กฎหมาย PDPA ในมุม ‘ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่’ สิ่งที่ร้านค้าปลีก และผู้ค้าออนไลน์ควรรู้ว่าจะต้องแต่งตั้ง DPO หรือไม่?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

กฎหมาย PDPA ในมุม ‘ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่’ สิ่งที่ร้านค้าปลีก และผู้ค้าออนไลน์ควรรู้ว่าจะต้องแต่งตั้ง DPO หรือไม่?

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ก่อนที่เราจะบอกถึงเหตุผลและความสำคัญของการมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO (Data Protection Officer) ซึ่งเป็นคนที่จะมาดูแลให้บริษัทดำเนินการได้ถูกต้อง และป้องกันความเสี่ยงจากการทำผิดกฎหมาย หรือเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  เบื้องต้น จะต้องเข้าใจรูปแบบและกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เสียก่อน

ทั้งนี้หากแยกประเภทของ ‘ธุรกิจค้าปลีก’ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยแบ่งตามรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ สามารถระบุประเภทได้ดังนี้

1.ร้านโชห่วย หรือร้านค้าปลีกรายย่อยที่อยู่ตามตรอกซอกซอย หรือตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ และถือว่ากิจการโชห่วยถือว่าเป็นกิจการที่มีมานมนาน แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งรูปแบบและสินค้า รวมทั้งบริการที่มีความทันสมัยมากขึ้น กระนั้นแม้จะมีการพัฒนาหน้าตาไปมาก แต่ยังอยู่ในกรอบการดำเนินกิจกรรมแบบเดิม คือการซื้อสินค้าราคาส่งมาขายปลีกแก่คนทั่วไป

2.ร้านสะดวกซื้อ พัฒนาการค้าปลีกที่ได้ปรับรูปแบบจากโชห่วยแบบเดิมไปสู่ร้านสะดวกซื้อที่เน้นขายสินค้าในชีวิตประจำวันให้บริการแบบ 24 ชม.และมีเพิ่มบริการบางอย่างที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น บริการด้านธุรกิจกรรมเงิน จ่ายบิลค่าบัตรเครดิต สินเชื่อ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฝาก-ถอนเงิน โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร จองตั๋วงานแสดงดนตรี รวมทั้งมีการจัดทำระบบสมาชิกเก็บข้อมูลลูกค้า อาทิ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์มือถือ อีเมล หมายเลขบัตรประชาชน เพื่อกิจกรรมด้านการตลาด และการบริการส่งสินค้าแบบ Delivery รวมถึงมีการจัดเก็บข้อมูลคู่ค้าที่เป็น Supplier ส่งสินค้ามาขายในร้าน  

3.ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าในชีวิตประจำวัน และอาหารแบบต่างๆ และมีบริการที่คล้ายกับร้านสะดวกซื้อแต่อาจจะมีพื้นที่มากกว่า บางแห่งตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือแยกมาเปิดเดี่ยวๆ (Stand-Alone) ทำให้ค้าปลีกประเภทนี้นอกจากจะมีบริการด้านธุรกรรมการเงิน การจัดทำระบบสมาชิก บริการ Delivery และจัดเก็บข้อมูลซัพพลายเออร์ที่ส่งสินค้ามาขายในร้าน แต่ด้วยการที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมีพื้นที่มากกว่าร้านสะดวกซื้อ (บางแห่ง) จึงยังมีการเปิดเช่าพื้นที่แก่ผู้ค้าภายนอก และจัดเก็บข้อมูลพนักงานจำนวนมากด้วย และอาจยังมีระบบรักษาความปลอดภัยและบริการจอดรถ

DPO in Action PDPA Thailand อบรม DPO

4.ห้างสรรพสินค้า หรือที่หลายท่านเรียกกันสั้นๆว่า ห้าง หมายถึงศูนย์รวมของสินค้าแทบทุกประเภท ตั้งแต่สินค้าทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงสินค้าอื่นๆ อาทิ สินค้าแฟชั่น ร้านหนังสือ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านยา ร้านอุปกรณ์ไอที ร้านอุปกรณ์สำนักงาน ธนาคาร ร้านทอง ร้านเกม ของที่ระลึก เครื่องดนตรี สินค้าไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ซึ่งแม้ห้างบางแห่งจะชูจุดเด่นที่แตกต่างกัน แต่ยังคงรูปแบบบริการแบบ ครบจบในที่เดียว จึงทำให้ค้าปลีกประเภทนี้มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า คู่ค้า-คู่สัญญา ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลการเงิน จัดทำระบบสมาชิก และบริการ Delivery ทั้งมีการวางระบบรักษาความปลอดภัย บริการที่จอดรถ และบันทึกข้อมูลทะเบียนรถของลูกค้าที่มาใช้บริการ

5.คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านค้าปลีกแบบ Stand-Alone ที่เน้นจุดขายเฉพาะเช่น สินค้าไลฟ์สไตล์ ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ธนาคาร ร้านทอง ร้านยา อุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ อาจจะเรียกว่าเป็นการย่อส่วนต่างๆของห้างสรรพสินค้าให้เป็นแบบ เฉพาะส่วน แต่จะมีการดำเนินกิจกรรมแบบเดียวกับห้าง โดยมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า คู่ค้า-คู่สัญญา ข้อมูลพนักงาน บริการธุรกรรมการเงินแบบต่างๆ รวมถึงบางมีการจัดทำระบบสมาชิกและบริการ Delivery มีระบบรักษาความปลอดภัย บริการที่จอดรถ และบันทึกข้อมูลทะเบียนรถ

6.ร้านค้าออนไลน์ ค้าปลีกสมัยใหม่ที่เติบโตและได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะมีทั้งแบบขายหน้าร้านและพ่วงบริการขายออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ เน้นขายสินค้าหลากหลาย หรืออาจจะขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่รูปแบบการดำเนินกิจกรรมของร้านยังคงคล้ายคลึงกับค้าปลีกทั่วไป คือ มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าแก่ธุรกิจขนส่ง และบางร้านมีการจัดทำระบบสมาชิกเพื่อกิจกรรมด้านการตลาดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เป็นธุรกิจที่มีการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เป็นจำนวนมาก

 

 

สิ่งใดบ้างที่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA และอาจต้องแต่งตั้ง DPO เพื่อให้ดำเนินการอย่างถูกต้อง

 

ในที่นี้ใช้คำว่า ค้าปลีกสมัยใหม่ เนื่องจากกิจกรรมของร้านค้าปลีกในปัจจุบันได้มีการปรับตัวตามสถานการณ์และพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค จึงเป็นไปได้ยากที่จะระบุว่าร้านค้าปลีกแบบใดบ้างเสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA แต่ขอระบุถึงกิจกรรมที่ค้าปลีกได้มีการดำเนินการที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ และอาจจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO หากมีกิจกรรมที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้  

  1. บันทึกภาพบุคคลนิ่ง หรือติดกล้องวงจรปิด CCTV โดยไม่ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือแจ้งว่าพื้นที่ดังกล่าวได้มีการบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน หรือแม้แต่ ทะเบียนรถ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามรถระบุตัวบุคคลได้ เข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA และโดยส่วนใหญ่เรามักจะเห็นว่าร้านค้าปลีกมีการบันทึกภาพไว้มากมาย ทำให้กิจกรรมนี้ถือว่าละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

 

2. จัดทำระบบสมาชิก โดยทั่วไปจะมีการขอการข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่ชื่อ –นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หมายเลขบัตรประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) จะต้องขอความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล รวมทั้งต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ประมวลผล หรือนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยแก่บุคคลที่สามให้แก่เจ้าของข้อมูลทราบ และที่สำคัญเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้เก็บ ใช้หรือเปิดเผย หรือการขอเข้าถึงสิทธิให้แก้ไข ถ่ายโอน หรือเพิกถอนยอมความยินยอมได้และต้องทำได้ง่าย

3. Omni Channel เป็นรูปแบบของการผสานระว่างช่องทางค้าปลีกออฟไลน์ และค้าปลีกออนไลน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขาย ซื้อซ้ำ และ Loyalty Customers อย่างเช่น การให้ลูกค้ากรองข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครสมาชิกอาจจะทำที่หน้าร้าน หรือผ่านช่องทางออนไลน์เช่น Facebook, Website, LINE, Email, SMS เพื่อจองหรือการเข้าไปรับสินค้า คูปองส่วนลด หรือสินค้าของแถมอื่นๆ ที่เพิ่มเติมจากการทำระบบสมาชิกคือ ร้านค้าปลีกยังทราบวันเวลาที่ลูกค้าจะมาที่ร้าน มีข้อมูลธุรกรรมการเงิน เลขบัตรเครดิตรวมทั้งมีการติดตามผล และนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อกิจกรรมด้านการส่งเสริมการขายและการตลาดอื่นๆ หรือการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าผ่านช่องทาง Delivery ทั้งอาจมีการส่งต่อข้อมูลลูกค้าให้กับร้านค้าสาขาอื่น แบรนด์อื่น ที่เข้าข่ายส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่สามโดยเจ้าของข้อมูลไม่เพียงไม่ทราบว่าเอาไปทำอะไรบ้าง แต่ยังส่งต่อข้อมูลและเฝ้าติดตามพฤติกรรมซึ่งเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามบัญญัติในกฎหมาย PDPA

4. บริการ Delivery เป็นที่ทราบดีว่าร้านค้าปลีกในปัจจุบันมีบริการส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยที่ลูกค้าเองไม่ต้องมารับที่ร้าน ไม่ว่าจะเป็นแบบส่งด่วน Delivery ผ่านแอปพลิเคชัน หรือช่องทางที่ร้านค้าพัฒนาขึ้นเอง ส่งสินค้าผ่านผู้ให้บริการขนส่งแบบ Express หรือผ่านระบบไปรษณีย์ และไม่ว่าจะรูปแบบใดก็เข้าข่ายเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามบัญญัติของกฎหมาย PDPA ทั้งยังมีการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สาม ซึ่งเสี่ยงต่อการละเมิดได้ง่ายหากไม่มีการจัดการที่รัดกุมและเหมาะสมกับความเสี่ยง

5 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพลูกค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่บางแห่งยังมีการเก็บข้อมูลการซื้อยา การแพ้ยา แพ้สารเคมี หรือแพ้อาหาร ที่เข้าข่ายการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) โดยบัญญัติของกฎหมาย PDPA จะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นเหตุจำเป็นและชอบโดยกฎหมาย ที่สำคัญคือเจ้าของข้อมูลจะต้องทราบและให้ความยินยอมผ่านช่องทางใด ช่องทางหนึ่งอย่างชัดเจน

6. จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบดีว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในปัจจุบันเน้นการทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยการจัดเก็บ ประมวลผลและเฝ้าติดตามพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้มีความจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA และมี ความเสี่ยงสูง ที่ข้อมูลที่จัดเก็บหรือประมวลผลจะนำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

 

ทั้งนี้ตามนิยามของกฎหมาย PDPA ที่ระบุถึงขอบเขตของ ข้อมูลจำนวนมาก คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีการจัดเก็บข้อมูลบุคคลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนมากกว่า 5 หมื่นราย หรือมีข้อมูลอ่อนไหว(Sensitive Data)  มากว่า 5 พันรายการ และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เข้าเกณฑ์นี้จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลหรือ DPO

ด้วยข้อมูลที่เราหยิบยกและนำมาแจกแจงทั้งหมด จะเห็นว่าธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (ยกเว้นโชห่วย) มีความสุ่มเสี่ยงในหลายด้านที่ข้อมูลส่วนบุคคลจะเกิดการรั่วไหลและนำไปสู่การละเมิด รวมทั้งบางกิจกรรม กฎหมายระบุว่าต้องดำเนินการอย่าง ถูกต้อง และเหมาะสมกับความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้ ค้าปลีกสมัยใหม่อาจจะมีความจำเป็นต้องแต่งตั้ง DPO ผู้ที่จะมามาแนะนำเพื่อให้สามารถแน่ใจว่าการดำเนินกิจกรรมค้าปลีกและกิจกรรมการด้านการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ ได้ทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามบทบัญญัติของกฎหมาย PDPA

ขณะที่ในมุมของผู้ค้าออนไลน์รายย่อย หรือผู้ค้าออนไลน์ที่ขายผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอาจจะไม่เข้าเกณฑ์นี้ แต่เนื่องจากหากผู้ค้านั้นยังเป็นผู้ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะต้องให้ความใสใจเรื่องกฎหมาย PDPA เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดกฎหมายที่อาจจะเพราะความประมาทเลินเล่อ หรือไม่ทราบ เนื่องจาก PDPA ยังเป็นกฎหมายใหม่ที่รอการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ และภายใต้บรรทัดฐานใหม่นี้ ข้อมูลส่วนบุคคลจึงควรเก็บเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลัดกระดุมเม็ดแรกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยแนวคิด Privacy by Design