การคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญาแบบสมาร์ท: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรปและพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

การคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการทำสัญญาแบบสมาร์ท: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรปและพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: คณาธิป ทองรวีวงศ์, ดวงกมล ขวัญยืน

สถาบัน: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ปี: 2563

 

บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จากการใช้เทคโนโลยีทำสัญญาแบบสมาร์ท  2) ศึกษากฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป เพื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในประเด็นการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากการทำสัญญาแบบสมาร์ท 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขกฎหมายไทยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีสัญญาแบบสมาร์ท งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) เพื่อศึกษาหลักกฎหมาย องค์ประกอบ ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลของไทยและกฎหมายสหภาพยุโรป ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงเปรียบเทียบ (Comparative analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ครอบคลุมถึงสัญญาแบบสมาร์ท แต่ไม่ได้กำหนดหลักการคุ้มครองผู้บริโภคและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สัญญา 2) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีตัวแบบมาจากกฎหมายสหภาพยุโรป (GDPR) ไม่ได้กำหนดหลักการสำหรับสัญญาแบบสมาร์ทไว้โดยเฉพาะ แต่บทบัญญัติในส่วนของเงื่อนไขการเก็บใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถโดยต้องได้รับความยินยอมก่อนนั้นสามารถนำมาปรับใช้กับการคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภคในฐานะคู่สัญญาแบบสมาร์ท  แต่หลักความยินยอมดังกล่าวมีข้อจำกัดและไม่ครอบคลุมถึงสิทธิปฏิเสธการทำสัญญาแบบสมาร์ท  3)  กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป มาตรา 22 คุ้มครองสิทธิที่จะไม่อยู่ภายใต้การตัดสินใจบนพื้นฐานของการประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติซึ่งปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถปฏิเสธการเข้าสู่สัญญาดังกล่าวได้ แต่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยไม่ได้กำหนดหลักการดังกล่าวไว้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยให้มีหลักการเช่นเดียวกับมาตรา 22 ของกฎหมายสหภาพยุโรป

Link เนื้อหา: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/240231

Link file: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/240231/165005

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลัดกระดุมเม็ดแรกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยแนวคิด Privacy by Design