ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 : ศึกษากรณีหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 39

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 : ศึกษากรณีหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 39

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: ณฐพร วิริยะลัพภะ, ธเนศ สุจารีกุล

สถาบัน: มหาวิทยาลัยรังสิต

ปี: 2563

 

บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบัญญัติ แนวคิดและความเป็นมาของพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายและปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งค้นหาแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาทางนิติศาสตร์จากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยการรวบรวมและค้นคว้าจากตำรา เอกสาร บทความ บทความ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการในการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและลูกจ้างเป็นภาระอย่างมากนับแต่กระบวนการบันทึกที่ใช้เทคนิค มีความซับซ้อน และมีความเสี่ยงที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ดังนั้นกิจการขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำเป็นต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านกฎหมายและเทคนิคเพื่อให้คำปรึกษาในกระบวนการบันทึก แม้ว่ากฎหมายจะมีบทบัญญัติผ่อนปรนให้แก่กิจการขนาดเล็กก็ตาม แต่บทบัญญัติบางส่วนยังคงมีปัญหาในวลีที่ไม่มีความชัดเจน เช่น กิจการขนาดเล็ก “อาจได้รับการยกเว้น” จากหน้าที่ดังกล่าว และผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่บันทึกเพียงข้อมูลซึ่ง “มีความเสี่ยง” ที่จะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามปัญหาอาจเกิดจากวลีที่ว่า “อาจได้รับยกเว้น” และ “มีความเสี่ยง” มีความหมายอย่างไร ซึ่งความไม่ชัดเจนของวลีทั้งสองดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่แน่นอน และความกังวลกับบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าบทบัญญัติบางส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวลีทั้งสองข้างต้นควรได้รับการแก้ไขให้มีความชัดเจน เพื่อให้การตีความกฎหมายเป็นไปในทางเดียวกัน

Link เนื้อหา: https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/1875

Link file: https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/1875/1462

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลัดกระดุมเม็ดแรกของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยแนวคิด Privacy by Design