การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษตามหลัก Common Law Duty of Confidence

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษตามหลัก Common Law Duty of Confidence

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: บุญญรัตน์  โชคบันดาลชัย

สถาบัน: มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปี: 2561

 

บทคัดย่อ: การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลเพื่อให้บุคคลมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตส่วนตัวโดยปราศจากการแทรกแซงจากผู้อื่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศอังกฤษมีวิวัฒนาการโดยอาศัยหลัก Common law duty of confidence ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานว่าบุคคลผู้รับข้อมูลมีหน้าที่รักษาความไว้วางใจที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลได้ให้ไว้กับตนดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลจึงเป็น

 

การกระทำผิดหน้าที่ที่มีต่อความไว้วางใจของบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลการศึกษากฎหมายของประเทศอังกฤษพบว่าองค์ประกอบความผิดของการกระทำผิดหน้าที่ที่มีต่อความไว้วางใจมีสามประการคือ (1) ข้อมูลที่ถูกนำมาสื่อสาร จะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณลักษณะสำคัญที่สมควรจะต้องเก็บรักษาเป็นความลับ กล่าวคือข้อมูลจะต้องยังไม่ถูกเผยแพร่ไปยังสาธารณชนจำนวนมาก หรือตกเป็นข้อมูลสาธารณะ (2) ข้อมูลที่ถูกนำมาสื่อสาร จะต้องถูกดำเนินการโดยบุคคลผู้มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาข้อมูลหรือรักษาความไว้วางใจของบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลว่ามีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องรักษาความไว้วางใจต่อกันหรือไม่ (3) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์เป็นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตและก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ให้ข้อมูล นอกจากนั้นยังมีข้อยกเว้นความรับผิดในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Link เนื้อหา: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/152613

Link file: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawnujournal/article/view/152613/118693

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลัดกระดุมเม็ดแรกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยแนวคิด Privacy by Design