การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค – จุดสมดุลระหว่างโอกาสทางธุรกิจและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : PDPA Thailand

บทความจุดสมดุลธุรกิจและผู้บริโภค PDPA

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค – จุดสมดุลระหว่างโอกาสทางธุรกิจและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : PDPA Thailand

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค
จุดสมดุลระหว่างโอกาสทางธุรกิจและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค

     เมื่อข้อมูลอยู่บนเศรษฐกิจดิจิทัล ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคกลายเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจหยิบจับมาใช้ประโยชน์ ทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดและประสบการณ์ของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไป รวมทั้งธุรกิจสามารถเอาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคมาใช้ประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

แต่สิ่งหนึ่งที่องค์กรธุรกิจเหล่านี้มักจะไม่ทันได้ตระหนักก็คือว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคมาใช้ให้เป็นประโยชน์นั้น “ความเป็นเจ้าของและสิทธิของผู้บริโภคต่างๆนั้นยังคงเป็นของผู้บริโภคอยู่” ในทางกลับกันหน้าที่และความรับผิดชอบของธุรกิจคือการรับผิดชอบที่จะป้องกันและเคารพสิทธิผู้บริโภค ด้วยการนำของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคมาใช้งานให้เป็นประโยชน์นั้นต้องมีความยุติธรรมและโปร่งใสต่อผู้บริโภคเอง

หลักการพื้นฐานที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างองค์กรธุรกิจกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้บริโภคคือ

องค์กรธุรกิจมีหน้าที่จะต้องปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไม่ใช่เพราะเป็นข้อบังคับข้อผูกพันทางกฎหมายแต่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคที่ทุกคนมี

ดังนั้นประเด็นที่ต้องระวังที่สุดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคมาใช้ก็คือ 

  1. ผู้บริโภครู้ไหมว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เขาให้กับธุรกิจเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้เก็บรักษาและเปิดเผยอย่างไร

  2. ผู้บริโภคยินยอมไหม ที่จะให้ธุรกิจนำข้อมูลเหล่านั้นไปเปิดเผยไปใช้และเก็บรักษาอย่างชัดเจน

  3. เมื่อผู้บริโภคให้และยินยอมแล้ว ข้อมูลส่วนบุคคลของเขานั้นต้องถูกเก็บรักษาโดยธุรกิจอย่างปลอดภัยสูงสุด

ก่อนหน้านี้การนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้ในธุรกิจไม่ได้เกิดจากความเข้าใจร่วมกันของผู้บริโภค
แต่มักจะเกิดจากความเข้าใจขององค์กรธุรกิจฝ่ายเดียวว่าการเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้นั้นสามารถทำได้ แต่ในปัจจุบันความตระหนักของผู้บริโภคในสิทธิของตนเองนั้นสูงขึ้น “องค์กรธุรกิจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสร้างสมดุลที่ถูกต้องระหว่างการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับความสามารถในการเคารพสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น หากองค์กรธุรกิจใดที่ไม่สามารถสร้างสมดุลที่ถูกต้องได้ธุรกิจนั้นมักจะเป็นธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จในโลกยุคปัจจุบัน”

องค์กรธุรกิจสามารถหาแง่มุมที่เป็นประโยชน์และแสดงออกอย่างชัดเจนต่อผู้บริโภคว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลของเขาเหล่านั้นมาใช้เป็นไปเพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาใช้เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับสินค้าและบริการ เช่น การนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมความชอบและความพึงพอใจ ถ้าธุรกิจแสดงให้เห็นได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรักษานั้นเอามาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะยินยอมในการที่จะนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ให้กับทางธุรกิจ เช่น การเก็บข้อมูลเมื่อผู้บริโภคใช้บริการร้านอาหาร ทำให้ร้านอาหารสามารถสร้างสรรค์เมนูที่ผู้บริโภคพึงพอใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลการแพ้อาหาร ทำให้ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลการแพ้อาหารทุกครั้งที่ไปใช้บริการ จะทำให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการบ่อยขึ้น

หรือแม้แต่การสื่อสารโดยคำนึงถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งขององค์กรธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภคก็จะทำให้การส่งข้อความโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคนั้นลดลง และลดการติดต่อสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญกับผู้บริโภคลง เช่น ควรลดการโทรเพื่อเสนอขายสินค้าที่น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้บริโภคเหล่านั้นโดยผู้บริโภคไม่ยินยอม

ในทางกลับกันองค์กรธุรกิจที่ล้มเหลวในการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้บริโภคในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะเป็นองค์กรธุรกิจที่มีความล้มเหลวในการสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคและในที่สุดก็จะประสบความล้มเหลวในการสร้างความน่าเชื่อถือในตัวธุรกิจเอง ทั้งนี้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคที่สำคัญที่สุดก็คือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคเหล่านั้นเอง เหตุการณ์สำคัญๆหลายๆเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการจัดการในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรในที่สุด

เมื่อผู้บริโภคไม่มีความเชื่อมั่นในการรักษาข้อมูลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของธุรกิจนั้นๆผู้บริโภคก็จะค่อยๆลดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับธุรกิจนั้นไปด้วย การลดการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลให้กับธุรกิจนั้นก็จะส่งผลทำให้ความสามารถในการทำความเข้าใจผู้บริโภคและพัฒนาธุรกิจหรือบริการให้แก่ผู้บริโภคนั้นทำได้แย่ลง และเมื่อการพัฒนาทำได้แย่ลงผลของมันก็จะส่งผลต่อผลประกอบการในที่สุด

จะเห็นได้ว่าด้วยแนวโน้มของผู้บริโภคยุคใหม่ที่คำนึงถึงความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการที่ดีขึ้นจากการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลของตน ขณะเดียวกันก็พยายามปกป้องและรักษาสิทธิต่อข้อมูลของตนที่ตนเองมีอยู่ บีบให้ธุรกิจจำต้องมีกลยุทธ์ด้านความเป็นส่วนตัวในฐานะส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม ปฎิบัติได้จริง และที่สำคัญต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคให้ได้ด้วย

ในบทความลำดับต่อไปผมจะยกตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสมดุลย์ระหว่างการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการพัฒนาธุรกิจและขณะเดียวกันก็ยังเคารพสิทธิของผู้บริโภคอย่างครบถ้วน

Share :