โดนแฮค! ‘ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล’ ธุรกิจควรจัดการอย่างไรตามหลักกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

โดนแฮค! ‘ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล’ ธุรกิจควรจัดการอย่างไรตามหลักกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

Cyber Security หลายธุรกิจอาจจะมองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะของแบบนี้ต้องโดนกับตัวถึงรู้สึก!!!  ทว่าจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล หรือการโดนโจมตีทางไซเบอร์ได้กลายเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก

จากข้อมูลของสำนักงานสืบสวนของสหรัฐอเมริกา (FBI) ระบุสถิติตั้งแต่ช่วง COVID-19 เริ่มระบาดเป็นต้นมา มีคดีอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมีการรายงานเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับ 2 (อันดับ 1 คือ คดีฉ้อโกง) แต่ที่น่าตกใจคือ มีการกระทำผิดเพิ่มขึ้นสูงถึง 300 % เมื่อเทียบกับสถิติช่วงก่อนเกิด COVID-19 ทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าธุรกิจหรือบริษัทต่างชาติจะให้ความสำคัญต่อเรื่อง Cyber Security มากเป็นพิเศษ เพราะไม่เพียงจะเกิดความเสียหายจากการโดน ‘แฮคเกอร์’ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร หรือเทรนด์ที่ฮิตกันในช่วงหลังๆ มานี้ คือการใช้ Ransomware รู้จักกันในชื่อ ‘ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่’ รวมถึงการการใช้อีเมลหรือลิงค์ปลอมเพื่อล่อลวงข้อมูล หรือ Phishing ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า หากธุรกิจใดโดนโจมตี ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะสามารถกู้ข้อมูลคืน แม้แต่จะจ่ายเงินให้แฮคเกอร์ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าแฮคเกอร์จะทำตามข้อตกลง

ดังนั้น หลายๆ ธุรกิจที่เคยโดนโจมตีทางไซเบอร์หากไม่มีข่าวใหญ่โตก็มักจะพยายาม ‘ปกปิด’ เพราะไม่ใช่เรื่องดีงามเลยที่อยู่ๆ ข้อมูลขององค์กร ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลลูกค้าจะถูกนำไปเปิดเผย หรือจำหน่ายใน Dark Web

ประกอบกับภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป หรือ GDPR (General Data Protection Regulation) ที่กำหนดหลักปฏิบัติในกรณีที่บริษัทโดนโจมตี และข้อมูลส่วนบุคคลเกิดการรั่วไหล อาจนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหาย ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวนมาก

นับเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดที่อาจจะพบได้ในประเทศไทยเร็วๆ นี้เช่นกัน เพราะภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act.) ก็มีการกำหนดข้อควรปฏิบัติและบทลงโทษไว้เช่นกัน และมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องนี้ธุรกิจจึงต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ 

 

ตามบทบัญญัติของกฎหมาย PDPA ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน นี้ ในกรณีที่ธุรกิจเกิดการรั่วไหลของข้อมูล ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจบทบาทของตนเองก่อน หากธุรกิจของคุณเป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ก็มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1.จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการปรับปรุงให้อุปกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคต่างๆ อยู่เสมอ และแน่นอนว่าหากไม่มีการจัดการใดๆ ในด้านนี้ แล้วเกิดการละเมิด คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจพิจารณาว่า ‘ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ’

2.ในกรณีที่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่แหล่งอื่น ต้องมีการจัดดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม 

3.มีระบบการตรวจสอบเพื่อลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาการจัดเก็บ หรือมองว่าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป หรือปฏิบัติตามคำร้องของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

4.หากเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแจ้งเหตุแก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใน 72 ชม. นับตั้งแต่ทราบเหตุ แต่หากมองว่าเป็นความเสียหาย ‘ร้ายแรง’ อาจจะต้องมีแผนสำหรับการ ‘เยียวยา’ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไม่ล่าช้า

ในทำนองเดียวกัน แต่สถานะของธุรกิจคุณคือเป็น ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ก็ต้องทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่หากถูกแฮคและข้อมูลเกิดการรั่วไหลขึ้นมา ดังนี้ :

  1. หน้าที่ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยตามคำสั่งจากผู้ควบคุมข้อมูลเท่านั้น
  2. มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และเจ้าของข้อมูลสามารถเข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งแจ้งผู้ควบคุมข้อมูลหากเกิดการละเมิด
  3. จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง

 

ถึงตรงนี้จะสังเกตว่า บทบทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูล และผู้ประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีส่วนสำคัญที่กฎหมายบัญญัติไว้ ‘กว้าง’ พอสมควร อาทิ กรณีที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม โดยคำว่า ‘เหมาะสม’ ในที่นี้อยู่ที่การตีความของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรืออาจต้องรอกฎหมายลูกมารองรับอีกที

อีกกรณีคือนิยามของ ‘ความเสียหายร้ายแรง’ และการ ‘เยียวยา’ ซึ่งเบื้องต้นธุรกิจเองอาจยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างกรณีบริษัทเดินเรือทะเลรายหนึ่ง โดน Ransomware เรียกค่าไถ่ แต่ด้วยเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายชื่อลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงมีการเจรจาจ่ายค่าเสียหายแก่แฮคเกอร์เพื่อประวิงเวลา แล้วให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีเร่งกู้ข้อมูลคืน

เคสนี้กว่าจะกู้คืนสำเร็จก็ใช้เวลา 7 วัน ทั้งยังประเมินความเสียหายได้ยาก คงไม่ต้องพูดถึงการเยียวยา เพราะบริษัทเดินเรืออ้างว่าสามารถกู้คืนได้หมด แต่ภายหลังก็เกิดเป็นคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากข้อมูลลูกค้า ข้อมูลธุรกิจที่มีการนำไปเปิดเผยในเว็บมืดเพื่อเป็นการอวดผลงานของเหล่าแฮคเกอร์ …เรียกว่าฟาดเคราะห์ไปขนานใหญ่เลยทีเดียว!

 

** คำถามคือ กรณีแบบนี้ ธุรกิจจะมีหลักจัดการเพื่อให้การจัดการมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ได้อย่างไร

คำตอบของกรณีศึกษาแบบนี้ อาจจะตอบได้แบบกลางๆ ว่า ในกรณีที่เจ้าของธุรกิจ พบการโจมตีทางไซเบอร์และเกิดการรั่วไหลหรือข้อมูลส่วนบุคคลสูญหาย หากเป็นผู้ควบคุมข้อมูลก็ต้องแจ้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลฯ โดยไม่ชักช้า แต่หากเกิดกับผู้ประมวลผลข้อมูลก็แจ้งไปที่ผู้ควบคุมเป็นอันดับแรก

แต่หากในบริษัทมีตำแหน่ง DPO (Data Protection Officer) หรือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็มอบหมายให้เป็นผู้แจ้งและติดตามความคืบหน้าแก่คณะกรรมการคุ้มครองฯ แต่ก่อนแจ้งควรมีการสรุปความเสียและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย เพราะกฎหมายบอกให้แจ้งไม่เกิน 72 ชม.

ส่วนจะมีการดำเนินการเพื่อต่อรอง หรือกู้ข้อมูลคืนอย่างไรนั้น ก็สุดแล้วแต่กรณีไป แต่โดยส่วนใหญ่ ธุรกิจจะมีการสำรองข้อมูลอยู่เสมอ ประเด็นจึงย้อนกลับมาที่การดำเนินการของธุรกิจว่ามี ‘ความปลอดภัย’ และ ‘เหมาะสม’ เพียงพอจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการโจมตีทางไซเบอร์ที่สถิติเพิ่มมากขึ้นทุกปีหรือไม่

ทั้งนี้ กรณีการโดนโจมตีทางไซเบอร์ก็อาจมีเฉพาะการชดใช้ค่าสินไหม หรือการเยียวยา เพราะภายใต้หลักปฏิบัติของกฎหมาย PDPA คือ ให้บรรดาธุรกิจต่างๆ มีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ‘อย่าระมัดระวัง’ แต่ก็อาจมีอีกหลายๆ ประเด็นที่อาจจะเกิดขึ้นและเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเราจะนำมาเสนอในแง่มุมต่างๆ ต่อไป เพราะอย่างที่ระบุไว้ว่า กฎหมายใหม่นี้ค่อนข้างกว้าง และมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เจ้าของธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจอีกมาก

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ