การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมจากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Good Factory Practice (GFP)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรมจากการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Good Factory Practice (GFP)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : suwatthana24

ผู้แต่ง: คณาธิป ทองรวีวงศ์, อรวรรณ พจนานุรัตน์, ดวงกมล ศรีสุวรรณ์

สถาบัน: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ปี: 2566

 

บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ว่ามาตรการ GFP ส่งผลกระทบในลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การตีความและประเด็นปัญหาทางกฎหมายในการปรับใช้ฐานความยินยอมตามข้อตกลงการใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวเนื่องกับ GFP ได้แก่ TSC และ TST (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปรับใช้ฐานทางกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานโรงงาน ตามข้อตกลงการใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวเนื่องกับ GFP ได้แก่ TSC และ TST งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความข้อตกลงการใช้งานโดยวิเคราะห์การตีความกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหภาพยุโรป ผลการศึกษาพบว่า (1) แพลตฟอร์ม TST กำหนดให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลระบุตัว ข้อมูลพฤติกรรมและสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคติดต่อโควิด 19 แต่แพลตฟอร์ม TSC เก็บข้อมูลของพนักงานเฉพาะในส่วน ผู้ติดต่อหรือประสานงาน (2) ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TST ข้อ 3.3 ขอความยินยอมจากผู้ใช้งาน แต่จากการนำองค์ประกอบของความยินยอมตามแนวทางสหภาพยุโรปและกฎหมายไทยมาวิเคราะห์ พบว่า ไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความไม่สมดุลเชิงอำนาจต่อรอง การยินยอมที่เชื่อมโยงกับผลกระทบทางลบ  ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TSC มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ TST แต่ไม่ระบุถึงความยินยอมสำหรับพนักงานโรงงานที่เป็นผู้ติดต่อหรือประสานงาน  (3)  ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TST ข้อ 3.2 ระบุข้อยกเว้นของความยินยอม 3 ฐาน คือ มาตรา 24 (3) มาตรา 26 (5) (ก) และ 26 (5) (ค) ซึ่งผลการวิเคราะห์ฐานทางกฎหมายชี้ให้เห็นว่า การอ้างอิงฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขและหลักการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อตกลงแพลตฟอร์ม TSC   มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับ TST  แต่ไม่ระบุถึงฐานทางกฎหมายสำหรับข้อมูลของพนักงานที่เป็นผู้ติดต่อหรือประสานงาน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขข้อตกลงการใช้บริการของ TST และ TSC และปรับเปลี่ยนการอ้างฐานทางกฎหมายโดยอาศัยความยินยอมจากพนักงานโรงงานที่เป็นผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว

Link เนื้อหา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/263688

Link file: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/263688/173119

บริการของเรา

PDPA Consultant

บริการให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญ

PDPA Audit

ให้คำปรึกษา ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตรวจสอบการทำงาน กระบวนการบริหาร การจัดการ รวมถึงอบรมบุคลากรภายในองค์กรอย่างครบวงจร

DPO Services

บริการด้านเจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO แก่คณะทำงานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (DC) หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DP) รวมถึงพนักงานภายในองค์กร

PDPA E-learning

หลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบเนื้อหาความรู้ด้าน PDPA อย่างครบถ้วนและครอบคลุม เข้าใจง่ายช่วยให้องค์กรเข้าใจPDPA อย่างง่ายดาย สะดวกประหยัดเวลา

PDPA Public Training

จัดอบรมและ Workshop กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเจาะลึก ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในดำเนินงานภายใต้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง

PDPA Inhouse Training

บริการอบรมภายในด้วยหลักสูตรบรรยาย และ workshop ที่ออกแบบเฉพาะองค์กรของคุณ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล

บทความที่เกี่ยวข้อง