สิทธิที่จะถูกลืมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

สิทธิที่จะถูกลืมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: ปิติ เอี่ยมจำรุญลาภ

สถาบัน: จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย

ปี: 2565

บทคัดย่อ: สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกอบกับหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 37(3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นั้นมีคุณสมบัติที่จะเรียกได้ว่า “สิทธิที่จะถูกลืม” สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎีสากลเกี่ยวกับสิทธิที่จะถูกลืม ตัวบทกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บรรทัดฐานการใช้บังคับ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น เขตปกครองพิเศษไต้หวัน เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ แม้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิที่จะถูกลืมเอาไว้โดยชัดแจ้งในตัวบทกฎหมาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ และเพื่อรองรับข้อเท็จจริงที่ว่าการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดของคนในสังคมนั้นเกิดขึ้นในโลกดิจิทัลมากขึ้น บทความนี้จึงเสนอให้เพิ่มเติมคำว่า “สิทธิที่จะถูกลืม” ในมาตรา 33 และมาตรา 37(3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 การแก้ไขกฎหมายตามข้อเสนอดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความชัดเจนว่าหากผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลได้ดำเนินการนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลออกจากการแสดงผลการค้นหาแล้วก็ย่อมถือได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว โดยไม่ต้องดำเนินการเพื่อลบหรือทำลายข้อมูล และเมื่อผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูลได้ดำเนินการนำข้อมูลส่วนบุคคลออกจากการแสดงข้อมูลแล้วก็ย่อมถือได้ว่าปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายแล้วโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีความรับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมาย นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้ตามมาตรา 33 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 การออกกฎหมายลำดับรอง (หรือแนวปฏิบัติ) ดังกล่าวอาจดำเนินการโดยอาศัยแนวปฏิบัติของต่างประเทศ

Link เนื้อหา: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/257833

Link file: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tulawjournal/article/view/257833/175928

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ จับมือ ดีบีซี กรุ๊ป ส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล วงการการศึกษาและภาคเอกชน