เจตคติต่อกลไกปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แอปพลิเคชันการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พุทธศักราช 2562 ISO/IEC 29100 และ ISO/IEC 27701

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

เจตคติต่อกลไกปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แอปพลิเคชันการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พุทธศักราช 2562 ISO/IEC 29100 และ ISO/IEC 27701

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: มนัสนิตย์ เศรษฐาวงศ์, วศิน ชูประยูร

สถาบัน: มหาวิทยาลัยรังสิต

ปี: 2565

 

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เจตคติต่อกลไกปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แอปพลิเคชันการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ใช้ต่อเจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 3) อิทธิพลของเจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลต่อความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของแอปพลิเคชัน 4) อิทธิพลของความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันต่อความไว้วางใจของผู้ใช้ 5) อิทธิพลของเจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลต่อความไว้วางใจของผู้ใช้ และ 6) พัฒนาแบบจำลองอิทธิพลตามข้อค้นพบของวัตถุประสงค์ข้อ 3-5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พุทธศักราช 2562   ISO/IEC 29100 และ ISO/IEC 27701 เป็นทฤษฎีหลักเพื่อออกแบบการวิจัย (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019), 2019; ISO/IEC, 2011; ISO/IEC, 2019) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้แอปพลิเคชันจำนวน 384 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 100 สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้มากกว่าร้อยละ 80 มีความเห็นว่าแอปพลิเคชันที่ตนเองใช้มีกลไกปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พุทธศักราช 2562, ISO/IEC 29100 และ ISO/IEC 27701 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณลักษณะของผู้ใช้มีอิทธิพลต่อเจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ขนาดอิทธิพล (R2) ระหว่าง 0.50 – 0.17 ทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 33 สมการ เจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของแอปพลิเคชันที่ขนาดอิทธิพล (R2) ระหว่าง 0.08 – 0.31 ทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 8 สมการ ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจของผู้ใช้ที่ขนาดอิทธิพล (R2) ระหว่าง 0.17 – 0.36 ทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 8 สมการ เจตคติต่อกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจของผู้ใช้ที่ขนาดอิทธิพล (R2) ระหว่าง 0.25 – 0.29 ทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 4 สมการ

Link เนื้อหา: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/258968

Link file: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/258968/175318

บริการของเรา

PDPA Consultant

บริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญ

PDPA Audit

ให้คำปรึกษา ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบการทำงาน กระบวนการบริหาร การจัดการ รวมถึงอบรมบุคลากรภายในองค์กรอย่างครบวงจร

DPO Services

บริการด้านเจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO แก่คณะทำงานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DC) หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DP) รวมถึงพนักงานภายในองค์กร

PDPA E-learning

หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบเนื้อหาความรู้ด้าน PDPA อย่างครบถ้วนและครอบคลุม เข้าใจง่ายช่วยให้องค์กรเข้าใจPDPA อย่างง่ายดาย สะดวกประหยัดเวลา

PDPA Public Training

จัดอบรมและ Workshop กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเจาะลึก ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในดำเนินงานภายใต้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง

PDPA Inhouse Training

บริการอบรมภายในด้วยหลักสูตรบรรยาย และ workshop ที่ออกแบบเฉพาะองค์กรของคุณ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล

บทความที่เกี่ยวข้อง