ข้อมูล ‘เด็ก’ อีกหนึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ธุรกิจพึงระวัง! เสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA ..แต่หากรู้วิธีจัดการก็ไม่ต้องกังวล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ข้อมูล ‘เด็ก’ อีกหนึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ธุรกิจพึงระวัง! เสี่ยงละเมิดกฎหมาย PDPA ..แต่หากรู้วิธีจัดการก็ไม่ต้องกังวล

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

‘สิทธิเด็ก’ กฎหมายที่มุ่งเน้นปกป้องคุ้มครองสิทธิ การละเมิดความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่นที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยเหตุนี้กฎหมายเด็กของหลายๆ ประเทศ จึงมีความเข้มงวดและมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรง ตลอดจนถึงการเป็นข้อบังคับสากล อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Convention on the Rights of the Child: UNCRC) ที่ทั่วโลกยึดถือเป็นบรรทัดฐานของกฎหมาย

สำหรับประเทศไทยเองก็มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กฎหมายคุ้มครอง ‘เด็ก’ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบุูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิภาวะด้วยการสมรส โดยกฎหมายมุ่งปกป้องคุ้มครอง เกื้อหนุน และการสงเคราะห์สวัสดิภาพเด็ก หรือการงดเว้นไม่ให้เด็กทำธุรกรรมทางกฎหมาย

ขณะที่ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ ก็มีมาตราที่ระบุถึงข้อบังคับในการเก็บรวบรวม ใช้ และเผยแพร่ข้อมูลเด็กและผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจาก ‘ผู้ปกครองที่มีอำนาจ’ กระทำการแทนผู้เยาว์ตามกฎหมาย

เหตุนี้จึงมีข้อสังเกตว่า สำหรับโรงเรียน สถานรับเลี้ยง สถานพยาบาลสำหรับเด็ก สถานกวดวิชา แคมป์เยาวชน หน่วยงานหรือสถานประกอบการที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก แม้แต่แพลตฟอร์มสำหรับเด็ก หรือร้านเกม ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลผู้เยาว์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  • ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) อาทิ ชื่อ สกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน อีเมล เบอร์โทรศัพท์
  • ข้อมูลกายภาพ เช่น ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ รวมถึง ข้อมูลชีวภาพ เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ม่านตา ลายนิ้วมือ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลสุขภาพ หรือแม้แต่ข้อมูลด้านเชื้อชาติ ศาสนา อุปลักษณะนิสัย ทัศนคติ ซึ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data)

ธุรกิจที่มีการจัดเก็บข้อมูลเด็กและผู้เยาว์ที่ไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องมีความเข้าใจ และการจัดการเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นภายใต้กฎหมายใหม่ที่กำลังประกาศใช้ในเร็วๆ นี้ 

 

 

ธุรกิจเกี่ยวกับ ‘เด็ก’ กลุ่มไหนบ้างเสี่ยงทำผิดกฎหมาย PDPA

1. ธุรกิจด้านการศึกษา – โรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล(Data Controller) ที่มีการรวบรวม ใช้และเผยแพร่ของมูลส่วนบุคคลของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งการส่งต่อข้อมูลให้แก่บุคคลที่สาม เพื่อประโยชน์หรือกิจกรรมต่างๆ เช่น โรงเรียนเก็บข้อมูลเด็กและมีการใช้และเผยแพร่ต่อให้กับครูผู้สอน/บุคคลภายนอก หรือในมุมของสถาบันกวดวิชาที่มีการเก็บข้อมูลเด็กและส่งต่อให้ติวเตอร์ก็เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย PDPA เช่นกันหากไม่มีการขอความยินยอมจากผู้ปกครอง

2.ธุรกิจด้านการรับเลี้ยง ฝากเลี้ยงเด็ก – เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะได้รับผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย PDPA โดยตรงหากมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเด็กหรือผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อายุไม่เกิน 10 ปี การรวบรวม ใช้ และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองที่มีอำนาจตามกฎหมาย

3.สถานรักษาและดูแลสุขภาพเด็ก – ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คลินิก ที่มีการเก็บข้อมูลเด็กและผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย PDPA หากว่าการเก็บข้อมูลเหล่านั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านธุรกิจก็เข้าข่ายที่ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองทุกครั้ง 

4.ธุรกิจบริการหรือความบันเทิงสำหรับเด็ก : สวนสนุก สวนน้ำ สวนสัตว์ แคมป์เยาวชน ร้านอาหาร ร้านเกม สถานประกอบการที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ก็ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองเช่นกัน

5.แพลตฟอร์มผู้ให้บริการที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก : ในที่นี้อาจนึกภาพถึงเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันสำหรับเด็ก ตลอดจนถึง ‘ร้านเกม’ หรือแม้แต่สื่อสำหรับเด็กในรูปแบบต่างๆ ที่แม้จะมีการทำเอกสารขอความยินยอมจากผู้ใช้ที่เรียกว่า ‘Term of Service’ ให้ผู้ใช้กดยินยอมรับเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม แต่หากผู้ใช้เป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 10 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ การยินยอมดังกล่าวตามข้อกำหนดในกฎหมาย PDPA อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานการยินยอมไม่ได้ เพราะอำนาจการยินยอมเป็นของ ‘ผู้ปกครอง ดังนั้นแง่มุมเหล่านี้จึงมีความอ่อนไหวที่ผู้ประกอบการธุรกิจและแพลตฟอร์มสำหรับเด็กจะต้องศึกษาโดยละเอียด และมีระบบในการขอความยินยอมที่สามารถยืนยันตัวตนได้ว่าผู้ให้ความยินยอมมีบทบาทเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์

เก็บข้อมูลเด็กต้องรู้! แบบไหนบ้าง ที่ไม่ผิดกฎหมาย PDPA

กฎหมาย PDPA ห้ามไม่ให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเด็กและผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยปราศจากความยินยอมจากผู้ปกครอง แต่ก็มีข้อยกเว้นที่สามารถทำได้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง คือ 

1.เพื่อจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

2.เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล

3.เพื่อความจำเป็นและเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา หรือ ดำเนินการที่เป็นไปตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

4.เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ

5. เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล

6. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม หากในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง จะต้องมีการแจ้งให้ ‘ผู้ปกครอง’ ของผู้เยาว์ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยเร็ว

กระนั้น ทั้งผู้ควบคุมข้อมูล และผู้ประมวลผลข้อมูล หากมีการรวบรวม ใช้ และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล อันก่อให้เกิดความเสียหาย หรือการละเมิดก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงโทษทั้งทางอาญา แพ่งและโทษทางปกครองอยู่ได้ดี

ด้วยเหตุนี้ จึงจะเห็นได้ว่า สิทธิเด็กและผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้านข้อมูลส่วนบุคคล ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง แต่หากความยินยอมนั้นทำให้เกิดความเสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ ก็ยังสามารถขอให้ถอนการยินยอมได้ในทันที และหากไม่ปฏิบัติตามก็จะนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ กฎหมายยังมีความอ่อนไหว และยังสามารถตีความไปได้อีกหลายๆ แง่มุม

ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเด็กและผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงต้องมีการทำความเข้าใจสาระของข้อกฎหมาย PDPA รวมถึงการประเมินผลกระทบการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) เพื่อรับมือความเสี่ยงที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายซึ่งอาจนำไปสู่ความยุ่งยากอีกมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ