ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ข้อพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (Personally Identifiable Information) ของกรมสรรพากร

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: นิสากร ทองประเสริฐ

ที่ปรึกษา: ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

สถาบัน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์

ปี: 2563

 

บทคัดย่อ: แบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรมีลักษณะใช้ร่วมกันสําหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภท ส่งผลให้กรมสรรพากรจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีเงินได้หลายรายการ ซึ่งทําให้มีประเด็นปัญหาว่า การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากรเป็นไปตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงศึกษารายการข้อมูลส่วนบุคคลในแบบแสดงรายการภาษีของกรมสรรพากรโดยพิจารณาตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็นในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสรรพากร โดยการเทียบเคียงแบบแสดงรายการภาษีของต่างประเทศ พบว่าแบบแสดงรายการภาษีของประเทศไทยมีลักษณะการใช้ร่วมกันสําหรับทุกประเภทเงินได้ การจัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีความเฉพาะเจาะจงสําหรับเงินได้แต่ละประเภท มีการจัดเก็บข้อมูลบางรายการซ้ำากันหลายครั้งทำให้การจัดเก็บข้อมูลเกิดความซ้ําซ้อน และมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินความจําเป็นเนื่องจากข้อมูลบางรายการที่ไม่มีความเกี่ยวข้องต่อการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจึงเห็นว่าการปรับเปลี่ยนแบบแสดงรายการภาษีโดยการแยกออกตามประเภทของเงินได้พึงประเมิน เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมีความเฉพาะเจาะจง และจัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีจากเงินได้แต่ละประเภท ส่งผลให้ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ซ้ำซ้อนและไม่มากเกินกว่าความจําเป็นตามหลักการประมวลผลข้อมูลเท่าที่จําเป็น

Link เนื้อหา: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81388

Link file: http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/81388/1/6280046934.pdf

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน