัน ทั้งในบางขณะยังเปรียบเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่างของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรนั้นๆ หรือจะกล่าวแบบนิยายลึกลับก็คล้ายกับ ‘สะกดจิตหมู่’ เพื่อต้องการที่จะสร้างวัฒนธรรมการ ‘ตระหนักร่วม’ ส่วนสำคัญที่แต่ละองค์กรใช้เป็นเชื้อเพลิงในการสร้าง Passion ในการทำงานให้กับทุกคนในองค์กรได้ เช่น ความสามัคคี ความทันสมัย ความเป็นกันเอง ความมีน้ำใจ ความมุ่งมั่น ความมีอิสระทางความคิดและการแสดงจุดยืน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่แต่ละองค์กรต้องมี หากยังต้องทำงานกับมนุษย์ซึ่งไม่ใช่เครื่องจักร 

PDPA เรื่องด่วนที่ธุรกิจต้องเทรนนิ่งพนักงาน

ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ค่านิยม หรือการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจ หรือบริษัทต่างๆ จะต้องเพิ่ม ‘ค่านิยมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร’ เข้าไปด้วย และหากมองในแง่ของกฎหมายและวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้ก็เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น  

 ทั้งนี้ ข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) รวมถึง ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) โดยในที่นี้หมายถึงองค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ หรือบริษัทที่ทำการรวบรวม ใช้ และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสม ทั้งในด้านเทคนิคและอุปกรณ์ ตลอดจนการส่งเสริมความรู้ให้กับพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการวางกรอบแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเพียงพอ เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งจากภายนอก และสาเหตุที่เกิดจากบุคลากรภายในที่ทำงาน

ดังนั้น จะเห็นว่า ภายใต้การเดินหน้าบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หลายองค์กรธุรกิจต่างมีมาตรการด้านต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องต่อกฎหมายใหม่ที่กำลังประกาศใช้

ทว่า กิจกรรมด้านการให้ความรู้พนักงาน การฝึกอบรม และแนวทางปฏิบัติ อาทิ หากเกิดกรณีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลพนักงานในบริษัทควรทำอย่างไร แจ้งใคร จะป้องกันอย่างไร ซึ่งต้องสร้างค่านิยมองค์กรใหม่ ให้พนักงานทุกคนตระหนักว่า ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายคุ้มครอง และเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเมิด แต่หากต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ก็ควรจะมีการขออนุญาตจากเจ้าของไม่นำไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังพบเห็นได้ไม่มากนักในสังคมและสถานประกอบการไทย 

ข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจพึงใช้อย่างระมัดระวัง

ปัญหาแรกของเจ้าของธุรกิจ พนักงานทราบหรือยังว่า ข้อมูลส่วนบุคคล’ เป็นสินทรัพย์ที่กฎหมายคุ้มของความเป็นเจ้าของ และแน่นอนว่า แต่ละบริษัท ย่อมต้องมีข้อมูลพนักงาน ข้อมูลคู่ค้า ข้อมูลลูกค้า ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่สามารถระบุตัวตนบุคคลได้ทั้งทางตรง เช่น ชื่อ รูปถ่าย เลขบัตรประจำตัว เลขบัญชีธนาคาร เลขภาษี ทะเบียนรถ เบอร์มือถือ อีเมล ไอดีไลน์ ไอดีเฟซบุ๊ก ลายนิ้วมือ ม่านตา ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลพันธุกรรม

และที่ระบุได้ทางอ้อม เช่น ที่อยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน IP address, MAC address, Cookie ID วันเกิด เป็นต้น ที่เมื่อประกอบกับข้อมูลอื่นหรือสืบค้นย้อนกลับจะทำให้ระบุตัวตนของเจ้าของได้ โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่าแต่ละบริษัทมีการเก็บข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไว้อย่างมากมายเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร และกิจกรรมทางธุรกิจ

แต่ตามที่ระบุในข้างต้นว่า ภายใต้กฎหมาย PDPA ไม่เพียงมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ แต่ยังมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และมีโทษทางปกครอง ซึ่งผู้ละเมิดอาจจะมีสิทธิ์ติดคุก 1 ปีและค่าปรับสูงสุด 5 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าสินไหมทดแทนกรณีมีการฟ้องร้องเรียกว่าเสียหาย ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ กรณี Big tech ของโลกทั้ง Google และ Facebook ก็เคยโดนโทษปรับเป็นเงินจำนวนมากจากการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป หรือ GDPR(General Data Protection Regulation) มาแล้ว ซึ่ง กฎหมาย PDPA ก็มีบรรทัดฐานเดียวกัน

แนะกำหนดตัวบุคคลเพื่อเป็น ‘เสาหลักด้าน PDPA’ ในบริษัท

ว่ากันตามกฎหมาย PDPA อาจมีหลายธุรกิจที่ต้องมีการแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO (Data Protection Officer) คือต้องเป็นธุรกิจที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล หรือผู้ประมวลผลข้อมูล ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 5 หมื่นราย/ปี หรือมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive data) ไม่น้อยกว่า 5 พันราย/ปี หรือธุรกิจที่มีการรวบรวม ใช้ เผยแพร่ ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นประจำและต้องเนื่อง ซึ่งหากธุรกิจของคุณเข้าเกณฑ์ดังกล่าว ก็ต้องมีการจัดตั้งตำแหน่ง DPO ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

แต่หากเป็นธุรกิจรายขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ยังไม่ถึงขั้นต้องเพิ่มตำแหน่ง DPO แต่มีแนวโน้ม หรือมองว่ามีความสุ่มเสี่ยงและอ่อนไหวต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ก็อาจจะมีการเพิ่มบุคลากรในบางตำแหน่งได้เช่นกัน อาทิ เจ้าหน้าที่ช่วยประสานด้านข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีหน้าที่ในการวางแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในบริษัทให้สอดคล้องกับหลักกฎหมาย และค่านิยมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร รวมทั้งการกำหนดแผนงานป้องกันความเสี่ยง และการดำเนินการในกรณีเกิดการละเมิดซึ่งตามกฎหมายจะต้องแจ้งการละเมิดภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง 

ดังนั้น การมีพนักงานที่มีหน้าที่ในการดูแลและจัดการความเสี่ยงด้าน PDPA จึงมีความสำคัญมากต่อการทำธุรกิจในยุคใหม่ ซึ่งอย่างที่บอกว่าในหลายประเทศทั่วโลกมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาก่อนแล้ว อาทิ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาและได้เกิดกรณีฟ้องร้องเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรธุรกิจหลายๆ ราย และในไม่ช้าภาพเหล่านั้นจะเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย และด้วยเหตุนี้ ย่อหน้าสุดท้ายจึงต้องถามย้ำอีกว่า

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ