เขียนและเรียบเรียงโดย รศ.ดร.สมชาย นำประเสริฐชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญขององค์กร การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและการปฏิบัติการกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างคุณค่าและความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565 นั้น ทำให้หลายองค์กรของไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลในการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง การนำข้อมูลมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีเพื่อให้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและสามารถนำสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ดังนั้นทุกองค์กรต้องมีการจัดการข้อมูล (Data Management) ที่ดี ซึ่งประกอบด้วยหลายๆ ประเด็นตั้งแต่การกำหนดสถาปัตยกรรมข้อมูล การจัดทำโมเดลข้อมูล การจัดเก็บและการดำเนินการข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล การบูรณาการข้อมูล การจัดการเอกสารและเนื้อหา ข้อมูลหลักข้อมูลอ้างอิง ระบบคลังข้อมูลและธุรกิจอัจฉริยะ เมตาดาต้า และคุณภาพข้อมูล ทั้งนี้การจัดการข้อมูลจะมีการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ทุกกระบวนการจัดการข้อมูลนั้นบรรลุเป้าหมาย ดังภาพที่แสดงให้เห็นว่าการกำกับดูแลข้อมูลนั้นรองรับทุกประเด็นในกระบวนการของการจัดการข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง สมบูรณ์ ปลอดภัย สามารถเข้าถึงได้และมีคุณภาพเพื่อสร้างคุณค่าในการใช้ข้อมูล /*! elementor – v3.11.4 – 12-03-2023 */ .elementor-widget-image{text-align:center}.elementor-widget-image a{display:inline-block}.elementor-widget-image a img[src$=”.svg”]{width:48px}.elementor-widget-image img{vertical-align:middle;display:inline-block} /*! elementor – v3.11.4 – 12-03-2023 */ .elementor-column .elementor-spacer-inner{height:var(–spacer-size)}.e-con{–container-widget-width:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer{width:var(–container-widget-width,var(–spacer-size));–align-self:var(–container-widget-align-self,initial);–flex-shrink:0}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer{height:100%}.e-con-inner>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner,.e-con>.elementor-widget-spacer>.elementor-widget-container>.elementor-spacer>.elementor-spacer-inner{height:var(–container-widget-height,var(–spacer-size))} การกำกับดูแลข้อมูล เป็นการกำหนดนโยบาย กระบวนการ มาตรฐาน บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยสอดคล้องกับกลยุทธ์และปัจจัยแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลได้รับการจัดการในฐานะของสินทรัพย์องค์กรเป็นอย่างดี เพื่อให้การดำเนินการจัดการข้อมูลในส่วนของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่เป็นภาระเพิ่มเติมแก่องค์กร องค์กรควรพิจารณาว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลองค์กร เมื่อองค์กรมีการจัดการข้อมูลและการกำกับดูแลข้อมูลที่ดีแล้วย่อมไม่เกิดปัญหาแก่ข้อมูลขององค์และ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลด้วย การกำกับดูแลข้อมูลช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และสร้างความมั่นใจในคุณภาพของข้อมูล ด้วยกระบวนการจัดการต่างๆ ที่มีการกำกับดูแลที่ครอบคลุมทั้งนโยบาย แนวทางปฏิบัติตลอดทั้งวงจรชีวิตของข้อมูลตั้งแต่การรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูล จนกระทั่งการทำลายข้อมูล การกำกับดูแลข้อมูลยังมีการประเมินและการตรวจสอบในกระบวนการต่างๆ