ข่าวสาร/บทความ

เรียบเรียงโดย :คุณสถาพร ฉายะโอภาสประธานจังหวัดนครนายก สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ที่ประกาศใช้เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันองค์กรธุรกิจ หรือ หน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล หากองค์การ หรือหน่วยงานละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมาย PDPA มีความเสี่ยงจากการรับโทษร้ายแรงทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในองค์กร ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการ ความปลอดภัยของข้อมูล และการนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ในกระบวนการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับระบบบริหารและจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management System  (CRM)) มีกระบวนการเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานในองค์กร เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริการ พนักงานขาย Call Center รวมถึงพนักงานขายออนไลน์ ที่ต้องนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า มาใช้ในการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อผลทางธุรกิจให้เติบโต ยิ่งมีการเก็บ ใช้ และประมวลผลข้อมูลมากเท่าไร การกำกับดูแล การบริหารข้อมูล รวมถึงการให้ความสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การนำไปใช้งานเท่าที่จำเป็น และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับระบบบริหารและจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) จัดเก็บ ตัวอย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์, อีเมลส่วนตัว, ที่อยู่ปัจจุบัน, ข้อมูลสถานที่ทำงาน, Line ID, Facebook, ข้อมูลทางการเงิน, เลขบัตรประชาชน, รวมถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งหากมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล แล้วเกิดมีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการฟ้องร้องดำเนินคดี ไม่ว่าจากหน่วยงานไหน
     จากบทความ Link ได้พูดถึง DPO พอสังเขปแล้วว่าคือใคร มีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมี ทั้งโทษทางปกครองหาก ฝ่าฝืน หากเราคิดต่อว่าแล้วถ้าองค์กรต้องตั้ง DPO ควรตั้งรูปแบบไหนดี? จ้างคนนอกทำแทนได้หรือไม่? บทความนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้หากว่ามีกฎหมายลูกออกตามมาในภายหลัง บุคคลเดียว หรือ คณะบุคคลดี?      ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจน ว่าจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นบุคคลเดียวหรือเป็นคณะบุคคล ดังนั้น การที่จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงสามารถแต่งตั้งเป็นบุคคลเดียวหรือเป็นคณะบุคคลได้ตามแต่ความเหมาะสมขององค์กร ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียตามตารางข้างล่าง   DPO คนเดียว DPO เป็นคณะทำงาน ข้อดี บุคคลเดี่ยวสามารถดำเนินการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างรวดเร็ว การตัดสินใจนั้นมีความแม่นยำและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเนื่องจากมีบุคลกรจากหลายแผนกที่มีความชำนาญมาช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจ เนื่องจากมีผุ้เชี่ยวชาญหลาย ๆด้านมาช่วยพิจารณาให้สอดคล้องกับธุรกิจขององค์กร ข้อด้อย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลหลากหลายด้าน การดำเนินการที่อาจจะมีความล่าช้ากว่าการมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นบุคคลเดียวเนื่องจากจำเป็นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหลาย ๆด้าน ก่อนถึงการตัดสินใจ      จากข้อเปรียบเทียบเห็นได้ว่า DPO ที่เป็นบุคคลคนเดียว ค่อนข้างจะเหมาะสมกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก หรือองค์กรที่ไม่มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้าง หรือกระบวนการ ซึ่งการดำเนินการบุคคลเดียวจะดีกว่า แต่ถ้าองค์กรนั้นมีลักษณะที่มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้างหรือ องค์กรมีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญหลาย ๆด้านในการขับเคลื่อนองค์กร การที่ DPO เป็นคณะบุคคลย่อมมีความเหมาะสมกับธุรกิจและรูปแบบขององค์กรมากกว่า แม้จะมีข้อด้อยในการดำเนินการด้านการตอบสนองค่อนข้างล่าช้ากว่ารูปแบบคนเดียวก็ตาม คนนอกได้หรือไม่?       เป็นคำถามต่อมา ให้คนนอกรับบาทเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO ได้หรือไม่ หรือไม่ ซึ่งหลาย ๆองค์กรให้เหตุผลว่า จะเกิดปัญหาเรื่องทรัพยากรบุคคล คือต้องจัดหาจัดจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อมาทำหน้าที่ตำแหน่งนี้ หรือบุคลากรที่มีอยู่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ประเด็นนี้ ในปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่สวนบุคคล รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ ปัจจุบัน (มกราคม 2566) ยังไม่มีการกำหนดบุคคลที่จะเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น การที่องค์กรหรือหน่วยงานจะจ้างบุคคลภายนอกเพื่อให้มาดำเนินการแทน ย่อมสามารถได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ให้บริการ DPO Outsource ทั้งนี้องค์กรก็ต้องเลือกองค์กรที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน โดยการจ้าง Outsource จะมีข้อดีและข้อด้อย ดังนี้  
หลังการมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection   Act : PDPA) เป็นผลให้ทุกหน่วยงานเร่งปฏิบัติบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งการจัดทำประกาศความเป็นส่วนตัว การขอความยินยอม การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ยังมีขอบเขตการบังคับใช้ถึงหน่วยงานราชการด้วย ซึ่งการที่จะพิจารณาว่าหน่วยงานราชการได้อยู่ภายใต้บังคับของ PDPA หรือไม่นั้น ต้องไม่ใช่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ  ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์ หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ PDPA ซึ่งการปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎมหายฉบับนี้นั้นจะต้องพิจารณาว่ามีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วหรือไม่ หากใช่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎมายว่าด้วยเรื่องนั้น ๆ โดยต้องนำ PDPA มาปฏิบัติเพิ่มเติมในบางส่วน ปัจจุบันการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐจะอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (Official Information Act : OIA) ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปที่หน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับดังกล่าวมีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิในทางการเมืองได้ และเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เป็นการที่ให้อำนาจหน่วยงานราชการในการที่จะสามารถเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานต่อสาธารณะได้ ซึ่งข้อมูลนั้นครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย การบังคับใช้ของ PDPA นั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ผู้ควบคุมข้อมูลห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่มีฐานทางกฎหมายอื่นมารองรับ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีความต่างกันในวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับของหน่วยงานภาครัฐจึงต้องพิจารณาถึงขอบเขตการบังคับใช้ของกฎหมาย คือ OIA แม้จะเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วไปกับหน่วยงานราชการ แต่การบังคับใช้นั้นไม่มีขอบเขตรวมไปถึงภาคเอกชนด้วย ซึ่ง PDPA เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า OIA เป็นกฎหมายเฉพาะที่บังคับใช้กับหน่วยงานราชการเท่านั้น นำไปสู่การที่หน่วยงานราชการเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติตาม PDPA คือ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหน่วยงานราชการต้องดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับ PDPA ด้วย แม้ในเรื่องเหล่านี้จะมีการกำหนดไว้ใน OIA แล้วก็ตาม กล่าวคือ หาก OIA กำหนดอย่างใดไว้ หน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับดังกล่าว แล้วค่อยนำส่วนที่นอกเหนือจาก OIA แต่กำหนดไว้ใน PDPA ปฏิบัติเพิ่มเติม แต่ในส่วนที่กฎหมายทั้ง 2 ฉบับเขียนไว้ในเรื่องเดียวกัน ก็ต้องบังคับในส่วนนั้นให้เป็นไปตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ และในกรณีเกี่ยวกับการร้องเรียน อำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญออกคำสั่งเพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตาม PDPA ในกรณีที่กฎหมายเฉพาะนั้นไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องเรียน หรือกรณีที่กฎหมายเฉพาะนั้นมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามกฎหมายนั้นออกคำสั่งเพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่ไม่เพียงพอเท่ากับอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตาม PDPA และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลผู้เสียหายยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั่วโลก นัยหนึ่งเพื่อป้องปรามการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นผลประโยชน์โดยใช้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ อย่างเกินขอบเขต และการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ขณะที่อีกนัยหนึ่งจะเห็นว่าเป็นกติกาการค้ารูปแบบเดิม ๆ ที่ถูกเพิ่มเติมด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อสร้าง ‘มาตรฐานการค้ายุคใหม่’ และอาจถูกมองว่าเป็นการกำหนด ‘กติกาการค้า’ หมายความว่าผู้ที่จะร่วมเล่นในตลาดเดียวกันจะต้องมีกติกาที่เหมือนกัน หรืออย่างน้อยต้องอยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณีระเบียบและหลักเกณฑ์การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก EU หรือองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากในสหภาพยุโรป รวมถึงเขตเศรษฐกิจยุโรป (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) ซึ่งมีประเด็นว่าการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สาม อาทิ สหรัฐอเมริกา ที่ถึงแม้จะมีการออกหลักเกณฑ์ที่ทำให้สามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้ แต่หลักเกณฑ์ เหล่านั้นกลับยังมีช่องว่าที่ทำมลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลฟ้องผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการนอกประเทศสมาชิก EU  ได้ ด้วยเหตุนี้ การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศดังกล่าวจะต้องดูที่มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลฯ ที่ ‘เพียงพอ’ ของประเทศปลายทาง และคำวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานของสหภาพยุโรปที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค หรือ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป ( European Data Protection Board (EDPB)) ซึ่งเรื่องนี้เป็นอุปสรรคทางการค้าที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ทำการติดต่อการค้ากับประเทศในสหภาพยุโรป ดูเหมือนว่า สถานการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่มีการติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขของ กฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศและอาจจะต้องรอประกาศหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคต และด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ ผู้ประกอบการที่มีการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ หรือมีสาขาที่ดำเนินการในต่างประเทศ และจำเป็นต้องส่งข้อมูลไปยังประเทศที่สาม ควรจะต้องทำความเข้าใจในประเด็นนี้อย่างละเอียด ทั้งการโอนและรับข้อมูลฯ /*! elementor – v3.11.4 – 12-03-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} /*! elementor – v3.11.4 – 12-03-2023 */ .elementor-heading-title{padding:0;margin:0;line-height:1}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title[class*=elementor-size-]>a{color:inherit;font-size:inherit;line-height:inherit}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-small{font-size:15px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-medium{font-size:19px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-large{font-size:29px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xl{font-size:39px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xxl{font-size:59px} ดูกันชัดๆ PDPA กับเงื่อนไขในการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ กรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ‘ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล’ ไปยังต่างประเทศ
   ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องราวที่ทำเอาหัวใจแฟน ๆ นักเตะทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติฝรั่งเศสลุ้นกันเป็นอย่างมาก เพราะสองสตาร์ดังจากสโมสรปารีส แซ็ง แฌร์แม็ง กัปตันผู้เป็นทุกอย่างของทัพฟ้าขาว “ลิโอเนล เมสซี่” และว่าที่แข้งซุป’ตาร์เบอร์ 1 ของโลกคนต่อไปจากทัพตราไก่อย่าง “คิลิยัน เอ็มบัปเป้” ได้มาเปิดศึกสร้างประวัติศาสตร์ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด  โดยทีมชาติอาร์เจนตินาคว้าแชมป์โลกหนนี้ไปครองด้วยการชนะการดวลจุดโทษ ซึ่งอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานนี้ไม่ได้อยู่ที่การรับถ้วยของเมสซี่แต่เพียงเท่านั้น เพราะเขากลับได้ใจคนรักครอบครัวไปเต็ม ๆ เมื่อ “ลิโอเนล เมสซี่” ที่ได้ชื่อว่าเป็นแข้งที่เก่งกาจที่สุดในโลกด้วยรางวัลบัลลงดอร์ 7 สมัย ยังต้องรับบทช่างภาพจำเป็นถ่ายรูปให้ภรรยาที่ชูถ้วยแชมป์ “ฟุตบอลโลก 2022 เป็นภาพที่เห็นแล้วก็สร้างความประทับใจให้กับใครหลายคน แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/sport/worldcup/2581460      วันนี้เราจะมาเปิดประเด็นถึงเรื่องการถ่ายภาพในสนามกีฬา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นกีฬาใด ๆ หรือแม้กระทั่งในที่สาธารณะก็คงหลีกหนีไม่พ้นเรื่องของการถ่ายภาพและวิดีโอเนื่องจากตอนนี้ในประเทศไทยมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมาแล้วตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 แต่ก็มีข้อที่ทำให้ถกเถียงเป็นประเด็นอยู่มาก เรื่องของการถ่ายภาพติดบุคคลอื่นในที่สาธารณะว่าสามารถทำได้หรือไม่ ผิด PDPA หรือไม่? ก่อนอื่นผู้อ่านทุกท่านต้องเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนโดยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นคือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, ข้อมูลทางการเงิน, เชื้อชาติ, ศาสนา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม หรือแม้กระทั้งข้อมูลสุขภาพ แต่การถ่ายภาพหรือวิดีโอของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ในมุมของ PDPA นั้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยการถ่ายภาพมีหลายเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาตามแต่ละกรณี       กรณีที่ 1 ถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อประโยชน์ส่วนตน ถ่ายภายในครอบครัวเพื่อนฝูง อ้างอิงจากมาตรา 4(1) มีการระบุเอาไว้ว่า “การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น” ดังนั้นในกรณีนี้ เราจึงสรุปได้ว่าสามารถทำได้โดยไม่ผิด PDPA โดยในกรณีนี้จะรวมไปถึงเรื่องการติดกล้องวงจรปิดด้วยเช่นกัน
นับตั้งแต่แมริออทควบรวมกิจการกับ สตาร์วู๊ด ข้อมูลระบบและข้อมูลลูกค้าของโรงแรมก็ถูกบุกรุกและดักฟังโดยแฮคเกอร์เรียบร้อยแล้วเช่นกัน เดือนพฤศจิกายน 2561 วงการโรงแรมปรากฎข่าวใหญ่ คือ ทาง แมริออท ได้เปิดเผยเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลโดยการโดนโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในโรงแรม และโรงแรมในเครือประมาณ 339 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในความเสี่ยง และประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นยุโรปประกาศใช้ GDPR (General Data Protection Regulation) ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลของประชาชนในสหภาพยุโรป และผลจากเหตุการณ์เรื่องอื้อฉาวของการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโรงแรมที่สำคัญ เช่น ข้อมูลรายชื่อ เลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลบัตรเครดิตและธุรกรรมการเงิน ข้อมูลวันเวลาในการเข้าพัก เป็นต้น ทำให้แมริออทโดนสำนักงานคณะกรรมาธิการข้อมูลแห่งสหราชอาณาจักร (ICO) ตั้งค่าปรับจากความผิดฐานละเมิดสูงถึง 124 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ภายหลังทางแมริออทจะออกมายืนยันว่าบริษัทจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 23.77 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของโรงแรมชั้นนำของโลก และปั่นทอนความเชื่อมั่นของลูกค้าอย่างที่ไม่สามารถจะฟื้นฟูได้ง่ายๆ ทั้งเป็นการจุดประเด็นเรื่องมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้าใช้บริการในโรงแรมทั่วโลกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่คำตอบที่ว่า ทำไมธุรกิจโรงแรมและบริการห้องพักแบบต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ‘โรงแรม’ จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ธุรกิจบริการห้องพักไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Hotel หรือแบบ Hostel ล้วนต้องดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 และตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ดังนั้นในบรรทัดต่อจากนี้จึงขอใช้คำว่า ‘โรงแรม’ ซึ่งเป็นคำอิบายถึงลักษณะที่ถูกต้องของการให้บริการห้องพักแบบเป็นครั้งคราว และมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้ามารับบริการตามนิยามของกฎหมาย PDPA เช่น ข้อมูลการติดต่อ (ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์  อีเมล) ข้อมูลเฉพาะของบุคคล (วันเดือนปีเกิด เลขหนังสือเดินทาง เลขบัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดตาม หรือผู้ที่อยู่ในความดูแล ( ชื่อ วันเกิด อายุ หมายเลขโทรศัพท์) ข้อมูลธุรกรรมการเงินและการจอง (ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรเครดิต อีเมล เบอร์โทรศัพท์)   ข้อมูลการเดินทาง (กำหนดการเข้าพักและเช็กเอ้าท์) ข้อมูลผู้เด็ก (ผู้เยาว์ที่ไม่เกิน 10
‘ความรับผิดชอบ’ เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ แต่หากดูที่แก่นความหมายซึ่งเป็นการสนธิของสองคำ คือ รับผิด+โดยชอบ อันหมายถึง ‘หน้าที่’ คือ สิ่งที่ต้องทำ แต่ก็น่าแปลกที่สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ทุกคน หรือทุกองค์กรอยากทำ เพราะมักจะนำไปเปรียบเทียบกับภาระอันยิ่งใหญ่ หรือผลจากการกระทำในเชิงลบที่ต้องมีคนต้องแบกรับ และอาจด้วยเหตุผลนี้ กฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จึงได้กำหนด หน้าที่ ตามมาด้วยความรับผิดชอบสำหรับสถานะต่างๆ ภายใต้การดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดข้อมูลรั่วไหลอันนำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach) และคำถามที่หลายคนอยากรู้คือ ความรับผิดชอบนั้นจะตกอยู่ที่ใคร? แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงความรับผิดชอบตามกฎหมาย PDPA ในกรณีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มาดูความหมายและตัวอย่างของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามนิยามของกฎหมาย ซึ่งหมายถึง เหตุการณ์ หรือการกระทำที่นำไปสู่การเก็บรวบรวม เข้าถึง สูญหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นการเจตนา หรือเกิดความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ยกกรณีตัวอย่าง เช่น : สถาบันการเงินส่งไปใบแจ้งหนีไปผิดคน โรงพยาบาลส่งผลตรวจสุขภาพไปผิดบ้าน องค์กรโดนโจมตีทางไซเบอร์ ศูนย์ข้อมูลทำงานผิดพลาดจนทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือถูกโจรกรรม การส่งต่อข้อมูลหรือแชร์โดยเจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต พนักงานในองค์กรขโมยข้อมูลลูกค้าไปขายหรือใช้ประโยชน์ส่วนตัว ร้านกาแฟแอบติดกล้องวงจรปิดเพื่อบันทึกภาพลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน   ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดการรั่วไหลหรือละเมิดอาจจะมีผลที่ตามมา เช่น การทำให้เจ้าของข้อมูลมีความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงต่อทางร่างกาย สุขภาพจิต ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสียโอกาส ถูกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือผลกระทบในด้านลบต่างๆ อันเป็นผลจากการถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ .elementor-heading-title{padding:0;margin:0;line-height:1}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title[class*=elementor-size-]>a{color:inherit;font-size:inherit;line-height:inherit}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-small{font-size:15px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-medium{font-size:19px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-large{font-size:29px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xl{font-size:39px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xxl{font-size:59px} ไทม์ไลน์การละเมิดข้อมูล กฎหมาย PDPA กำหนดแนวทางปฏิบัติอย่างไร /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */
นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จรดปากกาลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ ระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรภาครัฐให้มีความพร้อมต่อการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงส่งเสริมให้ได้รับการประเมินสมรรถนะเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และนางสุนทรีย์ ส่งเสริม จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่วมเป็นสักขีพยาน นายสุรพล กล่าวว่า จากนี้ไป ทั้งสามหน่วยงานจะได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐของประเทศ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ และเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะ พร้อมร่วมจัดทำหลักสูตรเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ (Government Data Protection Officer : GDPO) ที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ รวมถึงการให้คุณวุฒิวิชาชีพแก่ผู้ผ่านการอบรมและทดสอบตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด ยกระดับสมรรถนะเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐของประเทศไทย สู่การเป็นต้นแบบมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรภาครัฐ ให้ตระหนักถึงการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร สามารถบริหารจัดการด้านข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐ ได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ในมาตรฐานอาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และได้รับการประเมินสมรรถนะเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการพัฒนา สามารถรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดขึ้นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรสาธารณะ และองค์กรหรือหน่วยงานที่มีการเก็บรวบรวม ใช้หรือมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำองค์กรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ กระบวนการการเก็บ ใช้ และเผยแพร่ข้อมูล ดังนั้น
‘ข้อมูลประวัติอาชญากรรม’ ดำเนินการไม่ถูกต้อง ‘นายจ้างอาจติดคุก’ เพราะแม้การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนการ ‘คัดกรอง’ ก่อนการจ้างงาน ทั้งบางธุรกิจหรือสถานประกอบการยังกำหนดเป็นมาตรฐานการควบคุมที่สำคัญและเป็นชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของการให้บริการที่จำเป็นต้องมีมาตรการขั้นสูงในการคัดกรอง เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานด้านการเงิน พนักงานที่ดูแลระบบสารสนเทศ แม่บ้าน ช่างซ่อมบำรุงในอาคาร พนักงานขับรถขนเงิน พนักงานขับรถสาธารณะ หรือพนักงานขับรถส่งอาหาร ฯลฯ แม้กฎหมายจะอนุญาตให้บางธุรกิจหรือบางสถานประกอบการมีสิทธิตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรม หรือขอเอกสารการตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครงานได้ แต่ไม่ได้อนุญาตให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติใครก็ได้โดยส่วนตัว เพราะอาจจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลนั้น หรือทำให้เกิดความเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ การที่นายจ้างจะตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครจะต้องดำเนินการโดยการควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยในปัจจุบันเป็นบริการของกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีบริการประชาชนทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยมี 2 วิธี คือ การตรวจสอบด้วยลายพิมพ์นิ้วมือ และการตรวจสอบด้วยชื่อและสกุล ซึ่งนายจ้างจะต้องมีเอกสารสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบ นั่นคือ เอกสารความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} /*! elementor – v3.11.0 – 13-02-2023 */ .elementor-heading-title{padding:0;margin:0;line-height:1}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title[class*=elementor-size-]>a{color:inherit;font-size:inherit;line-height:inherit}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-small{font-size:15px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-medium{font-size:19px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-large{font-size:29px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xl{font-size:39px}.elementor-widget-heading .elementor-heading-title.elementor-size-xxl{font-size:59px} นายจ้างรู้ไว้! ขอเอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรมอย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย PDPA โดยหลักการ ‘ประวัติอาชญากรรม’ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) ซึ่งกฎหมาย PDPA หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ระบุว่า ‘ห้าม’ ไม่ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลนั้นโดยไม่ได้รับ ‘ความยินยอม’ โดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และต้องกระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด หมายความว่า หากนายจ้าง ‘จำเป็น’ ต้องขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรม หรือขอเอกสารประวัติอาชญากรรมโดยผู้สมัครดำเนินการตรวจสอบด้วยตนเอง จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของขอมูลในการเก็บรวบรวม ใช้
PDPA Thailand ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สนับสนุนและสร้างความปลอดภัยด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน   วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 – ณ ห้องประชุม 601 อาคาร อำนวยการ 1 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) PDPA Thailand นำทีมโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ผู้ก่อตั้งสื่อ PDPA Thailand และอาจารย์ สุกฤษ โกยอัครเดช Chief of PDPA Consultant and Auditor บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด กรรมการ สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)  ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท อสมท  จำกัด  (มหาชน) โดยมี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท  นายผาติยุทธ ใจสว่าง ร่วมลงนามฯ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสนับสนุนและสร้างความปลอดภัยด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ทั้งนี้  อสมท  (MCOT)  เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปบริษัทมหาชนจำกัด และเป็นกิจการสื่อสารมวลชน ภายใต้การกำกับของรัฐบาลไทย โดยสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้เลงเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนจัดทำ PDPA ให้กับคนในองค์กร  อีกทั้งควรที่จะเผยแพร่ความรู้ด้านความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ให้ประชาชนได้รับทราบและตระหนักถึงสิทธิของตนเอง จึงได้ลงนามความร่วมมือกับ
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ