ความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในบริบทของเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในบริบทของเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: อัญธิกา ณ พิบูลย์

สถาบัน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี: 2563

 

บทคัดย่อ: บทความฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยในเรื่องความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบริบทของเมืองอัจฉริยะ โดยวิเคราะห์จากเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้มีคำถามหลักในการวิจัยคือ “อะไรคือความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบริบทของเมืองอัจฉริยะ” เนื่องจากการทำงานของเมืองอัจฉริยะนั้นมีการใช้เทคโนโลยีหลากหลายประเภทในการบริหารจัดการโครงสร้างของเมือง กล่าวคือ มีการเชื่อมโยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายใต้แนวความคิดของ Internet of Things  ส่งผลให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากในลักษณะของ Big Dataเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลโดยArtificial Intelligence และข้อมูลทั้งหมดนี้ได้รับการประมวลผลจะอยู่บนโครงสร้างของ Cloud Computing จากการศึกษาวิจัยจึงพบว่า ลักษณะของเมืองอัจฉริยะนี้ทำให้เกิดความท้าทายทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ 2ประการ คือ (1) การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (2) การกำหนดสถานะ หน้าที่และความรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางที่พอจะเป็นไปได้ในการจัดการกับความท้าทายดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล

Link เนื้อหา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/241842

Link file: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/241842/164651

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลัดกระดุมเม็ดแรกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยแนวคิด Privacy by Design