ส่อง ‘บริษัทมหาชน’ จัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร เพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ส่อง ‘บริษัทมหาชน’ จัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร เพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ช่วงต้นปีมานี้ มีข่าวบริษัทด้านธุรกิจสื่อสารรายใหญ่ของไทยถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ กฎหมาย PDPA จะต้องแจ้งเหตุละเมิดภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทราบเหตุ ประเด็นนี้ อาจมองได้ว่าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ‘บริษัทมหาชน’ ที่มีการเก็บ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก กำลังตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์ และจากสถิติการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงนับตั้งแต่มีสถานการณ์ COVID-19 มีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ

อย่างไรก็ตาม บริษัทมหาชนยังมีอีกหลายประเด็นที่ ‘อ่อนไหว’ ไม่เฉพาะแค่เรื่อง Cyber Security ทำให้ช่วงเวลาที่ผ่านมาธุรกิจต่างๆ ได้มีการจัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) รวมถึงมีการประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนส่วนบุคคล (Privacy Policy) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA

และถึงแม้จะมีการดำเนินการในข้างต้น แต่ยังมีความเสี่ยงในอีกหลายด้านที่ข้อมูลส่วนบุคคลจะเกิด ‘การรั่วไหล’ อันนำไปสู่การ ‘ละเมิดสิทธิ’ ที่ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลลูกค้า เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ ระบุถึงสิทธิของทุกคนที่จะได้รับความคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทมหาชนที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีข้อมูลส่วนบุคคลอีกมากที่นำไปสู่การละเมิด ทั้งจากความประมาท เช่น กรณีโดนโจรกรรมข้อมูล หรือเกิดการรั่วไหลจากภายใน ทั้งจากความตั้งใจ หรือขาดความเข้าใจ ยกตัวอย่าง เอกสารเผยแพร่ หรือธุรกรรมต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น สัญญาการซื้อขายหุ้น จองหุ้น ประชุมผู้ถือหุ้น ข้อมูลกรรมการ ที่ปรึกษาการเงิน ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการส่งต่อข้อมูลแก่บุคคลที่สาม ก็อาจจะนำไปสู่การละเมิดกฎหมาย PDPA ได้ในหลายกรณี

โดยในที่นี้ เราจึงหยิบยกประเด็นข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทมหาชน ที่มีการเก็บข้อมูลไว้อย่าง ‘หลากหลาย’ และนอกเหนือจากกิจกรรมทางการค้าในรูปแบบปกติ  และมาดูกันว่า มีมิติใดบ้างที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

บริษัท ‘มหาชน’ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้าง

ตามระเบียบ บริษัทมหาชน นอกจากจะต้องมีการยื่นเอกสารแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และนายทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รวมทั้งอาจจะมีการให้ข้อมูลแก่บุคคลที่สาม ยกตัวอย่าง เช่น การคัดเลือกกรรมการ การจัดประชุมผู้ถือหุ้น การส่งต่อข้อมูลให้ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ตลอดจนการทำธุรกรรม และการดำเนินการต่างๆ

กิจกรรมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องจัดเก็บ รวมรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) และข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive data) ของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท ผู้บริหารของบริษัท กรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ผู้มีอำนาจควบคุม ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี ผู้ถือหุ้น นักลงทุน คู่สัญญา ผู้รับผลประโยชน์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามสายโลหิตของผู้รับผลประโยชน์ ผู้ที่มีกรณีพิพาทการฟ้องคดี ตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เกี่ยวข้องในธุรกรรมต่างๆ โดยจะมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ ‘ไม่ได้รับความยินยอม’ เข้าข่ายการละเมิดกฎหมาย PDPA เช่น 

  • มีการข้อมูลส่วนตัวทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล คำนำหน้าชื่อ เพศ วันเดือนปีเกิด อายุหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ภาพถ่ายบุคคล บัญชีธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน การจ่ายเงินปันผล ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมโยงตัวบุคคลได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ได้แก่ ข้อมูลใบหน้าที่สำหรับใช้ในระบบการจดจำใบหน้า (Face Recognition) ลายนิ้วมือ การตรวจสอบข้อมูลการต้องโทษ ประวัติอาชญากรรม ศาสนา เชื้อชาติ ข้อมูลสหภาพแรงงาน และข้อมูลสุขภาพ
  • มีการเก็บข้อมูลเด็ก ในกรณีที่ผู้รับผลประโยชน์ยังเป็นผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงข้อมูลบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • มีการข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เช่น ข้อมูลในโฉนดที่ดิน เอกสารซื้อขาย

เอกสารการแสดงการครอบครอง กรรมสิทธิ์อื่นๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานระบบสารสนเทศ และเว็บไซต์ภายในต่าง ๆ ข้อมูลการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด การบันทึกเสียงสนทนาจากการประชุม ตลอดจนข้อมูลเผยแพร่ทั้งในรูปแบบเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์

*** ดังนั้นจะเห็นว่า ‘บริษัทมหาชน’ มีรายการในการจัดเก็บ ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เฉพาะแค่ ‘ลูกค้า’ อีกเป็นจำนวนมาก และมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากถูกส่งต่อข้อมูลแก่บุคคลที่สาม ยกตัวอย่างกรณีที่เห็นได้บ่อยครั้ง คือ การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องมีหนังสือเชิญประชุมโดยมีการให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งเอกสารที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลผู้ถือหุ้น คือ ชื่อนามสกุล สัญชาติ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เลขทะเบียนผู้ถือหุ้น เป็นต้น

‘บริษัทมหาชน’ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย PDPA

 บริษัทมหาชนที่มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีกฎหมายคุ้มครองและ ‘จำเป็น’ ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 ด้วยเหตุนี้ การจัดเก็บ รวบรวมใช้ และเปิดเผยข้อมูลบุคคลจึงสามารถใช้ฐานการปฏิบัติได้ ดังนี้

1.ฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) : สำหรับการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. และ ข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯที่ออกตามพรบ.หลักทรัพย์ฯ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินการเก็บใช้ข้อมูลบุคคลในบริษัทมหาชนจึงอำนาจตามกฎหมายซึ่งนี้จึงเป็นฐานแรกที่ทุกบริษัทมหาชนใช้เป็นยันต์กันภัยจากการกระทำผิดกฎหมาย PDPA

2.ฐานการปฏิบัติตามสัญญา (Contract) : สัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นอีกฐานการปฏิบัติในการที่บริษัทมหาชนสามารถทำการเก็บ รวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ สัญญาการซื้อขายหุ้น จองหุ้น สัญญาจ้างที่ปรึกษาการเงิน สัญญาจ้างที่ปรึกษาบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน เป็นฐานการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับฐานทางกฎหมาย ทั้งสามารถใช้ร่วมกันได้ 

3.ฐานประโยชน์อันชอบธรรม (Legitimate Interest) : เป็นฐานที่ค่อนข้าง ‘ก้ำกึ่ง’ สำหรับบริษัทมหาชนที่อาจพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามสิทธิโดยชอบธรรม อาทิ ข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุญาตให้จัดเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ เช่นการ เปิดเผยประวัติผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการบริษัท ข้อมูลส่วนบุคคลของ 10 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือข้อบังคับอื่นๆ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือพรบ. หลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ดำเนินการได้ แต่กระนั้น ความชอบธรรมในที่นี้ ยังต้องอ้างอิงตามกรอบข้อบังคับและฐานกฎหมายด้วย

4.ฐานความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (Consent) เป็นอีกฐานที่บริษัทมหาชนสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยความ ‘ยินยอม’ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และหากข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ‘จำเป็น’ ต้องมีการจัดเก็บหรือใช้ ก็ยังสามารถอ้างอิงตามฐานประโยชน์โดยชอบธรรมได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ฐานความยินยอมเป็นฐานที่ค่อนข้าง ‘บอบบาง’ มากที่สุด เนื่องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะให้มีการดำเนินการระงับ แก้ไข ถ่ายโอน หรือเพิกถอนความยินยอมได้โดยง่าย และหากบริษัทมหาชนไม่มีการดำเนินการตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอ ก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA ในทันที เว้นแต่จะมีฐานอื่นรองรับ

 

ทั้งนี้หลายท่านอาจจะตั้งคำถามว่า ประวัติการต้องโทษคดีอาญา หรือการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ในบางกรณีที่บริษัท ‘จำเป็น’ ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติบุคคล อาทิ การคัดเลือกคณะกรรมการ แต่งตั้งที่ปรึกษา ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือธุรกรรมอื่นๆ ที่ต้องตรวจประวัติอาชญากรรมจะต้องใช้ฐานอะไรในการดำเนินการ

คำตอบนี้ในทางกฎหมายระบุว่า ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) ไม่สามารถใช้ฐานสัญญารองรับ ดังนั้นต้องพิจารณาใช้ฐานทางกฎหมายเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินการ และฐานความยินยอมในลำดับถัดมา หรือหากพิสูจน์ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์โดยชอบธรรม ก็สามารถใช้ฐานนี้ได้เช่นกัน แต่ก็ควรจะระมัดระวัง

อย่างไรก็ตาม บริษัทมหาชน ควรมีมาตรการและการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลที่ความปลอดภัยที่เหมาะสม ซึ่งคำว่า เหมาะสม ในที่นี้ไม่ใช่เหมาะสมตามรายได้หรือผลกำไรของกิจการ แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมตาม ความเสี่ยง ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น

ซึ่งบริษัทมหาชน ต้องดำเนินการทั้งทางด้านบุคคลกร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล หรือการละเมิดสิทธิของบุคคลที่บริษัทมีการเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผย โดยอาจจะต้องมีการทำลาย หรือทำข้อมูลให้เป็นนิรนาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงในเบื้องต้น ตลอดจน มีการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยการประเมินความเสี่ยงของข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ควรทำ

และโดยปกติ บริษัทมหาชนต่างๆ จะมีการเก็บและทำลายข้อมูลตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งยังต้องมีการปรับแต่ง แก้ไข และอัปเดตข้อมูลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัย ซึ่งจากบทเรียนของบริษัทด้านสื่อสารที่ถูกโรจกรรมข้อมูล ก็เป็นตัวอย่างสะท้อนได้ดีว่า หลายๆ ธุรกิจ ยังไม่มีความพร้อมมากพอสำหรับด้านนี้

 

อ้างอิงข้อมูล : https://www.asco.or.th/uploads/upfiles/files/TDPG31.pdf

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ