ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างความยินยอมและความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างความยินยอมและความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: เฉลิมรัช จันทรานี

สถาบัน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี: 2566

 

บทคัดย่อ: ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องสามารถอ้างอิงฐานทางกฎหมายอย่างน้อยฐานใดฐานหนึ่งตามที่กำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ฐานความยินยอมอันมีสถานะเป็นบทหลัก และฐานทางกฎหมายอื่น ๆ อีก 6 ฐาน รวมถึงฐานความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาอันมีสถานะเป็นบทยกเว้น โดยในการปรับใช้ฐานทางกฎหมายดังกล่าว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องเริ่มต้นพิจารณาจากฐานทางกฎหมายอื่น ๆ นอกเหนือจากฐานความยินยอม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อยกเว้นของความยินยอมก่อนเสมอ เช่น หากกรณีมีนิติสัมพันธ์ในลักษณะของสัญญาระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นการอันจำเป็นต้องกระทำเพื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวในทางภาวะวิสัย ซึ่งโดยหลักต้องไม่รวมถึงกรณีที่มีการกำหนดให้เป็นหน้าที่ตามสัญญาของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการให้ความยินยอม ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลก็สามารถอาศัยฐานความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาเป็นฐานในการดำเนินการดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น กรณีของการให้บริการระบบสมาชิกซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้จัดให้มีข้อตกลงและเงื่อนไขสำหรับการให้บริการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และกรณีของการทำสัญญาว่าจ้างนักแสดงหรือนางแบบเพื่อให้มาปรากฏตัวในสื่อที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากกรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งไม่มีฐานทางกฎหมายอื่นใดที่จะสามารถปรับใช้แก่กรณีได้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจมีความจำเป็นต้องขอความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น กรณีของการขอความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมจากความยินยอมที่ได้รับตามหนังสือให้สิทธิในภาพถ่ายของบุคคล และหนังสือให้ความยินยอมในการวิจัย เป็นต้น โดยความยินยอมดังกล่าวจะต้องเป็นความยินยอมที่ชัดแจ้ง ซึ่งผู้ให้ความยินยอมได้รับทราบข้อมูลที่จำเป็นอย่างครบถ้วน อีกทั้งเป็นความยินยอมที่ให้โดยอิสระ เช่น โดยปราศจากเงื่อนไขในการให้ความยินยอมสำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าทำสัญญา ซึ่งรวมถึงการให้บริการด้วย

Link เนื้อหา: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/261807

Link file: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/261807/177766

บริการของเรา

PDPA Consultant

บริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญ

PDPA Audit

ให้คำปรึกษา ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบการทำงาน กระบวนการบริหาร การจัดการ รวมถึงอบรมบุคลากรภายในองค์กรอย่างครบวงจร

DPO Services

บริการด้านเจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO แก่คณะทำงานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DC) หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DP) รวมถึงพนักงานภายในองค์กร

PDPA E-learning

หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบเนื้อหาความรู้ด้าน PDPA อย่างครบถ้วนและครอบคลุม เข้าใจง่ายช่วยให้องค์กรเข้าใจPDPA อย่างง่ายดาย สะดวกประหยัดเวลา

PDPA Public Training

จัดอบรมและ Workshop กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเจาะลึก ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในดำเนินงานภายใต้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง

PDPA Inhouse Training

บริการอบรมภายในด้วยหลักสูตรบรรยาย และ workshop ที่ออกแบบเฉพาะองค์กรของคุณ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล