การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล จากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล จากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: สุวจนี จิวะวิไลกาญจน์

สถาบัน: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปี: 2564

 

บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร”  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่ออธิบายคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ 2) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทางประชากรกับการตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการเก็บข้อมูล ประกอบกับใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษานี้ คือ ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปถึง 60 ปี ที่พำนักอาศัยและประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นผู้ที่เคยเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ อย่างน้อย 1 สื่อ

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.32 อายุ อยู่ในช่วง 41 ปี – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.55 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 59.77 มีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท – เอกชน คิดเป็นร้อยละ 57.05 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตั้งแต่ 15,001 บาท แต่ไม่เกิน 35,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.05 อีกทั้งยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลจากภาคธุรกิจ จนสร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือสร้างความเสียหาย ร้อยละ 85.00 โดยจำแนกเป็นการถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวจากการเสนอขายประกันภัยมากที่สุด ร้อยละ 37.97 ลำดับรองลงมา ได้แก่  การเสนอวงเงินสินเชื่อ/บัตรเครดิต ร้อยละ 32.78  และการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม/ฟิตเนส ร้อยละ 15.67 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบรายละเอียดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ 61.36 และและไม่ทราบรายละเอียดชองกฎหมายดังกล่าว ร้อยละ 38.64

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลด้านศาสนา เพราะต้องการได้รับการบริการเรื่องอาหารที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา ร้อยละ 37.87 และไม่ให้ข้อมูล เพราะข้อมูลด้านศาสนาไม่เกี่ยวกับการบริการเรื่องอาหาร ร้อยละ 37.05 รวมถึงไม่ให้ข้อมูล เพราะไม่อยากได้รับการบริการ ร้อยละ 17.73 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบว่าการยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมีปัญหา เนื่องจากผู้ให้มูลมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ 70

กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (Internet)/สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.68 รองลงมา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 23.58 และสื่อบุคคล คิดเป็นร้อยละ 16.24 ตามลำดับอีกทั้งยังพบระดับความเข้มข้นในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ ในภาพรวม คือ อ่าน/ชม/ฟัง ขณะทำกิจกรรมอื่นไปด้วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08

ในส่วนผลการทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะทางประชากรกับการตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานครพบว่าเพศระดับการศึกษาอาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีการตระหนักรู้การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจไม่แตกต่างกันอย่างไรก็ตามผู้ที่มีอายุที่แตกต่างกันจะมีการตระหนักรู้การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจแตกต่างกัน

Link เนื้อหา: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/251466

Link file: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/251466/169952

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

PDPA Thailand เตือนภัย LINE OA ปลอม อ้างเป็นหน่วยงานรัฐ ขอข้อมูลลูกค้า