ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: ดลญา แสงดาว

ที่ปรึกษา: ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

สถาบัน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์

ปี: 2565

 

บทคัดย่อ: ผู้เยาว์เป็นบุคคลเปราะบาง เนื่องจากมีความสามารถอย่างจำกัดในการให้ความยินยอมอย่างอิสระ ซึ่งการให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า กิจกรรมใดที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยลำพัง รวมถึงความเหมาะสมของกำหนดอายุของผู้เยาว์ที่สามารถให้ความยินยอมด้วยตนเอง ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตลอดจนการนำบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 มาใช้เป็นข้อยกเว้นกรณีที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเองได้ ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้โดยลำพัง ได้แก่ การให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการอนุญาตให้ผู้ปกครองเข้าถึงหรือขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลแทนผู้เยาว์ ในขณะที่กำหนดอายุของผู้เยาว์ยังมีความไม่สอดคล้องกับหลักการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิดสติปัญญาของผู้เยาว์ และการตีความและปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการนำหลักการของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องความสามารถและกำหนดอายุในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ ตลอดจนมาตรฐานในการตรวจสอบความยินยอมของผู้ปกครอง มาพัฒนาและปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของประเทศไทยต่อไป

Link เนื้อหา: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81800

Link file: http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/81800/1/6380067134.pdf

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน