ทุกองค์กรควรมีตำแหน่งนี้! ‘เจ้าหน้าที่ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล’ ยันต์กันภัยจากการละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

ทุกองค์กรควรมีตำแหน่งนี้! ‘เจ้าหน้าที่ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล’ ยันต์กันภัยจากการละเมิดกฎหมาย PDPA

แชร์

อ่าน

ครั้ง

โดย : pornpilast.su

หากไม่มี DPO (Data Protection Officer) หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะผิดกฎหมายหรือไม่ ? เราเชื่อว่าหลายๆ บริษัทอยากทราบข้อเท็จจริงและทางออกสำหรับเรื่องนี้ เนื่องจากข้อบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ระบุไว้ ค่อนข้างกว้าง สำหรับแง่มุมขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะ SME ที่ยังมีคำถามคาใจ ว่าโครงสร้างบริษัทขนาดเล็กอย่าง SME จะต้องมีการแต่งตั้ง DPO ภายในองค์กรด้วยหรือไม่ ซึ่งหากดูกันตามนิยามของกฎหมาย ขนาด กลับไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่รูปแบบการดำเนินการและขั้นตอนกลับเป็นสิ่งชี้วัดว่าจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าวภายในบริษัท โดยจะต้องพิจารณาจากเรื่องเหล่านี้

  • หน่วยงานรัฐและองค์กรสาธารณะที่มีการจัดเก็บข้อมูลประชาชน (ยกเว้นศาล)
  • องค์กรที่มีการเก็บและประมวลผลข้อมูลบุคคลเป็น จำนวนมาก หรือมีการเก็บ ประมวลผลและติดตามข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้จะเห็นว่า กฎหมาย PDPA ระบุถึงขอบเขตของคำว่า ข้อมูลจำนวนมาก คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีการจัดเก็บข้อมูลบุคคลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนมากกว่า 5 หมื่นราย หรือมีข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอ่อนไหว (Sensitive Data)  มากว่า 5 พันรายการภายในระยะเวลา 1ปี

รวมถึงองค์กรที่มีการประมวลผลข้อมูลบุคคลอย่างต่อเนื่อง เช่น มีพนักงานเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เป็นประจำ มากกว่า 20 คน หรือมีสาขาที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมากกว่า 20 แห่ง กรณีลักษณะนี้ เรากลับคิดไปถึงว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีสาขาจำนวนมากจะต้องแต่งตั้ง DPO ด้วยหรือไม่ ไว้โอกาสต่อไปเราจะมาวิเคราะห์เรื่องนี้กันอีกครั้ง ส่วนในบทความนี้ เราจะมาหาทางออกสำหรับคำถามที่ว่าถ้าไม่มี DPO จะทำอย่างไรกันต่อ

 

ดังนั้น จะเห็นว่า นิยามในการแต่งตั้ง DPO ภายในองค์กรธุรกิจมีการกำหนดไว้ค่อนข้าง คลุมเครือ และอาจจะต้องใช้การตีความอย่างรัดกุม รวมถึงองค์กรธุรกิจที่มีการเก็บ รวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มี ความเสี่ยง อันอาจจะก่อให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่าย ก็ดูเหมือนว่าเข้าข่ายต้องแต่งตั้ง DPO เช่นกัน

และต้องทราบด้วยว่า หากองค์กรที่กฎหมายระบุว่า ต้องแต่งตั้ง DPO’ แต่ไม่มีการดำเนินการ รวมถึงหากไม่ดำเนินการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของ DPO ให้ออกจากงาน หรือเลิกสัญญาการจ้างด้วยเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย PDPA จะมีโทษทางปกครองโดยปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท

สิ่งนี้บ่งชี้ว่า ตำแหน่ง DPO ยังมีสถานะที่กฎหมายคุ้มครองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถแต่งตั้งคนในองค์ หรือจะจ้างคนที่มีความรู้จากภายนอก (Outsource) มาทำหน้าที่นี้ได้เช่นกัน

ดังนั้นจะเห็นว่า กฎหมายให้ความสำคัญกับการมี DPO แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องนี้หากไม่เอาข้อกำหนดจากหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย PDPA มาเทียบเคียง แต่ดูที่วัตถุประสงค์ ในการปกป้องคุ้มครองข้อมูลประชาชนซึ่งเป็นสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เรื่องอาจง่ายกว่าที่คิด !

เจ้าหน้าที่ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล ตำแหน่งที่ทุกบริษัทควรเพิ่มไว้ในองค์กร

อย่างที่บอกว่าหากดูที่สาระสำคัญของกฎหมาย และภายใต้หลักเกณฑ์ที่ยังไม่แน่ชัด ว่าบริษัทใดบ้างควรแต่งตั้ง DPO ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME อาจจะพิจารณาเพิ่มตำแหน่งในองค์กร ในส่วนของงานด้านข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเป็น มาตรการระยะสั้นในการรับมือกฎหมาย PDPA ที่พึ่งจะประกาศใช้ในวันที่ 1มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นยันต์คุ้มภัยใบแรกที่เราแนะนำว่าควรต้องมี  

ทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นแก่องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กให้ได้มีความตระหนัก และเข้าใจเรื่องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ทั้งไม่เฉพาะประโยชน์โดยภาพรวมของบริษัท แต่ยังเป็นการปลุกสำนึกเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และป้องกันเหตุละเมิดกฎหมายให้แก่พนักงานในบริษัทได้อีกด้วย รวมถึงบริษัทยังสามารถพิจารณาจัดจ้างแบบระยะสั้นสำหรับงานในตำแหน่งนี้ได้อีกด้วย ซึ่งมีประโยชน์ต่อบริษัท SME หรือผู้ประกอบการรายเล็กในหลายประเด็น เช่น

1.มีต้นทุนด้านเงินเดือนที่ต่ำกว่าการจ้าง DPO

2.สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

3.สร้างค่านิยมในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร

4.มีอิสระในการจ้างงาน ให้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของบริษัทอย่างแท้จริง

5.สามารถป้องกันความเสี่ยงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้าหรือคู่สัญญา

6.สามารถให้ความรู้แก่พนักงานในบริษัทเรื่องกฎหมาย PDPA อย่างถูกต้องและเป็นรากฐานในการเพิ่มตำแหน่ง DPO ของพนักงานภายในบริษัทในอนาคตได้

กรณีบริษัทจะแต่งตั้ง DPO คุณสมบัติจะต้องเพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ และวัยวุฒิ จะต้องพิจารณาในระดับหัวหน้างาน และมีความเชี่ยวชาญกฎหมาย PDPA และมีสิทธิที่จะสั่งการหรือประสานงานกับผู้บริหารบริษัท รวมถึงประสานงานกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง

แต่สำหรับตำแหน่งงานของ ‘เจ้าหน้าที่ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจจะไม่ต้องถึงกับต้องมีความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมายตามหลักเกณฑ์ของ DPO แต่ก็ควรเป็นคนที่มีวุฒิภาวะที่ดี และมีคุณสมบัติดังนี้  

1.มีความเข้าใจเรื่องกฎหมาย PDPA ในระดับที่ดี หรือมีความสนใจและศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อยู่เสมอ

  1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เทคโนโลยีและกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร

3.มีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและให้คำแนะนำกับแผนกต่างๆ

4.กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่อย่างเคร่งครัด

5.ซื่อสัตย์ต่อองค์กร และเก็บความลับได้

 

ทั้งนี้ สำหรับองค์กรที่กฎหมาย PDPA ระบุว่าจะต้องแต่งตั้ง DPO ก็ยังสามารถพิจารณาตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมได้ ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวสามารถจะเป็นผู้ช่วยงานของ DPO ให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า บริษัทได้มีมาตรการและการจัดการที่รัดกุมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และยังสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับองค์กรยุคใหม่ที่ใส่ใจเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน เป็นรากฐานที่สำคัญในการทำธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย เพราะโลกหลังจากที่มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ ข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัท และเป็นสิ่งที่ยืมใช้ และควรใช้อย่างระมัดระวัง

 

 

Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีข่าวการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่เข้ามาเจาะระบบ ทั้งจากการป้องกันการหลุดรั่วของข้อมูลส่วนบุคคลที่หละหลวม PDPA Thailand และวันนี้เป็นวันครบรอบ 1 นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ PDPA Thailand จึงรวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 จนถึง พ.ศ.2566 มาให้ดูกัน     เมษายน 2561 ข้อมูลลูกค้า True Move H หลุดรั่ว ฐานข้อมูลลูกค้า Truemove H ที่สมัครซื้อซิมพร้อมมือถือผ่าน iTruemart หลุดรั่วจำนวน 64,000 ราย ที่มา https://www.beartai.com/news/it-thai-news/233905   กันยายน 2563 โรงพยาบาลสระบุรี ถูกแรนซัมแวร์โจมตี “โรงพยาบาลสระบุรี” ถูกไวรัสแรนซัมแวร์ แฮกฐานข้อมูลระบบบริการผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถสืบค้นข้อมูลประวัติเก่าหรือให้บริการออนไลน์ได้ ที่มา https://www.sanook.com/news/8248818/   กุมภาพันธ์ 2564 ที่ว่าการอำเภอถลาง ใช้กระดาษรียูส ด้านหลังเป็นใบสำเนามรณบัตร สาวจดทะเบียนสมรส ได้ใบเสร็จพ่วงมรณบัตร สาเหตุจากการใช้กระดาษรียูสในการออกใบเสร็จ แต่เคสนี้เจ้าหน้าที่เผลอนำใบสำเนามรณบัตรมาใช้ ที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/south/2543643   สิงหาคม 2564 Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี สายการบิน Bangkok Airways ถูกแรนซัมแวร์โจมตี คนร้ายลอบขโมยข้อมูลลูกค้าออกไปได้กว่า 100GB ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, เพศ, สัญชาติ, หมายเลขโทรศัพท์, ที่อยู่ และอีเมล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปมากทำให้การดำเนินการต่าง ๆเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น ตั้งแต่การเดินทางรวมถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่มีการนำวิทยาการนำมาใช้ ได้แก่ สถานพยาบาลนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนั้นมีนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ใช้หุ่นยนต์ในการส่งแฟ้มเอกสารระหว่างแผนก หรือการใช้ระบบต่างเพื่อรวบรวมข้อมูลคนไข้ไว้ที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ซึ่งกระบวนการหนึ่งที่มีการใช้งานได้แก่ การส่งต่อรูปถ่าย ซึ่งปัจจุบันนั้นวัตถุประสงค์หลัก ๆในการส่งรูปถ่ายจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการรักษาหรือติดตามอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ มันมีข้อสังเกตว่า ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้เป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีการใข้ข้อมูลภาพถ่ายจะต้องใช้อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องตามหลักของ PDPA ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ จากที่เราทราบกับข้อมูลอ่อนไหว ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลภาพถ่ายคนไข้นั้นถือได้ว่าเป็นข้อมูลสุขภาพ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองและจัดการข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล พ.ศ. 2561 ที่นี้เมื่อทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีแนวหรือหลักการเพื่อให้การใช้ข้อมูลรูปถ่ายเป็นไปตามหลักของ PDPA หากจำเป็นต้องใช้ ต้องทำอย่างไร โดยหลักการของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรใช้ข้อมูลตราบเท่าที่จำเป็น เช่นกัน การใช้ข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ก็ควรจะต้องมีการใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเช่นกัน โดยเมื่อจำเป็นต้องมีการเก็บมูล จำเป็นต้องมีการขอความยินยอมก่อน รวมถึงมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลภาพถ่ายคนไข้ ซึ่งการแจ้งประกาศนั้นอาจจะมีเป็นการแจ้งเป็นประกาศความเป็นส่วนตัวของ คนไข้หรือลูกค้าตามแต่กรณี ต่อมาในการใช้งานหรือประมวลผลควรใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งได้แก่ใช้เพื่อรักษาหรือติดตามอาการเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อเหตุอื่น ถามว่าการเอารูปถ่ายคนไข้ให้หมอท่านอื่นดูได้หรือไม่ เพราะบางครั้งหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้นอาจจำเป็นต้องมีการนำภาพคนไข้ เพื่อปรึกษากับหมอท่านอื่น ตัวอย่างเช่น กรณีคนไข้มารักษาสิว เมื่อทำการรักษาแล้วหากพบว่าบริเวณที่รักษามีปัญหาขึ้นมา กรณีเช่นนี้หากเป็นไปเพื่อการรักษาและติดตามอาการก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว โดยอาจจะสื่อสารผ่านตัวประกาศความเป็นส่วนตัวได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วนั้นหมอที่เป็นเจ้าของคนไข้ต้องมีความระมัดระวังในการเผยแพร่รูปถ่ายคนไข้ด้วย แม้จะมีการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือคนไข้แล้วก็ตาม โดยหมอที่เป็นเจ้าของไข้นั้น ควรมีความระมัดระวังในการที่จะไม่เผยแพร่ภาพถ่ายคนไข้ดังกล่าวไปสู่หมอ รวมถึงบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคนไข้ให้รับทราบ นอกจากนี้ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นวิทยาการด้านการสื่อสารสามารถส่งต่อข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากช่องทางอีเมล Messenger เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการส่งข้อมูลรูปถ่ายคนไข้ไป จำต้องมีคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ตัวอย่าง ไม่ควรส่งรูปถ่ายคนไข้ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เช่น Line เป็นต้น หรือหากจำเป็นต้องมีการส่งจริง ๆก็ควรมีมาตรการในการป้องกันการเข้าถึงด้วยตัวอย่างเช่น อาจจะมีการส่งข้อมูลโดยมีการเข้ารหัส โดยส่งรหัสดังกล่าวไปให้ปลายทางรับทราบพียบท่านเดียวเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถึงมือผู้รับจริง และมีเพียงแต่ผุ้รับรหัสเท่านั้นที่จะสามารถเปิดดูข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยภาพรวมนั้นสถานพยาบาลมีกิจกรรมหลาย ๆกิจกรรมที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มี่ความอ่อนไหว เช่น กิจกรรมการนำภาพถ่ายคนไข้มาใช้เพื่อติดตามผลการรักษาคนไข้ ทั้งนี้สามรถทำได้แต่จำเป็นต้องมีแนวทางหรือกระบวนการบางอย่างมาเป็นมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูล นอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
จากบทความครั้งที่แล้ว เรื่อง Hotel reservation ไม่เกี่ยวกับ PDPA จริงหรือ ? ที่ได้มีการกล่าวถึงกระบวนการการจองที่พักในหลายรูปแบบ เช่น เว็บไซต์ เอเย่น walk-in ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการที่ต่อเนื่องกันคือ กระบวนการการรับส่งจากสนามบินหรือสถานที่ต่างๆ ไปยังโรงแรม ในบางกรณีผู้เข้าพักบางท่านอาจมีความต้องการใช้บริการรถรับส่งเพื่อให้รับจากสนามบินมายังโรงแรมเพื่อความสะดวกของผู้เข้าพัก รูปแบบการรับส่งที่สนามบินโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Inhouse limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง Outsource limousine คือ กรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม ในกรณีที่โรงแรมมีบริการรับส่งด้วยตัวเอง (Inhouse limousine)  โดยทั่วไปข้อมูลของผู้เข้าพักจะถูกโรงแรมเก็บมาแล้วจากขั้นตอนการจองห้องพัก แต่อาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นการยืนยันตัวผู้เข้าพักอีกครั้ง การนำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการนี้ โรงแรมต้องมีการระบุวัตถุประสงค์นี้เข้าไปในประกาศความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าพัก (Privacy notice) และแจ้งให้ผู้เข้าพักทราบในขั้นตอนการรับจองห้องพัก หรือจะแจ้งอีกครั้งเพื่อเป็นการแจ้งย้ำให้ผู้เข้าพักทราบก็ย่อมทำได้ นอกจากนี้ การที่โรงแรมนำข้อมูลมาใช้ประมวลผลในกระบวนการนี้สามารถใช้ฐานสัญญา ตามมาตรา 24(3) ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากเป็นการจำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอก่อนการเข้าทำสัญญาใช้บริการ ในกรณีที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทรับส่งภายนอก ให้ดำเนินการรับส่งผู้เข้าพักแทนโรงแรม หรือ Outsource limousine ทางโรงแรมอาจจะมีการส่งรายชื่อของผู้ที่จะเข้าพักให้กับบริษัท Outsource limousine ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายนอก เช่น ข้อมูล ชื่อ นามสกุล รายละเอียดการเดินทางและการเข้าพัก เป็นต้น การที่โรงแรมมีการจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการด้านการรับส่ง บริษัทรับส่งนั้นทำตามภายในนามหรือภายใต้คำสั่งโรงแรมนั้น บริษัท Outsource limousine จึงมีสถานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งตามมาตรา 40 วรรค 2 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินการตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ระหว่าง โรงแรมกับบริษัท Outsource limousine  ควรมีการทำข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement : DPA)  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ประมวลผล ทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานในการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยรายละเอียดของข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล
thThai

ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบ