PDPA Focus: ตอน Data Protection Officer – DPO (เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

PDPA Focus: ตอน Data Protection Officer – DPO (เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA เป็นกฎหมายที่สร้างความตื่นตัวอย่างมาก โดยหลาย ๆ องค์กรหันมาศึกษาและพยายามดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างจริงจังกันแล้ว เพราะกำหนดการบังคับใช้ พ.ร.บ. อย่างเต็มรูปแบบกำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ (มิถุนายน 2564)

ผู้บริหารขององค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลก็คงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ Data Protection Officer (เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) หรือที่เรียกกันติดปากอย่างย่อ ๆ ว่า DPO (ดีพีโอ) กันมาบ้าง เพราะทั้งใน PDPA และ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย ต่างมีบทบัญญัติที่กล่าวถึงความจำเป็นและบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานนี้

DPO คือใคร?

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer เป็นตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเป็น “ผู้รับผิดชอบ” ให้แน่ใจว่าการประมวลผลข้อมูลขององค์กรดำเนินการอย่างสอดคล้องกับกฎหมายและราบรื่นมากที่สุด และมีหน้าที่ (ตาม PDPA มาตรา 42 และเอกสารประกอบอื่น) ดังต่อไปนี้

    • ให้คำแนะนำแก่ผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูล และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ตลอดจนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับอื่น
    • ดูแลการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายคุ้มครองข้อมูลขององค์กร รวมถึงจัดการกิจกรรมคุ้มครองข้อมูลภายในองค์กร เช่น การสร้างความตระหนักถึงประเด็นและกระบวนการคุ้มครองข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร การประเมินความเสี่ยงของข้อมูล การตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร และการรับมือกับคำร้องด้านการประมวลผลข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นต้น
    • ประสานงานและร่วมมือกับสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ในกรณีที่มีปัญหาในการประมวลผลข้อมูล
    • บันทึกและเก็บรักษารายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลขององค์กร
    • รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลจากการปฏิบัติหน้าที่
 

*ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบต่อการแสดงออกและการดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเสมอ เจ้าหน้าที่คุ้มครองครองข้อมูลส่วนบุคคลมิใช่ผู้ที่รับผิดชอบโดยส่วนตัว

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความสะดวกจากผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่ มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือแผนกอื่น ๆ ในองค์กร มีอำนาจ และจะต้องสามารถรายงานไปยังบรรดาผู้บริหารสูงสุด (Top Management) อย่างเช่น บอร์ดบริหาร ของผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลข้อมูลได้โดยตรงในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น

การกำหนดตำแหน่ง DPO ขององค์กร กล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการตาม “หลักความรับผิดชอบ” (Accountability) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง GDPR ที่ระบุว่าคุณต้องรับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมาย และมีหลักฐาน/ข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการตามกฎหมายด้วย

 

กฎหมายบัญญัติไว้ องค์กรของคุณต้องมี DPO หรือไม่?

สำหรับผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผลข้อมูลหลาย ๆ คนที่กำลังรู้สึกสับสน อาจมีความเชื่อว่า “ขนาดขององค์กร” คือตัวแปรสำคัญที่ใช้พิจารณา และ “องค์กรขนาดใหญ่” คือองค์กรที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้คอยสอดส่องดูแลกิจกรรมการประมวลผลข้อมูล…ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่แน่เสมอไปครับ

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสองฉบับ (GDPR มาตรา 37 และ PDPA มาตรา 41) มีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ผู้ควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลข้อมูลจะต้องกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำ ในกรณีที่:

    • เป็นองค์กรสาธารณะหรือหน่วยงานรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด ยกเว้นศาลที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อดำเนินการตามขอบเขตของอำนาจศาล
    • มีกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลของบุคคลจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการสอดส่องดูแล/ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ (เช่น การติดตามพฤติกรรมบุคคลออนไลน์)
    • มีกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ที่เข้าข่ายเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หรือเป็นข้อมูลที่สัมพันธ์การตัดสินคดีความหรือข้อกล่าวหา
 
 กล่าวอย่างสรุป กฎหมายบัญญัติว่าองค์กรที่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ องค์กรรัฐ/หน่วยงานสาธารณะ องค์กรที่ประมวลผลข้อมูลของบุคคลจำนวนมากเป็นกิจกรรมหลักที่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เช่น โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันบริการขนส่งเดลิเวอรี่ บริษัทจัดหางาน ห้างสรรพสินค้าที่มีระบบสมาชิก บริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูล ฯลฯ และองค์กรที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวเป็นจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล และบริษัทประกันภัย เป็นต้น ไม่ได้มีส่วนที่ระบุถึงขนาดขององค์กรแต่อย่างใด เพียงแต่ scale ของการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากมักเกิดขึ้นภายในองค์ขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรดูแลเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกันนั่นเอง

หากองค์กรของคุณไม่ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสักเท่าไหร่ แม้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องมี DPO

ตัวผู้บริหารเองจะต้องลองประเมินว่าองค์กรของคุณเข้าข่ายตามข้อบัญญัติของกฎหมายข้างต้นหรือไม่ ถ้าใช่ คุณควรต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ถ้าองค์กรของคุณประมวลข้อมูล (ส่วนบุคคล) จำนวนไม่มากนัก ก็ไม่มีความจำเป็นครับ เพียงแต่ต้องดูแลให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นและสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

คุณสมบัติของคนเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากที่ประเมินได้แล้วว่า องค์กรของคุณจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ คราวนี้เรามาดูกันที่การสรรหากันดีกว่าครับ ว่าในมุมมองของผู้บริหารหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลอาวุโส คุณจะมีเกณฑ์การเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างไรเพื่อมาเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร เพราะหน่วยงานกลางไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างเป็นทางการของผู้ที่สามารถดำรงตำแหน่งนี้ได้ออกมา


เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นตำแหน่งงานที่ต้องอาศัยทั้งการศึกษา ประสบการณ์ ตลอดจนมีสายอาชีพ และ/หรือวุฒิบัตรรับรองความสามารถในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีรายการคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งนี้ ดังนี้


    • มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในระดับเชี่ยวชาญ
    • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาความมั่นคงทางสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาใกล้เคียง หรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรี/นิติศาสตร์บัณฑิต และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวข้องกับด้านความเป็นส่วนตัว การปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมาย ความมั่นคงทางสารสนเทศ การตรวจสอบการดำเนินงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
    • ควรมีประสบการณ์การทำงาน (มากกว่า 5 ปี) ในตำแหน่งเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว และ/หรือ การจัดการความเสี่ยงของการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย
    • อาจจำเป็นต้องมีวุฒิบัตรรับรองจาก International Association of Privacy Professionals (IAPP) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความเป็นส่วนตัว/การคุ้มครองข้อมูล/การจัดการความเสี่ยงของข้อมูล ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น CIPP หรือ CIPM ส่วนจะมีวุฒิบัตรใดอีกบ้างที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานรับรองความรู้ความสามารถของผู้ที่มีความสามารถเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ จำเป็นต้องรอประกาศจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกครั้งหนึ่ง
 

ตามข้อกำหนดของกฎหมาย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจเป็นบุคลากรในองค์กร หรือบุคลากร Third-Party ภายนอกองค์กรที่เป็น Outsource ก็ย่อมได้ โดยถ้าหากเป็นบุคลากรในองค์กรจะต้องไม่มีอำนาจหน้าที่การทำงานที่ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่เป็น DPO อย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติแล้ว gdpr.eu สนับสนุนให้พยายามแต่งตั้งบุคลากรภายในองค์กรเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากบุคคลนี้เป็นผู้ที่มองเห็นโครงสร้างการไหลเวียนของข้อมูลองค์กรได้อย่างชัดเจน และมักจะเข้าใจความต้องการของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในวงการเฉพาะมากกว่าบุคคลภายนอกนั่นเอง

โดยคุณสมบัติอย่างเป็นทางการของ “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ยังคงต้องรอคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ของไทย) ประกาศอีกครั้งเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นในเร็ว ๆ นี้ ก่อน PDPA บังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบอย่างแน่นอน

สรุป เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยหลาย ๆ องค์กรจำเป็นต้องมีตำแหน่งนี้ประจำเพื่อ Facilitate – อำนวยความสะดวกให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างราบรื่นและดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คุณต้องพิจารณาว่าองค์กรของคุณเข้าข่ายต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ โดยแนะนำให้สรรหาจากบุคลากรภายในองค์กรเพื่อความเข้าใจที่มีต่อ Data Flow และความต้องการขององค์กร

ในมุมกลับกัน ใครอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกอยากทำงานเป็น DPO ก็อย่าลืมสำรวจวุฒิของตนเอง ฝึกอบรมหาประสบการณ์ และสอบวุฒิบัตรรับรองความสามารถเตรียมเอาไว้เลย เพราะตำแหน่งนี้มี รายได้เฉลี่ยสูงถึง 130,000+ / เดือน (06/11/2563) เลยทีเดียวครับ!

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับหลักสูตร Personal Data Protection Certificate: PDPC เนื้อหาครอบคลุม กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และแนวทางการปฏิบัติเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หากผู้บริหารองค์กรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรท่านใด ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ Data Protection Officer ตามข้างต้น และมีความกังวลเกี่ยวกับแนวทางการคุ้มครองข้อมุลส่วนบุคคล หรือการจ้างงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำองค์กร บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด (Digital Business Consult: DBC) ยินดีรับให้คำปรึกษา พร้อมบริการอบรมแบบ In-house Training ภายในองค์กรและอบรมออนไลน์หลักสูตร Personal Data Protection Certificate ครบวงจร เพื่อเป็น Solution ให้กับองค์กรที่ต้องการดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPA)


Our Consultation Service <<< คลิกเพื่อศึกษารายละเอียดบริการที่ปรึกษาด้าน PDPA
PDPA Thailand <<< หรือคลิกเพื่อสอบถามข้อมูลผ่านทาง Facebook Messenger

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ