ข่าวสาร/บทความ

มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลและส่วนบุคคล “อาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” คืออะไร? เป็นหนึ่งหลักสูตรที่มีความพยายามในการผลักดันให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นหลักสูตรสมรรถนะที่ถูกออกแบบและสร้างสรรค์โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) คือใคร? สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization)) หรือ สคช. เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 วัตถุประสงค์ของสถาบัน คือ การพัฒนาและผลักดันระบบคุณวุฒิวิชาชีพของไทย ด้วยการจัดทำมาตรฐานอาชีพให้ได้มาตรฐานสากล กำหนดองค์กรเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคล และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิวิชาชีพแและมาตรฐานอาชีพ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ พัฒนากำลังคนของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน หลักสูตรสำหรับผู้ตรวจประเมินและเจ้าหน้าที่สอบและผู้ผ่านการประเมิน ถูกออกแบบจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ จากอย่างน้อย 10 องค์กร อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์, สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ, กรมการปกครอง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในวงการอีกหลายท่าน ศึกษาจากแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ และมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นที่เชื่อถือในระดับสากล เนื้อหาในหลักสูตรเลยค่อนข้างเข้มข้นและครอบคลุม และเป็นหนึ่งหลักสูตรในประเทศไทยที่มีความท้าทาย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่สนใจเข้ามาทดสอบสมรรถนะและเข้ารับการตรวจประเมินครับ หลักสูตรนี้ มี 8 ระดับ ระดับที่ปัจจุบันมีเปิดให้รับเทียบโอนคุณวุฒิ คือ ระดับ 5, ระดับ 6 และระดับ 7 สมรรถนะบางส่วนที่ผู้เข้ารับการประเมินไม่ว่าระดับ 5, ระดับ 6 หรือระดับ 7 สามารถดูภาพประกอบบางส่วนในโพสต์นี้
ทีมที่ปรึกษา บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด เข้าอบรมความรู้พื้นฐาน PDPA และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ การจัดทำใบบันทึกกิจกรรม (Data inventory)ให้กับคณะทำงาน บริษัท มิวซ์ อินโนเวชั่น จำกัด ในวันที่ 7 เมษายน 2566 เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และสามารถนำความรู้ที่ได้รับเชื่อมโยงและนำแนวทางการปฎิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปปรับใช้ในในองค์กร เพื่อยกระดับและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับทุกคน ทุกภาคส่วนได้อย่างมีคุณภาพ
พบกับ ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด และนายกสมาคมผู้ตรวจสอบและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย (TPDPA) ในรายการ #ไอที24ชั่วโมง ในหัวข้อ “เมื่อข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่ว จะเกิดอันตรายอะไรขึ้นกับเราได้บ้าง แล้วองค์กรต่างๆ พร้อมหรือยังกับการรักษาข้อมูลส่วนตัว แล้วตอนนี้ยังไงต่อ ??? รับชมได้ที่ คลิกเพื่อรับชม
บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จํากัด (PDPA Thailand) นำโดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร คณะผู้บริหาร และทีมงาน เข้าร่วมกิจกรรมออกบูธในงานสัมมนา “PDPA Going Forward” ก้าวไปข้างหน้ากับ PDPA ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ถึงความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกัน เร่งสร้างการรับรู้ ยกระดับมาตรฐานสร้างความเชื่อมั่นในระดับสากล โดยมีผู้ร่วมงานทั้งผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ ณ โรงแรมอัศวิน ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 16.00 น. วันที่ 22 มีนาคม 2566
     ✨ บรรยายกาศการอบรม หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ  “การจัดทําแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ” รุ่นที่ 1   ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ – 30 มีนาคม 2566     โครงการเพื่อให้ข้าราชการที่รับผิดชอบการพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการมีความรู้และความเข้าใจเรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และสามารถเชื่อมโยงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ กับพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมนำแนวทางการปฎิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับหน่วยงานราชการไปปฏิบัติที่หน่วยงานได้
     ไม่นานมานี้ มีข่าวใหญ่ที่สร้างผลกระทบต่อวงการกีฬาเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับเรื่องของการละเมิดกฎทางการเงิน (Financial Fair Play : FFP) โดยสื่อใหญ่อย่างเดอะไทมส์ (The Times) ได้รายงานว่า มีการทุจริตทางการเงินโดยสโมสรชื่อดังแห่งเกาะอังกฤษแมนเชสเตอร์ซิตี้ “เรือใบสีฟ้า” ได้ทำกระทำผิดกฎการเงินเป็นจำนวนกว่า 100 ครั้งภายใน 9 ปี ตั้งแต่ปี 2552 – 2561 ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก แต่ว่า FFP มันเกี่ยวข้องอย่างไรกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล?      ความสัมพันธ์ระหว่าง FFP และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ชัดเจนนัก แต่อาจมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับวิธีที่สโมสรปฏิบัติตามข้อบังคับ ตัวอย่างเช่น สโมสรอาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินบางอย่างแก่ยูฟ่าเพื่อจุดประสงค์ FFP แต่พวกเขายังต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้เล่น พนักงาน และแฟนคลับ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูล พวกเขายังอาจเผชิญกับความท้าทายในการถ่ายโอนข้อมูลข้ามเขตอำนาจศาลที่แตกต่างกันด้วยมาตรฐานทางกฎหมายที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ นักวิจารณ์บางคนแย้งว่า FFP ละเมิดกฎหมายการแข่งขันของยุโรปและจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของผู้เล่น ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับสิทธิ์ในการปกป้องข้อมูลด้วย      นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลยังสามารถรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนักเตะ เจ้าหน้าที่ และแฟนบอลเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น สัญญานักเตะ เวชระเบียน และการตลาด แต่กฎหมายกำหนดให้สโมสรต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลก่อนที่จะรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลและตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลได้รับการคุ้มครองจากการเข้าถึงการใช้หรือการเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นสโมสรฟุตบอลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล แหล่งที่มา : https://www.dailymail.co.uk/sport/sportsnews/article-9821921/The-smoking-gun-emails-prove-Manchester-City-did-cheat-Premier-League-FFP-rules.html ย้อนไปถึงสาเหตุที่ทำให้แมนเชสเตอร์ซิตี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา ต้นเหตุ คือแฮกเกอร์มือทองรายหนึ่งนามว่า “รุย ปินโต้” ได้แฮกอีเมลของสโมสรเพื่อมาเปิดโปงเรื่องไม่ชอบมาพากล ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาทางธุรกิจที่ไม่โปร่งใสหรือการโยกย้ายปรับแต่งบัญชีการเงินของสโมสร จากการที่สโมสรโดนแฮกอีเมลนี่เอง ทำให้ไม่เพียงแต่มีข้อมูลทางการเงินจำนวนมากที่ถูกละเมิด แต่ยังรวมไปถึง “ข้อมูลส่วนบุคคล” อีกด้วย แหล่งที่มา : https://www.espn.com/soccer/soccer-transfers/story/4870556/man-city-charged-over-multiple-ffp-breaches สโมสรฟุตบอล ในฐานะองค์กรธุรกิจต้องรับมืออย่างไร?      Hacker หรือ กลุ่มอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งที่นำไปสู่เหตุการละเมิดข้อมูล” (Data Breach) กลุ่มคนเหล่านี้ จะเข้าถึง เปิดเผย หรือทำลายข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลประเภทใดก็ได้ เช่น ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลทางธุรกิจ ในทางกลับกัน
หลังจากที่ PDPA เลื่อนกำหนดการซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนออกการบังคับใช้อย่างเต็มที่ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 หลายองค์กรเริ่มมีความตระหนักถึงการทำให้องค์กรปกิบัติตาม PDPA ตัวอย่างเช่น การจัดทำขั้นตอนการทำ PDPA หรือจัดทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้อง โดยแต่ละธุรกิจนั้นก็อาจจะมีความแตกต่างกันไป เช่น โรงพยาบาลหรือสถานศึกษาย่อมมีขั้นตอนการทำ PDPA ที่ไม่เหมือนกัน เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็น คือ การหาบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตามหลัก PDPA ได้มีการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer: DPO ขึ้นเพื่อดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร Data Protection Officer เป็นคนนอกได้หรือไม่? ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า DPO หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นคนนอก หรือเป็น Outsource ได้หรือไม่หลักของ PDPA ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่าคนที่จะเป็น DPO จำเป็นต้องเป็นคนนอกหรือสามารถจ้าง Outsource ได้ ดังนั้นแปลว่าสามารถจัดจ้างคนนอกเพื่อมาเป็น DPO ได้ Data Protection Officer ต้องประสานงานกับใครบ้าง? Outsource DPO นั้นนอกจากจำเป็นต้องดูแลเรื่องข้อมูลลส่วนบุคคลขององค์กรจำเป็นต้องมีการประสานงานเพื่อให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้นบุคคลที่ Outsource ต้องประสานด้วย ได้แก่ พนักงานหรือบุคลากรในองค์กร เนื่องจากOutsource DPO มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรด้วย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ซึ่ง Outsource DPOจะต้องมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานหรือให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่เกิดปัญหาในการดำเนินการ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในบางครั้งตัวOutsource DPO เองนั้นจำเป็นต้องมีการประสานงานกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่เกิดปัญหาในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ การเก็บรวบรวม ใช้งาน หรือเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักของ PDPA นั่นเอง จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า DPO มีความสำคัญแม้แต่ในเรื่องของการประสานงานเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนั้น การที่องค์กรจะเลือกใช้ DPO Outsource จึงต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA นั้น ได้บัญญัติบทบาทหน้าที่แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หากท่านยังไม่แน่ใจว่าองค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งมีบทลงโทษกรณีละเลยหน้าที่ดังกล่าวตามกฎหมายอย่างไร ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “รู้ก่อนโดนปรับ! การแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งที่องค์กรไม่ควรละเลย” (https://pdpathailand.com/knowledge-pdpa/data-subject-data-controller/) อย่างไรก็ตาม ก่อนที่องค์กรจะพิจารณาดำเนินการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เชื่อได้ว่ามีการละเมิดกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กร หลายองค์กรซึ่งอยู่ในสถานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจกังวล สงสัย และมีคำถามว่าองค์กรจะมีวิธีการหรือขั้นตอนในการรับมือเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวอย่างไร ให้สอดคล้องกับ PDPA และเมื่อเกิดเหตุละเมิดจะต้องแจ้งเหตุละเมิดแก่ สคส. และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทันทีที่เกิดเหตุที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลเลยหรือไม่? เพื่อคลายความสงสัยดังกล่าว สคส. ได้ออกประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565” ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เมื่อได้รับแจ้งข้อมูลในเบื้องต้นว่ามีเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล    อะไรคือนิยามการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ? ประกาศฯ ดังกล่าวได้นิยามการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ไว้ว่าเป็นกรณีการละเมิดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ที่ทำให้เกิดการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือ โดยมิชอบ ไม่ว่าจะเกิดจากเจตนา ความจงใจ ความประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ข้อผิดพลาดบกพร่องหรืออุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด โดยเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรมีหน้าที่จะต้องแจ้ง สคส. และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA นั้น จะต้องเป็นการละเมิดที่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดความลับของข้อมูลส่วนบุคคล (Confidentiality Breach) หรือ การละเมิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลส่วนบุคคล (Integrity Breach) หรือ การละเมิดความพร้อมใช้งานของข้อมูล ส่วนบุคคล (Availability Breach) 5 ขั้นตอน แผนการรับมือเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อองค์กรของท่านได้รับแจ้งข้อมูลเบื้องต้นว่าเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เข้าข่ายเป็นเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรของท่านในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจำต้องดำเนินการตาม 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้       (1) ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลการละเมิดที่ได้รับแจ้ง  และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลในเบื้องต้น
     จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง เมื่อการท่องเที่ยวกลับมาคึกคัก ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมต้องรับมือกับการบังคับใช้ PDPA อย่างไร ? ที่ได้มีการกล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจการโรงแรมและที่พัก ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกรายละเอียดของแต่ละกระบวนการว่าเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมุลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง โดยกระบวนการแรกคือกระบวนการรับการจองห้องพัก (Reservation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากที่ลูกค้าค้นหาที่พักและมีการเปรียบราคาก่อนตัดสินใจจองที่พัก โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งช่องทางการจองออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) การจองโดยผู้เข้าพักโดยตรง (Direct guest) เช่น เว็บไซต์โรงแรม โทรศัพท์ อีเมล หรือการจองผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารอื่นๆ เป็นต้น และ 2) การจองผ่านทางตัวแทนรับจองห้องพัก (Agent) ซึ่งจะมี 2 ประเภทย่อย คือ ตัวแทนรับจองห้องพักทั่วไป (Travel Agent) และ ตัวแทนรับจองห้องพักออนไลน์ (Online Travel Agent : OTA)      การจองห้องพัก เป็นกิจกรรมแรกที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลครั้งแรก โดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่มีการเก็บในกิจกรรมนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อนามสกุล เลขบัตรประชาชน/หนังสือเดินทาง อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ช่วงเวลาการเข้าพักและการเดินทาง หลักฐานการโอนเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ข้อมูลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลอาหารที่แพ้ ซึ่งอาจมีการเก็บมากรณีลูกค้ามีความต้องการพิเศษ      การจัดเก็บข้อมูลสำหรับกิจกรรมการจองห้องพักดังกล่าว โรงแรมสามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปของผู้เข้าพักได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการโรงแรม แต่ในส่วนของข้อมูลประเภทความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลการแพ้อาหาร ซึ่งเป็นสุขภาพ โรงแรมควรเพิ่มการใช้ฐานความยินยอม (Consent) ตามมาตรา 19 ประกอบมาตรา 26 โดยการขอความยินยอม นั้นอาจทำเป็นเอกสารหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ควรขอก่อนหรือขณะที่ลูกค้าทำการลงทะเบียนเข้าพัก จำเป็นต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บที่ชัดเจน ใช้รูปแบบของข้อความที่เข้าใจง่าย ให้ความอิสระกับผู้เข้าพัก ไม่เป็นการบังคับ ไม่เป็นเงื่อนไขต่อการให้บริการ
การพัฒนาของเทคโนโลยีและการค้าทำให้เกิดการส่งต่อข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หนึ่งในข้อมูลข่าวสารที่มีการส่งต่อกันอย่างมากในการทำการค้าคือ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และจากความสะดวกรวดเร็วดังกล่าว นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว อาจจะเป็นโทษและสร้างผลกระทบจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างมากได้ ถ้าหากความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด สิ่งนี้เองทำให้หลายประเทศริเริ่มมีแนวคิดในการที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิด หรือการถูกนำไปใช้อย่างผิดกฎหมายจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยแนวคิดดังกล่าว นอกจากจะเป็นการริเริ่มการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการประมวลผลภายในประเทศ (Domestic Territory) แล้ว ยังครอบคลุมถึงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ (International Territory) ในประเด็นนี้จะรวมถึงกรณีการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศด้วย       เมื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้เกิดขึ้นจากการที่หลายประเทศมีการออกหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยชนชาติแรกที่ได้มีการกำหนดถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ สหภาพยุโรป โดยได้พัฒนากฎหมายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นต้นแบบให้กับหลายประเทศทั่วโลก คือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป หรือ General Data Protection Regulation (GDPR) และหนึ่งในหลักเกณฑ์นั้นเป็นการกำหนดถึงมาตรฐานที่เพียงพอของประเทศปลายทางที่รับโอนข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการนำ GDPR มาเป็นต้นแบบในการสร้างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562: PDPA) ซึ่งหลักเกณฑ์ว่าด้วยการโอนข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทยนั้นแม้ว่าจะมีความแตกต่างจาก GDPR แต่ก็กล่าวได้ว่า PDPA มีลักษณะเช่นเดียวกับ GDPR โดยเฉพาะการกำหนดหลักเกณฑ์ของประเทศปลายทางในการรับส่ง – ข้อมูลจะต้องมีมาตรฐานที่เพียงพอ      การกำหนดหลักเกณฑ์เหล่านี้ กลายเป็นเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการภายนอกประเทศ จะต้องดำเนินการตามกฎหมายของประเทศคู่ค้า คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจำเป็นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่า คู่ค้าที่อยู่ประเทศปลายทางมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีมาตรฐานที่เพียงพอตามที่กฎหมายของคู่ค้าประเทศต้นทางกำหนดไว้ นางสาวชไมพร วุฒิมานพ ที่ปรึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จาก PDPA Thailand
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ