ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: วิภาวดี ยุติธรรม

สถาบัน: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ปี: 2556

 

บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ เข้ารับการรักษาพยาบาล อันมีผลมาจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีกฎหมายที่ ประกาศใช้เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลอยู่หลายฉบับ ซึ่งกฎหมาย ดังกล่าวให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยทั่วไป รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล ข้อมูลประวัติสุขภาพ คือข้อมูลสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่ เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลไม่อาจทำได้ เว้นแต่จะ ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมีกฎหมาย กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลได้ การเข้ารับการรักษาพยาบาล ของผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการบันทึกประวัติไว้ในเวช ระเบียน ซึ่งข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษา ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพที่เป็น ความลับของผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล การคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้มีบทบัญญัติของกฎหมาย ประกาศใช้เพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อ มิให้ผู้ครอบครองข้อมูลเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น เว้น แต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล สิทธิที่จะ ได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิส่วน ตัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานหรือสิทธิตามธรรมชาติของ มนุษย์ ซึ่งประเทศไทยได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 35

ข้อมูลของผู้ป่วยจะมีการจัดเก็บไว้ในเวช ระเบียน กฎหมายห้ามผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ป่วยเปิดเผยข้อมูล แต่มีข้อยกเว้นให้เปิดเผยได้ ในบางกรณีหากการเปิดเผยนั้นเป็นประโยชน์ต่อส่วน รวม หรือหากได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และจากคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับ การปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่ได้รับความยินยอมจาก ผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการรักษา พยาบาลนั้น พบว่าแม้จะมีกฎหมายบัญญัติให้ความ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ารักษาพยาบาลก็ตาม แต่มีหลักการหรือแนวทางในการที่จะเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลได้หลายทาง เช่น ใช้หลักความเหมาะสม (Principle of Suitability) หลักความจำเป็น (Principle of Necessity) หลักความสมดุล (Principle of Proportionality Stricto Sensu หรือ Theorie du bilan) หลักความยินยอม (Volenti non fit injuria) และหลักเพื่อประโยชน์สาธารณะ

Link เนื้อหา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42118

Link file: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42118/34787

บริการของเรา

PDPA Consultant

บริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญ

PDPA Audit

ให้คำปรึกษา ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบการทำงาน กระบวนการบริหาร การจัดการ รวมถึงอบรมบุคลากรภายในองค์กรอย่างครบวงจร

DPO Services

บริการด้านเจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO แก่คณะทำงานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DC) หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DP) รวมถึงพนักงานภายในองค์กร

PDPA E-learning

หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบเนื้อหาความรู้ด้าน PDPA อย่างครบถ้วนและครอบคลุม เข้าใจง่ายช่วยให้องค์กรเข้าใจPDPA อย่างง่ายดาย สะดวกประหยัดเวลา

PDPA Public Training

จัดอบรมและ Workshop กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเจาะลึก ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในดำเนินงานภายใต้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง

PDPA Inhouse Training

บริการอบรมภายในด้วยหลักสูตรบรรยาย และ workshop ที่ออกแบบเฉพาะองค์กรของคุณ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล

บทความที่เกี่ยวข้อง