ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: อริยะ ดังสวานิช

ที่ปรึกษา: ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง

สถาบัน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี: 2564

 

บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ในสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 โดยศึกษาประกอบกับการสัมภาษณ์ DPO ของสถาบันการเงิน 13 แห่ง รวมถึงเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอการกำหนดโครงสร้างองค์กรและคุณสมบัติของ DPO สถาบันการเงินที่เหมาะสมต่อไป ผลการศึกษาพบว่า มีความไม่ชัดเจนในการกำหนดโครงสร้างการทำงานของ DPO และการกำหนดคุณสมบัติของ DPO ที่เป็นมาตรฐานของสถาบันการเงินส่งผลให้เกิดปัญหาบางประการ ดังนี้ DPO ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่และเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ไม่มีการกำหนดกระบวนการปรึกษาหารือระหว่างฝ่ายงานกับ DPO ที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ขาดพนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจและเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาการทบทวนตำแหน่ง DPO สถานะทางกฎหมายของตำแหน่งผู้ช่วย DPO และวิธีการตรวจสอบการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร ด้วยเหตุตามที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องออกมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ DPO ในสถาบันการเงิน ตลอดจนกำหนดมาตรฐานการทบทวนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ชัดเจน เพื่อให้การทำงานของ DPO ในสถาบันการเงินต่างๆ สัมฤทธิ์ผลในทางกฎหมายไปพร้อมกับเกิดประโยชน์ในการแข่งขันทางธุรกิจดิจิทัล

 

Link เนื้อหา: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79452

Link file: http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/79452/1/6280188334.pdf

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน